ผักหิน ผักเขียด วัชพืชน้ำขึ้นเองตามธรรมชาติ

ผักหิน ผักฮิ้น

ชื่ออื่นๆ : ผักฮิ้น ( อุบลราชธานี) ผักฮิ้นน้ำ (ภาคเหนือ) ขาเขียด นิลบล ผักเขียด (ภาคกลาง) ผักเป็ด (ชลบุรี) ผักเผ็ด (นครราชสีมา) ผักริ้น (ภาคใต้)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Pickerel weed

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Monochoria vaginalis (Burm.f.) C.Presl ex Kunth

ชื่อวงศ์ : Pontederiaceae

ลักษณะของผักหิน ผักฮิ้น

ต้น วัชพืชน้ำ รากหยั่งลงดิน มีลักษณะคล้ายผักตบชวาแต่ขนาดเล็กกว่า ลำต้นตั้งตรง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีไหลสั้น ๆ และรากฝอยสีน้ำตาลแดงจำนวนมาก  สามารถดำรงชีวิตเป็นพืชหลายฤดูได้ มีลำต้นใต้ดินสั้นมาก

ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจคล้ายผักตบชวาแต่เล็กกว่า ออกจากโคนต้นแบบสลับ ก้านใบยาว 10-25 ซม. มีรูปร่างค่อนข้างกลมและอวบน้ำ ภายในกลวง ส่วนโคนของก้านใบจะแผ่ออกเป็นกาบห่อหุ้มกันไว้ ใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนมัน

ดอก ออกเป็นช่อแบบสไปค์ ออกตรงกลางก้านใบและมีใบประดับเขียวอ่อนคล้ายใบ ปลายแหลม ห่อหุ้มดอกในขณะที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ประกอบด้วยดอกย่อย 3-15 ดอก ดอกย่อยมีก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยงและกลีบดอกหลอมรวมกัน (perianth) มี 6 กลีบ สีม่วงอมน้ำเงินหรือสีฟ้า ปลายกลีบโค้งมน แต่ละกลีบแยกออกจากกัน ด้านหลังกลีบดอกมีสีเขียวอ่อนๆ ก้านชูเกสรตัวผู้มีสีม่วง 6 อัน

ผล ผลเป็นแคปซูล ยาวประมาณ 1 ซม. ผลจะแตกเมื่อแก่โดยแตกตามยาวออกเป็น 3 ซีก มีเมล็ดสีน้ำตาลอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก

ต้นผักหิน
ต้นผักหิน ลำต้นตั้งตรง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน
ลำต้นผักหิน
ลำต้นผักหิน มีรากฝอยสีน้ำตาลแดงจำนวนมาก

การขยายพันธุ์ของผักหิน ผักฮิ้น

ใช้เมล็ด, ใช้ราก

พบขึ้นในบริเวณที่มีน้ำขัง ตามบ่อเลี้ยงปลา และในนาข้าวหรือในดินแฉะๆ พบทั่วไปในประเทศไทย เป็นวัชพืชพบมากในนาข้าวทางภาคเหนือ

ธาตุอาหารหลักที่ผักหิน ผักฮิ้น ต้องการ

ประโยชน์ของผักหิน ผักฮิ้น

ยอดอ่อน ใบอ่อนและดอก จะออกในช่วงหน้าฝนใช้รับประทานเป็นผัก นิยมรับประทานทั้งต้น มักเก็บช่วง 2–3 อาทิตย์แรกเท่านั้น หลังจากนั้นต้นจะแก่ รับประทานไม่อร่อย วิธีรับประทานเป็นอาหาร จะรับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก หรือกับแกงรสจัดของภาคใต้ หรืออาหารรสจัดประเภท ลาบ ยำ ก้อย ส้มตำได้ นอกจากนี้ยังนำไปแกงส้ม แกงกับปลา หรือเนื้อหมู

ดอกผักหิน
ดอกผักหิน ดอกสีม่วงอมน้ำเงินหรือสีฟ้า

สรรพคุณทางยาของผักหิน ผักฮิ้น

  • ใบของผักเขียด นำมาคั้นน้ำรับประทาน แก้ไอ ขับปัสสาวะ ตำพอกฝีหรือรับประทานใบสดจะมีสรรพคุณ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย
  • ผักเขียดมีรสจืด เย็น เหมาะรับประทานเพื่อลดความร้อนในร่างกาย

คุณค่าทางโภชนาการของผักหิน ผักฮิ้น

ผักเขียด 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 13 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย

  • เส้นใย              0.8  กรัม
  • แคลเซียม         13  มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส          6  มิลลิกรัม
  • เหล็ก                  6  มิลลิกรัม
  • วิตามินเอ              3000  UI
  • วิตามินบี 1           0.04  มิลลิกรัม
  • วิตาิมนบี 2           0.10  มิลลิกรัม
  • ไนอาซิน               0.1  มิลลิกรัม
  • วิตามินซี               18  มิลลิกรัม

การแปรรูปของผักหิน ผักฮิ้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11710&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
https://th.wikipedia.org

Add a Comment