ผักขม ผักโขม ยอดอ่อนและใบอ่อนรับประทานได้

ผักขม

ชื่ออื่นๆ : ผักขม (กลาง) ผักโหม, ผักหม (ใต้) ผักโหมเกลี้ยง (แม่ฮ่องสอน) กระเหม่อลอเตอ (กะเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด : ประเทศไทย

ชื่อสามัญ : ผักโขม, Amaranth , Amaranth  green

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amaranthus Lividus Linn.

ชื่อวงศ์ : AMARANTHACEAE

ลักษณะของผักขม

ต้น ผักขมเป็นพืชล้มลุกปีเดียวลำต้นสีเขียวตรงแตกกิ่งก้านสาขามากใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่คล้ายสามเหลี่ยม

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่คล้ายสามเหลี่ยมใบออกแบนสลับกว้าง 2.5-8 ซม.ยาว 3.5-12 ซม. ผิวเรียบหรือมีขนเล็กน้อย ขอบใบเรียบ หลังใบเป็นคลื่นเล็กน้อย

ดอก  เป็นดอกช่อสีม่วงปนเขียว ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยเรียงตัวอัดกันแน่น

เมล็ด มีลักษณะกลมสีน้ำตาลเกือบดำ ขนาดเล็ก

ผักขม

ลำต้นอวบ สีเขียว

การขยายพันธุ์ของผักขม

การเพาะเมล็ด
ผักขมชอบดินร่วนซุยและชุ่มชื่นขึ้นใต้ร่มเงา

ธาตุอาหารหลักที่ผักขมต้องการ

ประโยชน์ของผักขม

ยอดอ่อน ใบอ่อน ต้นอ่อน นำมาต้ม,ลวกหรือนึ่งให้สุกรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกเช่น น้ำพริกปลาร้า ปลาจ่อม กะปิ ปลาทูและน้ำพริกอีกหลายชนิด หรือนึ่งพร้อมกับปลา ทำผัดผักกับเนื้อสัตว์ นำไปปรุงเป็นแกงเช่น แกงเลียง

สรรพคุณทางยาของผักขม

  • ทั้งต้น ดับพิษภายในและภายนอก แก้บิด มูกเลือด ริดสีดวงจมูก ริดสีดวงทวาร แก้ผื่นคัน แก้รำมะนาด รักษาฝี แผลพุพอง
  • ใบสด รักษาแผลพุพอง ต้น แก้อาการแน่นหน้าอกและไอหอบ ราก ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ

คุณค่าทางโภชนาการของผักขม

ผักโขมมีโปรตีนสูงและมีกรดอะมิโนครบทุกชนิด เหมาะกับผู้ที่กินอาหารมังสวิรัติ เป็นผักใบเขียวที่มีวิตามินเอ บี 6 ซี ไรโบฟลาวิน โฟเลต และแร่ธาตุ สำคัญได้แก่ แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม โพแทสเซียม สังกะสี ทองแดงและแมงกานีส ผักโขมยังเป็นผักบำรุงน้ำนมสำหรับคุณแม่ลูกอ่อน และแม้ผักโขมจะเป็นผักใบเขียว แต่ก็มีบีตา-แคโรทีนสูง โดยมีสารลูทีนและสารเซอักแซนทิน ซึ่งเป็นสารแคโรทีนอยด์อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งสารทั้งสองนี้มีสรรพคุณช่วยชะลอความเสื่อมของดวงตา ลดความเสี่ยงจากโรคดวงตาเสื่อมได้ถึงร้อยละ 43 ทั้งยังมีผลในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ และมีสารซาโปนินที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้อีกด้วย นอกจากนั้นผักโขมยังมีเส้นใยอาหารมาก จึงช่วยระบบขับถ่าย และลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้

การแปรรูปของผักขม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9643&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org

4 Comments

Add a Comment