บ๊วย บรรเทาการอ่อนเพลีย ลดการกระหายน้ำ

บ๊วย

ชื่ออื่นๆ : บ๊วย, ลูกบ๊วย

ต้นกำเนิด : ประเทศจีน

ชื่อสามัญ : Chinese plum, Japanese apricot, Mume

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prunus mume

ชื่อวงศ์ : Rosaceae

ลักษณะของบ๊วย

บ๊วยเป็นไม้ผลเมืองหนาวที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศจีน มีปลูกในประเทศไทยนานแล้ว โดยแพร่เข้ามาทางภาคเหนือ บ๊วยเป็นพืชที่จัดอยู่ในสกุลเดียวกับท้อ พลับ หรือลูกพรุน ลักษณะผลกลมเมื่อยังเล็กมีสีเขียว แต่มีผลแก่เต็มที่จะมีสีเหลืองมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร รสขมอมเปรี้ยวและมีกลิ่นหอม ในญี่ปุ่นและไต้หวันผลจะแก่และเก็บเกี่ยวได้ในเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ในประเทศไทยออกดอกในเดือนธันวาคม ผลบ๊วยจะแก่เก็บเกี่ยวได้ประมาณเมษายน

บ๊วยเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ ใบรูปไข่ กว้าง 3-4 ซม. ยาว  6-8 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบกลม ขอบใบจักฟันเลื่อย ดอกมีสีขาว กลิ่นหอม ผลเล็ก ทรงกลม เมื่ออ่อน ผลสีเขียว เมื่อสุกสีเหลิอง เนื้อนิ่ม รสเปรี้ยวอมหวาน เมล็ดแข็ง

ดอกบ๊วย
ไม้ต้นขนาดเล็ก ดอกมีสีขาว กลิ่นหอม

การขยายพันธุ์ของบ๊วย

การเสียบกิ่ง หรือ วิธีการปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่บ๊วยต้องการ

ประโยชน์ของบ๊วย

  • ผลสุกช่วยเพิ่มกําลัง บรรเทาอาการอ่อนเพลีย ลดการกระหายน้ำ ลดการสูญเสียเหงื่อ ช่วยในระบบขับถ่าย
  • ช่วยแก้เหงือกอักเสบที่เป็นปัญหาของกลิ่นปาก
  • ช่วยปรับสมดุลในกระเพาะอาหารให้มีความมั่งคงแข็งแรง

สรรพคุณทางยาของบ๊วย

  1. บ๊วยลดมลพิษความเป็นพิษของเนื้อสัตว์ในกระเพาะที่บูดเน่าเสียก่อนจะถูกขับออกจากร่างกาย ปรับทั้งเป็นยาระบาย และลดกรดในกระเพาะแทน อี-โน-กัลดา-เซลเซอร์
  2. บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  3. ขับพยาธิ ป้องกันการติดเชื้อในทางเดินอาหาร
ผลบ๊วย
ผลกลมรูปไข่ ผลดิบสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีแดง

คุณค่าทางโภชนาการของบ๊วย

การแปรรูปของบ๊วย

การแปรรูปเป็นบ๊วยแช่อิ่ม, บ๊วยดอง, บ๊วยเค็ม หรือใช้ทำอาหารเช่น น้ำจิ้มบ๊วย, ซอสบ๊วย, ปลานึ่งบ๊วย เป็นต้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9876&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

3 Comments

Add a Comment