ฟางข้าว
ฟางข้าว คือผลผลิตจากกรรมวิธีการผลิตข้าวต่างๆ ที่ได้มาจากในนา หลายๆ คนคงรู้กันดีว่าฟางข้าวมีลักษณะเป็นเช่นไรแต่ก็อาจยังไม่รู้ว่าฟางข้าวนั้นมีประโยชน์อย่างมากมายมหาศาล โดยฟางข้าวนั้นสามารถนำมาใช้หมักทำปุ๋ยเป็นอาหารพืชได้ ทั้งยังใช้เป็นที่ปกคลุมดินเพื่อให้ร่มเงาแก่เมล็ดพืชที่ได้เพาะปลูกไว้และสามารถใช้เป็นวัสดุในการเพาะเห็ดฟางได้ นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์จากฟางข้าวสำหรับในครัวเรือนไม่ว่าจะใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือใช้มุงหลังคา รวมทั้งใช้เป็นที่ผูกแทนเชือกและที่สำคัญฟางข้าวยังใช้ในการเลี้ยงสัตว์เป็นอาหารสำหรับโคกระบือได้อีกด้วย
ประเภทของฟางข้าว
ฟางข้าวสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทซึ่งแบ่งจากกรรมวิธีที่ใช้ในการเกี่ยวข้าว
- ฟางข้าวจากการเก็บเกี่ยวด้วยมือและนวดด้วยมือ
- การเก็บเกี่ยวฟางข้าวด้วยมือ แต่จะนวดฟางข้าวด้วยรถซึ่งใช้กรรมวิธีการเก็บเกี่ยวฟางข้าวด้วยแรงงานคนและนำเอาฟางข้าวที่ได้นั้นมาเข้าเครื่องเพื่อนวดข้าวแยกเมล็ดออกจากตัวข้าวทำให้ได้ฟางข้าวออกมาจากเครื่องดังกล่าว
- ฟางข้าวจากรถอัดฟางข้าวเป็นฟางข้าวที่ได้จากการเก็บเกี่ยวรวมทั้งการอัดฟางข้าวด้วยรถอัดฟางข้าว
การเก็บรักษาฟางข้าวเพื่อนำไปเลี้ยงสัตว์
การเก็บรักษาฟางข้าวเพื่อนำไปเป็นอาหารเลี้ยงโคกระบือนั้นสามารถทำได้ 4 วิธี
- การเก็บรักษาฟางข้าวด้วยวิธีทางกายภาพ โดยใช้วิธีการสับหรือหั่นฟางข้าวใส่ในภาชนะแล้วแช่น้ำเพื่อลดความแข็งของฟางข้าวทำให้ฟางข้าวนุ่มลง
- วิธีการทางเคมีคือการรักษาฟางข้าวด้วยการใช้สารเคมี ไม่ว่าจะเป็นการหมักฟางข้าวด้วยยูเรียหรือหรือการย่อยด้วยกรดบางชนิดแต่วิธีนี้ไม่ขอแนะนำครับเพราะอาจทำให้เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงได้หากใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไป
- วิธีการทางกายภาพและเคมีโดยเก็บรักษาฟางข้าวทั้ง 2 วิธีไม่ว่าจะเป็นการหั่นหรือสับเก็บไว้ในภาชนะที่หมักด้วยยูเรียหรือด้วยกรดก็ตามแต่
- วิธีการทางชีวภาพเป็นวิธีที่สามารถรักษาฟางข้าวได้ด้วยการใช้จุลินทรีย์ ซึ่งเป็นสารที่ได้จากธรรมชาติในการหมักฟางข้าวเพื่อเก็บรักษาฟางข้าวให้ใช้เป็นอาหารโคกระบือได้ในระยะเวลาที่นานขึ้น เก็บฟางข้าวไว้ในที่โล่งซึ่งกองไว้เป็นเนินภูเขาหรือจะเก็บไว้ภายในอาคารเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรต่อไป เพราะฟางข้าวถือเป็นวัสดุเหลือจากการเกษตรที่มีต้นทุนไม่มาก หากเรารู้จักวิธีรักษาและนำมาใช้ประโยชน์ในฟาร์มของเราอย่างเต็มที่ ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้
ประโยชน์ของฟางข้าว
- ใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) ฟางข้าวเป็นแหล่งพลังงานที่ปราศจากคาบอน ได้ถูกนำไปใช้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพลังงานที่เรียกว่า ไบโอบูตานอล (biobutanol)
