ผักตำนิน ยอดและใบนำมาทำอาหาร

ผักตำนิน

ชื่ออื่นๆ : ผักแคบ (ภาคเหนือ) ผักตำนิน (ภาคอีสาน)  แคเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Ivy gourd

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coccinia grandis (L.) Voigt

ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae

ลักษณะของผักตำนิน

ลำต้นเป็น เถาไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ใบเป็น ใบเดี่ยว มีลักษณะเป็น 3 แฉก หรือ 5 แฉก กว้างและยาวประมาณ 4-8 ซม. โคนใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ มีมือเกาะยื่นออกมาจากที่ข้อ ดอกเป็น ดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ มีลักษณะเป็นรูประฆัง กลีบดอกสีขาว แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกออกตรงที่ซอกใบ
ลักษณะของผลเป็นวงรีทรงยาวสีเขียวอ่อน เมื่อยามแก่จัดจะเป็นสีแดง เป็นที่ชื่นชอบของ นกนานาชนิด

ผักตำลึง
โคนใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลมมน ผิวใบเกลี้ยง

การขยายพันธุ์ของผักตำนิน

ใช้เมล็ด/โดยปกติผลสุกของตำลึง จะเป็นอาหารของนก จึงแพร่กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติด้วยการถ่ายมูลของนก

การเพาะพันธุ์ ใช้เมล็ดจากผลแก่หยอดลงในหลุม ปลูกได้ดีในดินร่วนซุย หลังจากที่ต้นกล้างอกก็ให้หาไม้มาปลักเพื่อให้ต้นตำลึงใช้เลื่อย นำเถาแก่มาตัดให้ได้ขนาด 4-6 นิ้ว ปักลงในถุงเพาะชำ หลังจากรากและใบงอกแล้วก็นำไปปลูกลงหลุม

ธาตุอาหารหลักที่ผักตำนินต้องการ

ประโยชน์ของผักตำนิน

สามารถนำยอด ใบตำลึง มาทำอาหาร เช่น ต้มกับน้ำแกงใส่กับหมูสับ นำใบตำลึงมาผัดผักรวม หรือ นำไปประกอบอาหารอย่างอื่นก็ได้เหมือนกัน วิธีการกิน โบราณจะเด็ดกินเฉพาะใบอ่อน และยอด ไม่นิยมกินหนวดหรือมือ เพราะถือว่าเป็นของหยาบ

สรรพคุณทางยาของผักตำนิน

สารเคมี ในตำลึงมีสารเอนไซม์อะไมเลส ช่วยในการย่อยแป้ง และในตำลึงก็มีสารอาหารชื่อว่าเบต้าแคโรทีน
สรรพคุณทางยา ใบใช้ในการแก้ไข้ตัวร้อน ตาแดง ตาเจ็บ เถานำน้ำต้มจากเถาตำลึงมาหยอดตาแก้ตาแดง ตาฟาง ดอกตำลึงช่วยทำให้หายจากอาการคันได้ รากใช้แก้อาการอาเจียน ตาฝ้า น้ำยางจากต้นและใบช่วยลดน้ำตาลในเลือด

คุณค่าทางโภชนาการของผักตำนิน

การแปรรูปของผักตำนิน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11420&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment