ปูเล่
ชื่ออื่นๆ : คะน้าสามร้อยปี
ต้นกำเนิด : ประเทศจีน
ชื่อสามัญ : Longlived Cabbag
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica oleraceae L. cv. gr. Collard
ชื่อวงศ์ : Cruciferae
ลักษณะของปูเล่
เป็นพืชล้มลุกลำต้นกลม ในบางสายพันธุ์มีลักษณะรูปทรงต้นคล้ายกะหล่ำบางชนิดคล้ายต้นคะน้าแต่ใบใหญ่กว่ามาก มีอายุ1-2 ปี ต้นที่โตเต็มที่สูงได้ถึง 20-60 ซม. มีทั้งแบบใบเรียบและใบหยิก ปูเล่ไม่มีดอกแต่ในบางสายพันธุ์ใบอ่อนของปูเล่จะมีสีสันสดใสสวยงามเหมือนดอกไม้ดอกใหญ่ และใบจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อใบโตเต็มที่ ใบจะแก่จะมีสีเหลืองเหมือนใบๆม้เตรียมร่วงทั่วไป สายพันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ สายพันธุ์โอซาก้า,สายพันธุ์พีเจ้น,สายพันธุ์คาโมเม่,สายพันธุ์นาโกย่า,สายพันธุ์ซองเบิร์ด,สายพันธุ์เฟเธอร์
การขยายพันธุ์ของปูเล่
เนื่องจากเป็นพืชที่ไม่มีดอก
ธาตุอาหารหลักที่ปูเล่ต้องการ
ประโยชน์ของปูเล่
- ปูเล่ เป็นพืชที่มีลักษณะเด่นที่น่าจะได้รับการส่งเสริมให้ทุกบ้าน ได้ปลูกไว้โดยปูเล่จะเจริญเติบโตได้ดีในกระถาง ดังนั้นในครัวเรือนที่มีบ้านและมีพื้นที่จำกัดก็สามารถปลูกปูเล่ได้ โดยปลูกไว้ที่ระเบียง ปลูกในสนามบ้าน เป็นพืชที่มีสีสันและโครงสร้างของใบที่สวยงาม สามารถปลูกเป็นไม้ประดับในกระถางวางหรือแขวนไว้บริเวณระเบียงบ้าน หรือตามที่ต่างๆ ตามความต้องการได้
- ปูเล่มีคุณค่าทางอาหารมากมาย ได้แก่ พลังงาน โปรตีน ไขมัน แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต โพแทสเซียม ไรโบฟลาวิน วิตามินซี ไทอะมิน และมีเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งสารอาหารดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด ช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณ ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด และโรคหวัด เป็นต้น
- ใบของปูเล่มีเส้นใยอยู่น้อย สามารถนำมารับประทานได้แม้เป็นใบแก่ มีรสชาติที่ดี ไม่เหนียว ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว จะนำมารับประทานเป็นผักสด หรือใช้ปรุงเป็นอาหารประเภทต่างๆ ได้หลากหลายเมนู
สรรพคุณทางยาของปูเล่
คุณค่าทางโภชนาการของปูเล่
ปูเล่ 100 กรัม ให้พลังงาน 30 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
- โปรตีน 23 กรัม
- ไขมัน 0.3 กรัม
- แคลเซียม 151 มิลลิกรัม
- คาร์โบไฮเดรต 4.5 กรัม
- โพแทสเซียม 54 มิลลิกรัม
- ไรโบฟลาวิน 0.11 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 63 มิลลิกรัม
- ไทอะมิน 0.07 มิลลิกรัม และมีเบต้าแคโรทีนสูง
การแปรรูปของปูเล่
นำปูเล่ไปแปรรูปเป็นผักดอง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th
http://www.ptcn.ac.th
http://sk.nfe.go.th
https://phramahathat.com
One Comment