- ใช้ในโรงงานพลังงานมวลชีวภาพ(Biomass) ซึ่งเป็นที่นิยมมากในกลุ่มประเทศอียู(EU) ทั้งนี้โดยใช้ฟางอัดฟางก้อนโดยตรงบ้าง ใช้ฟางอัดเป็นเมล็ดสำหรับเป็นอาหารสัตว์บ้าง ใช้ฟางอัดเป็นเมล็ดเพื่อเป็นเชื้อเพลิงที่ให้พลังงานสูงพอๆกับถ่านหิน หรือแก๊สธรรมชาติบ้าง
- ใช้ยัดเป็นที่นอนของมนุษย์และสัตว์ (Bedding humans or livestock) ซึ่งที่นอนแบบนี้มีใช้กันอยู่ตามส่วนต่างๆของโลก
- ใช้เลี้ยงสัตว์ (Animal feed) เช่น แพะ แกะ วัว ควาย อูฐ เพราะให้พลังงานสูง ย่อยง่าย และมีคุณค่าทางอาหาร
- ใช้ทำหมวกและภาชนะสานต่างๆ เมื่อครั้งอดีตในประเทศแถบยุโรป เช่นประเทศอังกฤษ คนนิยมหมวกที่สานด้วยฟางข้าวมาก ปัจจุบันหมวกที่สานด้วยฟางจะนำเข้าจากต่างประเทศ
- ใช้มุงหลังคา เช่นเดียวกับหญ้าคา จาก เป็นต้น หลังคาที่ทำด้วยฟางมีคุณสมบัติกันฝนได้ดี มีน้ำหนักเบา และเป็นฉนวนกันร้อน ดีกว่าและมีราคาถูกกว่าฉนวนกันร้อนอื่นๆ
- ใช้ทำภาชนะบรรจุภัณฑ์ต่างๆ (Packaging) เพราะมีความแข็งแรง ทนทานต่อการกระทบ
- ใช้ทำกระดาษ (Paper) ใช้เป็นเยื่อทำกระดาษได้
- ใช้ทำเป้ายิงธนู (Archery targets) แต่เดิมใช้ฟางถักด้วยมือ แต่ปัจจุบันใช้ถักด้วยเครื่องจักร
- ใช้ทำปลออกคอม้า (Horse collars) เพราะฟางมีความเหนียวแน่นกว่าวัสดุอย่างอื่น
- ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง(Construction material)เช่นเดียวกับ อิฐ และดินดิบ ตามส่วนต่างๆของโลกจะใช้ฟางผสมกับดินเหนียวและคอนกรีต ใช้ดินเหนียวผสมกับฟาง เรียกวัสดุชนิดนี้ว่า cob เป็นวัสดุในการก่อสร้างอย่างหนึ่ง ด้วยเหตุที่ฟางมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันร้อน เขาจึงใช้ฟางสร้างบ้านโดยไม่ต้องมีโครงร่างอย่างอื่น หรือจะนำฟางมาสร้างโดยมีโครงร่างเป็นไม้หรือเป็นเหล็กก็ได้ บ้านที่สร้างแบบนี้เขาเรียกว่าบ้านก้อนฟาง (straw bale houses)
- ใช้ทำเอ็นไวโรบอร์ด (Enviroboard)
- ใช้ทำเชือก (Rope)
- ใช้สานเป็นภาชนะต่างๆ (Basketry)
- ใช้ทำรองเท้า ในประเทศเกาหลีนิยมใช้ฟางมาสานเป็นร้องเท้า และในประเทศเยอรมนีก็นิยมใช้รองเท้าเช่นเดียวกัน
- ใช้ในการปลูกพืช (Horticulture) เช่น ในแปลงเพาะเห็ด แปลงปลูกแตง ในประเทศญี่ปุ่นใช้ฟางคลุมต้นไม้ในฤดูหนาวเพื่อมิให้พืชตายและใช้ป้องกันแมลงศัตรูพืช และยังใช้ฟางเพื่อลดจำนวนของสาหร่ายในสระน้ำหรือในหนองน้ำได้ด้วย ใช้ฟางคลุมดินใต้ต้นสตรอเบอร์รี่เพื่อมิให้ผลสุกสุกงอมเร็ว
องค์ประกอบของฟางข้าว
องค์ประกอบทางเคมี
- เนื้อเซลล์ : 21%
- ผนังเซลล์ : 79%
- เซลลูโลส : 33%
- เฮมิเซลลูโลส : 26%
- ลิกนิน : 7%
- ซิลิกา : 13%
คุณค่าทางโภชนาการ
- โปรตีน 3.44%
- ไขมัน 1.88%
- เยื่อใย 37.48%
- ปริมาณเถ้า 12.30%
- ฟอสฟอรัส (P2O5) 0.11%
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://blog.arda.or.th
http://www.aecth.org
https://www.flickr.com
6 Comments