น้ำเต้า ผลมีเนื้อในสีขาวหรือสีเขียวค่อนข้างนุ่ม

น้ำเต้า

ชื่ออื่นๆ : มะน้ำเต้า (ภาคเหนือ) คิลูส่า, คูลูส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ลุ้นออก, แผละลุนอ้อก (ลั้วะ) หมากน้ำ, น้ำโต่น

ต้นกำเนิด : ทวีปแอฟริกาตอนใต้

ชื่อสามัญ : Bottle gourd, Calabash gourd

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagenaria siceraria Standl.

ชื่อวงศ์ : CUCURBITACEAE

ลักษณะของน้ำเต้า

ต้น เป็นไม้เถาล้มลุกอายุปีเดียวหรืออาจข้ามปี เลื้อยตามพื้นดินหรือไต่พันกับต้นไม้อื่น ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีมือเกาะที่แยกออกเป็น 2 ทาง

ใบ ใบมีขนาดใหญ่คล้ายรูปหัวใจ ผิวใบ ขนนุ่มทั้ง 2 ด้าน มีรอยหยักบริเวณใบ 5-9 หยัก ก้านใบยาวประมาณ 20 ซม. รากจะเป็นระบบรากตื้น ในส่วนของผลมีตั้งแต่ ขนาด เล็กจนถึงขนาดใหญ่

ดอก  ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกเป็นสีขาว โดยดอกเพศผู้ มีกลีบรองดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็นแฉกแหลมส่วนกลีบดอกเป็นสีขาว

ผล ผลน้ำเต้ามีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ เช่น ทรงกลม ทรงกลมซ้อน ทรงกลมหัวจุก ทรงยาว ทรงแบน เป็นรูปกระบอง หรือเป็นรูปขวดโคนขั้วคอดคดงอหรือขดเป็นวงผิวผลเกลี้ยง เรียบ และเนียน เปลือกผลแข็งและทนทาน ผลอ่อนเป็นสีเขียว ก้านผลยาว ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก

“ผลมีเนื้อในสีขาวหรือสีเขียวค่อนข้างจะนุ่ม เปลือกมีสีเขียวเป็นลาย จริง ๆ แล้วน้ำเต้ามีอยู่หลายสายพันธุ์ อาทิ น้ำเต้าพื้นบ้าน น้ำเต้าทรงเซียน ซึ่งเป็นทรงที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ ถ้าเราดูหนังจีนจะเห็นว่ามีน้ำเต้าทรงเซียนที่นักแสดงนำมาประกอบฉาก แต่น้ำเต้าพื้นบ้านเราก็สามารถนำมาตากแห้งเคลือบแล็กเกอร์ทำเป็นเครื่องประดับ ก็ได้แต่ไม่ค่อยนิยม กันเท่าไรนัก เนื่องจากผิดกัน ตามรูปทรง ส่วนใหญ่จะนิยมรับประทานมากกว่า”

การขยายพันธุ์ของน้ำเต้า

ใช้เมล็ด

การปลูกจะต้องเตรียมดินให้มีการไถพรวน และยกร่องแปลงปลูกกว้างประมาณ 4 เมตร จะนิยมขุดหลุมปลูกให้กว้าง 15-20 เซนติเมตร ลึก 2-3 เซนติเมตร ขุดกลุมห่างกัน 2 เมตร แล้วนำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักมารองก้นหลุม หลังจากนั้นก็หยอดเมล็ดลงในหลุมปลูกที่เตรียมไว้ ในพื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะใช้เมล็ดน้ำเต้าจำนวน 1.5 กิโลกรัม หยอดหลุมละ 2-3 เมล็ด กลบด้วยดินร่วนให้มีความหนาประมาณ 1-2 เซนติเมตร นำฟางข้าวแห้งหรือหญ้าคาคลุมบนหลุมเพื่อรักษาความชื้นในดินให้มากที่สุด หลังจากนั้นรดน้ำให้ชุ่มไปเรื่อย ๆ ประมาณ 7- 10 วัน จนกว่าน้ำเต้าจะงอก หมั่นดูแลหากต้นน้ำเต้าขึ้นมาทั้งหมดให้ถอนทิ้งให้เหลือเพียง 2 ต้นก็พอ เพื่อให้เจริญเติบโตเต็มที่

น้ำเต้า
น้ำเต้า ทรงกลมหัวจุก ผิวเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียว

ธาตุอาหารหลักที่น้ำเต้าต้องการ

ประโยชน์ของน้ำเต้า

การใช้ประโยชน์ของน้ำเต้า
ผลน้ำเต้าสามารถนำมารับประทานกับน้ำพริก ผัดกับหมูและไข่ ยอดอ่อนใช้ทำแกงส้มกับปลาเนื้ออ่อนหรือกุ้งสด

สรรพคุณทางยาของน้ำเต้า

สรรพคุณทางยา ใบ แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เริม เป็นต้น

คุณสมบัติในการใช้รักษาโรคของน้ำเต้า
1. โรคเบาหวาน
2. ท่อปัสสาวะอักเสบ
3. โรคปอดอักเสบ จะใช้ส่วนที่เป็นเปลือกสดรับประทาน
4. แก้ปวดฝีในเด็ก โดยใช้น้ำเต้าหั่นเป็นชิ้น ๆ ผสมขิงต้มเป็นน้ำซุปรับประทาน
5. โรคลูกอัณฑะบวมให้ใช้ลูกน้ำเต้ามาต้มรับประทาน
6. โรคทางลำคอให้ใช้ลูกน้ำเต้าที่แก่ ๆ ตัดจุก แล้วใส่น้ำไว้รับประทานเป็นโรคประจำจะสามารถป้องกันรักษาโรคทางลำคอได้

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำเต้า

การแปรรูปของน้ำเต้า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11093&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment