บุษบาริมทาง
ชื่ออื่นๆ : ย่าหยา, บุษบาฮาวาย, ตำลึงหวาน, บุษบาริมทาง (กรุงเทพฯ) (กรุงเทพฯ) ผักกูดเน่า (เชียงใหม่)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Ganges Primrose, Ganges River asystacia, Chinese violet, Coromandel, Creeping foxglove, Baya, Yaya
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Asystasia gangetica (L.) T. Anderson
ชื่อวงศ์ : Acanthaceae
ลักษณะของบุษบาริมทาง
ต้น ไม้ล้มลุก สูง 30-60 ซม. บางครั้งเป็นเถา ลำต้นและกิ่งเป็นเหลี่ยม
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี รูปไข่ หรือคล้ายรูปสามเหลี่ยม ยาว 2-5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบตัดหรือกลม ขอบใบเรียบหรือหยักมน แผ่นใบมีขนสั้นนุ่มหรือเกลี้ยง ก้านใบยาวได้ประมาณ 2 ซม.
ดอก ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจะด้านเดียว ใบประดับรูปใบหอก ยาวประมาณ 3 มม. มีขนยาว กลีบเลี้ยง 5 กลีบ แฉกลึก กลีบรูปใบหอก ยาว 5-9 มม. มีขนกระจาย กลีบดอกรูปแตร ปลายบานออกมี 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม สีเหลืองอ่อน สีขาวครีม สีชมพู หรือสีม่วงอ่อน หลอดกลีบยาวได้ประมาณ 2 ซม. เรียวแคบจรดโคน ปากหลอดกลีบเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. มีขนด้านนอก กลีบกลมขนาดประมาณ 1.5 ซม. เกสรเพศผู้ 4 อัน สั้น 2 อัน ยาว 2 อัน ไม่ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก อับเรณูรูปขอบขนาน ยาวไม่เท่ากัน ยาว 2.5-3 มม. รังไข่ 2 ช่อง รูปขอบขนาน มีขนปกคลุม แต่ละช่องมีออวุล 2 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ยาวประมาณ 2 ซม. มีขนที่โคน ยอดเกสรขนาดเล็ก
ผล ผลแบบแคปซูล รูปขอบขนาน ยาว 2.5-2.8 ซม. รวมก้านผล มีขนสั้นนุ่ม เมล็ด 4 เมล็ด เกลี้ยง
การขยายพันธุ์ของบุษบาริมทาง
ใช้กิ่ง/ลำต้น/ปักชำ เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย
ธาตุอาหารหลักที่บุษบาริมทางต้องการ
ประโยชน์ของบุษบาริมทาง
ปลูกประดับบ้าน
สรรพคุณทางยาของบุษบาริมทาง
- รากแก้ไข้เพื่อโลหิต แก้พิษฝีภายใน แก้ไข้เหนือ ขับลมให้ซ่านออกมาทั่วตัว
- ใบแก้ปวดบวม ปวดตามข้อ ขับพยาธิ
- ใบและดอก สมานลำไส้ ลดไข้บรรเทาอาการเจ็บท้องคลอดลูก แก้พิษงู และแก้ม้ามโตในเด็กที่เกิดใหม่
คุณค่าทางโภชนาการของบุษบาริมทาง
การแปรรูปของบุษบาริมทาง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11563&SystemType=BEDO
www.flickr.com