ผักเค็ด
ชื่ออื่นๆ : ผักเค็ด ผักเคล็ด (กรุงเทพฯ), ผักหวานบ้าน (กลาง), ขี้เหล็กน้อย, ขี้เหล็กเทศ, ขี้เหล็กผี, ผักเห็ด
ต้นกำเนิด : ประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วไปตามที่รกร้าง
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia sophora L.
ชื่อวงศ์ : Caesalpiniaceae
ลักษณะของผักเค็ด
ต้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 3-6 ฟุต กิ่งก้านเล็กเรียวกลม
ใบ ใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ลักษณะของใบคล้ายกับใบแสมสารหรือใบมะยม มีสีเขียวเป็นมัน
ดอก ดอกช่อ สีเหลืองคล้ายดอกขี้เหล็ก แต่ดอกไม่ดกแน่นเหมือนดอกขี้เหล็ก
ฝัก เป็นรูปฝัก และจะแบ่งออกเป็นข้อ ๆ ลักษณะคล้ายกับฝักถั่วเขียว แต่จะใหญ่และยาวกว่าประมาณ 3-4 ฟุต
การขยายพันธุ์ของผักเค็ด
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ผักเค็ดต้องการ
ประโยชน์ของผักเค็ด
- ยอดอ่อน ดอกอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือนํามาแกงคล้ายแกงขี้เหล็ก
- เมล็ดแก่รับประทานได้ รสหวานมัน
สรรพคุณทางยาของผักเค็ด
- ใบ รสขม เข้ายาเขียวแก้ไข้ ต้มน้ำอาบแก้ผดผื่นคัน รักษาบาดแผล
- ราก รสขมเย็น ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ดับพิษทั้งปวง
- บมีรสขม ใช้เข้ายาเขียวแก้ไข้
คุณค่าทางโภชนาการของผักเค็ด
การแปรรูปของผักเค็ด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11091&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com