บอนสี เป็นไม้ประดับที่มีความสวยงามโดยเฉพาะใบที่มีรูปทรงและสีสันสวยงามแปลกตาจนได้ชื่อว่าเป็น ”ราชินีแห่งไม้ใบ” 

บอนสี

ชื่ออื่นๆ : บอนฝรั่ง (ภาคกลาง)

ต้นกำเนิด : ทวีปอเมริกาใต้และประเทศในเขตร้อนทั่วไป

ชื่อสามัญ : Fancy Leaf Caladium, Corazon de Maria

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caladium bicolor Vent

ชื่อวงศ์ : Araceae

ลักษณะของบอนสี

ต้น บอนสีมีความสูงประมาณ 0.5 เมตร มีพุ่มกว้างประมาณ 1 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดิน มีลักษณะเป็นหัว ผิวของลำต้นเป็นผิวเรียบ

ใบ ใบกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ลักษณะใบ สีสันสวยงาม เนื่องจากใบขนาดใหญ่รูปหัวใจหรือรูปหอกที่มีสีเขียว ขาว ชมพู หรือแดงที่โดดเด่น

ดอก มีเกสรเป็นแท่งยาวโผล่ออกมา   ดอกมีสีขาวหรือสีชมพูรังไข่ใต้วงกลีบ มีกลิ่นฉุน

ผล ผลมีลักษณะกลม

บอนสี
บอนสี ใบสีชมพู ขอบใบสีเขียว ใบสีสันสวยงาม

บอนสี เป็นไม้ประดับที่มีความสวยงามโดยเฉพาะใบที่มีรูปทรงและสีสันสวยงามแปลกตาจนได้ชื่อว่าเป็น ”ราชินีแห่งไม้ใบ”  บอนสีเป็นไม้ประเภทล้มลุกที่มีหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดินคล้ายหัวเผือกหรือมัน มีรากเป็นเส้นฝอยเล็กๆแทงออกมาระหว่างหัวกับลำต้นและพักตัวในฤดูหนาวโดยจะทิ้งใบจนหมดและเริ่มผลิใบเจริญเติบโตอีกครั้งในฤดูฝน

การขยายพันธุ์ของบอนสี

บอนสีนั้นควรทำการขยายพันธุ์ในฤดูฝน วิธีขยายพันธุ์นั้นมีถึง 4 วิธีคือ

1. แยกหน่อ โดยการแบ่งหน่อของต้นบอนสีที่โผล่มาจากโคนต้นแม่

2. ผ่าหัว ควรใช้หัวที่มี อายุไม่เกิน 1 ปี จะช่วยให้ต้นที่เกิดใหม่โตเร็วและแข็งแรง นำไปชำในทรายสะอาดหรืออิฐมอญทุบละเอียดหรือใช้ ขี้เถ้าแกลบที่ไม่มีความเป็นด่างก็ได้ รดด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา แล้วนำไปไว้ในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเท มีความชื้น ประมาณ 1-2 สัปดาห์ บอนสีจะแตกหน่อและราก พอเริ่มผลิใบได้ ประมาณ1-2 ใบจึงย้ายไป ปลูกในกระถาง

3. ผสมเกสร โดยเตรียมต้นบอนสีที่จะนำมาเป็นต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไว้ เมื่อต้นบอนสีออกดอกและบานในช่วงเวลา ประมาณ19.00 – 20.00 น. ให้ทำการผสมเกสร ซึ่งดอกบอนสีจะผสมติดภายใน 1 สัปดาห์ และฝักจะแก่เต็มที่ภายใน 30 วัน สามารถนำเมล็ดไปเพาะได้

4. เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือปั่นตา ให้นำชิ้นส่วนเนื้อเยื่อเจริญของต้นบอนสีมาเลี้ยงในที่มีการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น  แสงสว่าง จนเกิดเป็นกลุ่มเนื้อเยื่อและพัฒนาเป็นบอนสีต้นใหม่

ธาตุอาหารหลักที่บอนสีต้องการ

บอนสี ควรจะปลูกในที่ที่มีความชื้นและไม่มีแดดร้อนจัด และดินที่ใช้ปลูกควรจะเป็นดินร่วนและมีในดินมีอินทรีย์วัตถุผสมด้วยเช่น พวกซากใบไม้ที่ผุย่อยสลลาย นิยมใช้ใบจามจุรี, ใบมะขาม และควรใช้ปุ๋ยชีวภาพนั้นก็คือ ปุ๋ยคอก และไม่ควรเยอะเกินไปเพราะดินจะเค็มทำให้ดินเสื่อมและต้องรดน้ำทุกวันตอนเช้าและตอนเย็นและอย่านำกระถางไปตั้งในที่แดดร้อนจัด เพราะใบจะไหม้และต้นก็จะตาย

ประโยชน์ของบอนสี

ปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้มงคล

ตามความเชื่อที่มีมาตั้งแต่โบราณว่า หากบ้านไหนเรือนไหนปลูกต้นบอนสีไว้ในชายเรือนจะทำให้เกิดความสุข ความเจริญ และเป็นสิริมงคลแก่คนที่อาศัยในบ้านเรือนหลังนั้น

ต้นบอนสี
ต้นบอนสี ใบมีสีเขียว ขาว ชมพู หรือแดงที่โดดเด่น

สรรพคุณทางยาของบอนสี

พืชพิษ : พิษต่อระบบทางเดินอาหารและระบบหมุนเวียนโลหิต

ส่วนที่เป็นพิษ  ทั้งต้น
สารพิษ : 
   เป็นผลึกรูปเข็มของ calcium oxalate ละสารอื่นๆ เช่น sapotoxin
การเกิดพิษ 
:  ถ้ากินเข้าไปจะเกิดอาการไหม้ที่เพดานปาก ลิ้นและคอ กล่องเสียงอาจบวม การเปล่งเสียงจะผิดปกติ และมีอาการคัน อาจอาเจียนด้วย ถ้ายางเข้าตา ตาจะอักเสบระคายเคือง
การรักษา
  

  • ใช้น้ำยาบ้านปากและคอหลายๆครั้ง
  • ใช้ยาลดกรด aluminum-magnesium hydroxide ให้ทุก 2 ชั่วโมง
  • รับประทานยาระงับปวดพวก dermerol
  • ถ้ายางเข้าตา ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง หยอดตา
  • ถ้าอาการไม่ดีขึ้นส่งโรงพยาบาลด่วน

คุณค่าทางโภชนาการของบอนสี

การแปรรูปของบอนสี

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11039&SystemType=BEDO
https ://swis.sl.ac.th
https ://th.wikipedia.org
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment