ผักกวางตุ้ง หรือ ผักกาดสายซิม นิยมนำมาผัดกับเนื้อสัตว์หรือต้มเป็นแกงจืด รสชาติหวาน และกรอบ

ผักกวางตุ้ง หรือ ผักกาดสายซิม (ภาคใต้)

ชื่ออื่นๆ : ผักกาดเขียวกวางตุ้ง, ผักกาดจอ, ผักกาดดอก, ผักกาดจ้อน

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Chinese Cabbage-PAI TSAI

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica rapa L.

ชื่อวงศ์ : Cruciferae

ลักษณะของผักกวางตุ้ง หรือ ผักกาดสายซิม (ภาคใต้)

ผักกวางตุ้ง เป็นพืชปีเดียวไม่มีเนื้อไม้ สูง 20-60 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรงอาจพบพวกที่ลำต้นมีลักษณะเลื้อย ลำต้นผอมมักมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร มีการแตกแขนง

ใบ ใบเรียงซ้อนกันเป็นกระจุก 2-3 ใบ ก้านใบยาว แผ่นใบเป็นรูปช้อน หรือรูปขอบขนาน สีเขียวสด แผ่นใบเกลี้ยง ก้านใบสีเขียวจนถึงม่วงแดง ก้านใบเป็นร่องใบ ที่อยู่ทางด้านบนของลำต้นมักมีขนาดเล็กกว่าใบที่อยู่บริเวณส่วนกลางและส่วนล่างของลำต้นมาก

ดอก ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจะ ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ เส้นผ่าศูนย์กลาง 9 มิลลิเมตร มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 4 กลีบ กลีบดอกสีครีมจนถึงสีเหลืองสดรูปไวโอลิน 4 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 6 อัน สั้น 2 อัน ยาว 4 อัน

ผล ผลแตกแบบผักกาด ผลผอมยาวได้ถึง 5 เซนติเมตร ปลายผลเป็นจะงอยผอมเรียวสั้นๆ มี 10-20 เมล็ด เมล็ดกลมสีน้ำตาลจนถึงสีดำ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร ผิวเรียบ และมีลายเส้นเล็กๆ บริเวณสันขั้วเมล็ด

ผักกวางตุ้ง
ลำต้นผอม ก้านใบสีเขียว สูง 20-60 เซนติเมตร

การขยายพันธุ์ของผักกวางตุ้ง หรือ ผักกาดสายซิม (ภาคใต้)

ใช้เมล็ด/การขยายพันธ์ด้วยเมล็ด มี 2 วิธี คือ การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง และ การเพาะกล้าก่อนนำปลูกลงดิน

ธาตุอาหารหลักที่ผักกวางตุ้ง หรือ ผักกาดสายซิม (ภาคใต้)ต้องการ

ประโยชน์ของผักกวางตุ้ง หรือ ผักกาดสายซิม (ภาคใต้)

กวางตุ้งนั้นมีคุณประโยชน์คือ มีวิตามินซี แคลเซียม ดังนั้น นอกจากรสชาติที่อร่อยแล้วยังช่วยบำรุงสายตา และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายได้ดี แม้กวางตุ้งจะมีคาร์โบไฮเดรตด้วย แต่ก็มีไขมันต่ำมากทั้งเป็นไขมันไม่อิ่มตัว จึงไม่มีพิษภัยใดๆ กวางตุ้งยังให้กากใยอาหารทำให้ถ่ายคล่องอีกด้วย

กวางตุ้ง มีสารบางชนิดหากสัมผัสความร้อนจะกลายเป็นสารตัวใหม่ ชื่อ โอไซยาเนต สารนี้เมื่อเข้าสู้ร่างกายจะทำให้ท้องเสีย ความดันเลือดต่ำร่างกายอ่อนเพลีย แต่สารนี้จะสลายไปกับไอน้ำ เมื่อเราเปิดฝาทิ้งไว้ แต่กินสดๆก็ปลอดภัย กินกว้างตุ้งกินเท่าไรก็ไม่อ้วน ช่วยทำให้กล้ามเนื้อ กระชับกระฉับกระเฉง กวางตุ้งมีกากใยอาหารมาก ไขมันน้อย ขับถ่ายสะดวก กินกว้างตุ้งแล้ว ร่างกายได้ภูมิต้านทานดีนัก กินกวางตุ้ง วันละ 1 กำมือ ประมาณ 3 วัน กวางตุ้งจะไปทำให้สาร ฟรีนีโมนหลั่ง กินเป็นประจำจะทำให้กลิ่นตัวหอม

กวางตุ้ง
ใบสีเขียวสด แผ่นใบเกลี้ยง ก้านสีเขียว ดอกสีเหลือง

สรรพคุณทางยาของผักกวางตุ้ง หรือ ผักกาดสายซิม (ภาคใต้)

สรรพคุณทางยา: มีวิตามินซี เบตาแคโรทีนช่วยในการบำรุงสายตาและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และเชื่อว่าผักกวางตุ้งมีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดข้อช่วยลดการเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็งโรคกล้ามเนื้อเสื่อม และโรคเลือดหัวใจตีบ นิยมนำมาปรุงเป็นแกงจืด ต้มจับฉ่ายหรือนำไปผัด ซึ่งไม่ควรตั้งไฟนานเพราะความร้อนทำลาย วิตามินในผัก โดยเฉพาะวิตามินซี แต่เบตาแคโรทีนนั้นทนร้อนมากกว่า หากให้โดนความร้อนแค่ 1-2 นาทีจะมีเบตาแคโรทีนสูงกว่าครึ่งพอที่ร่างกายนำไปใช้บำรุงสุขภาพดวงตาและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ผักกวางตุ้งสามารถรับประทานสดได้แต่จะมีกลิ่นเหม็นเขียว

ป้องกันความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางของทารก ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ผักกวางตุ้ง เป็นผักที่มีกากใยมาก แต่มีไขมันน้อย ทำให้รับประทานมากแค่ไหนก็ไม่อ้วน เรียกว่าเป็นผักที่รับประทานได้อิ่ม แต่ไม่อ้วน ช่วยลดการเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็งโรคกล้ามเนื้อเสื่อม และโรคเลือดหัวใจตีบ

คุณค่าทางโภชนาการของผักกวางตุ้ง หรือ ผักกาดสายซิม (ภาคใต้)

คุณค่าทางโภชนาการของผักกวางตุ้งดิบต่อ 100 กรัม พลังงาน 13 กิโลแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม
เส้นใย 1.0 กรัม
ไขมัน 0.2 กรัม
โปรตีน 1.5 กรัม
วิตามินเอ equiv. 243
ไมโครกรัม 30%
วิตามินเอ 4,468 หน่วยสากล
วิตามินซี 45 มิลลิกรัม 54%
ธาตุแคลเซียม 105 มิลลิกรัม 11%
ธาตุเหล็ก 0.80 มิลลิกรัม 6%
ธาตุแมกนีเซียม 19 มิลลิกรัม 5%
ธาตุโซเดียม 65 มิลลิกรัม 4%

การแปรรูปของผักกวางตุ้ง หรือ ผักกาดสายซิม (ภาคใต้)

ต้นกวางตุ้งมีจุดเด่นที่เป็นผักแต่มีดอกสีเหลืองสดสวย แถมดอกกวางตุ้งยังทานได้อีกด้วย เป็นผักที่มีวิตามินสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินเอ วิตามินซี นอกจากนั้นยังมีธาตุอาหารพวกแคลเซียม และฟอสฟอรัสสูง เบต้าแคโรทีน นิยมนำมาผัดกับเนื้อสัตว์ ผัดน้ำมันหอย หรือต้มเป็นแกงจืด ผักกาดจอ (ภาคเหนือ) รสชาติหวาน และกรอบ โดยเฉพาะเมนูบะหมี่หมูแดง หรือบะหมี่เกี๊ยว ที่ต้องมีสีเขียวสดรสชาติกรอบๆของผักกวางตุ้งแซมอยู่ทุกชาม โดยธรรมชาติลำต้นของผักกวางตุ้งจะเป็นเส้นใยเหนียว ๆ เคี้ยวยาก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11141&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

3 Comments

Add a Comment