น้ำเต้าแล้ง
ชื่ออื่นๆ : น้ำเต้าแล้ง น้ำเต้าน้อย ท่องแล่ง (นครราชสีมา)
นมน้อย(เพชรบูรณ์) น้ำน้อย (เลย)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : นมน้อย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polyalthia EVECTA
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ลักษณะของน้ำเต้าแล้ง
ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 0.5-1 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาลดำ กิ่งก้านเล็ก เปลือกต้นมีช่องแลกเปลี่ยนอากาศจำนวนมาก ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปวงรี กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ฐานใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบ ใบด้านบนสีเขียวเข้ม เกลี้ยง ด้านหลังมีขนสั้น ประปราย เส้นใบไม่เด่นชัด เส้นกลางใบเป็นร่อง ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ บริเวณกิ่งอ่อน ตรงรอยร่วงของใบ ระหว่างข้อหรือใต้ข้อ กลีบดอกสีเหลือง เนื้อหนา มี 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แบ่งเป็นกลีบดอกชั้นนอก คล้ายกลีบเลี้ยง สีเขียวอมเหลือง รูปสามเหลี่ยม แยกกัน กลีบดอกชั้นในหนาอวบ มีขนาดใหญ่กว่ากลีบดอกชั้นนอก สีเหลืองนวล ทอรัส รูปนูน เกสรเพศผู้ รูปลิ่ม มีจำนวนมาก อัดกันแน่น หันออกด้านนอก บนฐานล้อมรอบรังไข่จำนวนมาก ซึ่งอยู่กลางฐาน เกสรเพศเมีย มีรังไข่เหนือวงกลีบ กลีบเลี้ยง บางคล้ายกระดาษ รูปสามเหลี่ยม ด้านนอกของกลีบมีขนสั้นบางสีทอง ด้านในเกลี้ยง ผลเป็นผลกลุ่ม มีหลายผลย่อยรวมเป็นช่อ ผลย่อยรูปทรงกลม ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ผลแก่สีน้ำตาลปนแดง เมื่อสุกสีแดง ผลรับประทานได้ ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายน ถึงสิงหาคม พบตามป่าละเมาะ ชายทะเล ที่ทิ้งร้าง ชายป่า
การขยายพันธุ์ของน้ำเต้าแล้ง
เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่น้ำเต้าแล้งต้องการ
ประโยชน์ของน้ำเต้าแล้ง
ผลสุกรับประทานเนื้อหุ้มเมล็ดมีรสหวาน
สรรพคุณทางยาของน้ำเต้าแล้ง
รากแก้ร้อนใน แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ หรือนำรากมาต้มหลังคลอดบุตรอยู่ไฟ แก้ปวดเมื่อย แก้ไข้
คุณค่าทางโภชนาการของน้ำเต้าแล้ง
การแปรรูปของน้ำเต้าแล้ง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10878&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
One Comment