ต้นนุ่น
ชื่ออื่นๆ : ง้าว, งิ้วสาย, งิ้วสร้อย, งิ้วน้อย (ภาคกลาง) งิ้ว (คนเมือง) ปั้งพัวะ (ม้ง) นุ่น (ไทลื้อ) ต่อเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง)
ต้นกำเนิด : แถบอันดามัน
ชื่อสามัญ : White silk cotton tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ceiba pentandra (L.) Gaertn
ชื่อวงศ์ : Malvaceae (Bombacaceae)
ลักษณะของต้นนุ่น
ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ลำต้นสูงใหญ่เปลาตรง สูงได้ประมาณ 10-30 เมตร ตรงยอดแผ่เป็นพุ่มกว้าง ลำต้นเป็นสีเขียวและมีหนามขึ้นอยู่ทั่วไปบริเวณโคนต้น
ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 5-11 ใบ ก้านใบย่อยยาวประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร ส่วนก้านใบร่วมยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานแกมใบหอกหรือรูปหอกเรียวแหลม ปลายใบและโคนใบเรียวแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 นิ้ว และยาวประมาณ 2-5 นิ้ว แผ่นใบเป็นสีเขียว ก้านใบและเส้นก้านใบเป็นสีแดงอมน้ำตาล
ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจะบริเวณซอกใบ ขนาดประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมาก หรือช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 1-5 ดอก ลักษณะของดอกเป็นรูปถ้วย ปลายดอกแยกออกเป็นกลีบ 5 กลีบ ยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว กลีบดอกเป็นสีขาวแกมเหลือง กลีบดอกติดกันที่ฐาน กลีบด้านนอกเป็นสีขาวนวลและมีขน ส่วนด้านในกลีบเป็นสีเหลือง กลางดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 5-6 อัน ก้านเกสรเพศเมียไม่แยก ออกดอกในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม
ผล ผลเป็นรูปยาวรี ปลายและโคนผลแหลม เปลือกแข็ง ผลมีขนาดกว้างประมาณ 2 นิ้ว และยาวประมาณ 4-5 นิ้ว เมื่อแห้งจะแตกออกได้เป็น 5 พู ภายในผลจะมีนุ่นสีขาวเป็นปุยอยู่ และมีเมล็ดจำนวนมาก
เมล็ด เมล็ดเป็นสีดำ มีเส้นใยสีขาวคล้ายเส้นไหมยาวหุ้มเมล็ดเป็นปุยนุ่นอยู่
การขยายพันธุ์ของต้นนุ่น
การเพาะเมล็ด
ชอบขึ้นตามริมลำธาร พบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบเขา
ธาตุอาหารหลักที่ต้นนุ่นต้องการ
ประโยชน์ของต้นนุ่น
- ปุยนุ่นที่แกะออกจากเมล็ดนำมายัดหมอนหรือที่นอน
- เมล็ดของต้นนุ่นยังนำมาสกัดเป็นน้ำมันพืช
- กากที่ได้ก็นำมาทำอาหารสัตว์ได้อีก
- ไส้นุ่นก็สามารถนำมาเพาะเห็ดได้
- เนื้อไม้ของต้นนุ่นยังนำมาทำกระสวยทอผ้า เยื่อกระดาษ ส้นรองเท้า
- รากยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้อีกด้วย
- ฝักอ่อนมาก ๆ เนื้อในซึ่งยังไม่เปลี่ยนเป็นปุยนุ่นใช้เป็นอาหาร หรือจะกินสด ๆ หรือใส่แกง
- ชาวกะเหรี่ยงนำช่อดอกอ่อน ลวกกินกับน้ำพริก
สรรพคุณทางยาของต้นนุ่น
- เปลือกมีแทนนิน แก้ท้องเสีย แก้บิด ราก ขับปัสสาวะ
- ผลอ่อน เป็นยาฝาดสมาน
- ยางไม้ เป็นยาบำรุง ฝาดสมาน
- น้ำมันจากเมล็ด เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ
คุณค่าทางโภชนาการของต้นนุ่น
การแปรรูปของต้นนุ่น
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9641&SystemType=BEDO
https://arit.kpru.ac.th
https://www.flickr.com
2 Comments