พญายอ
ชื่ออื่นๆ : ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่) พญาปล้องดำ (ลำปาง) พญาปล้องทอง (ภาคกลาง) ลิ้นมังกร โพะโซ่จาง (กะเหรี่ยง) และ พญายอ (แม่ฮ่องสอน) เสลดพังพอนตัวเมีย (พิษณุโลก)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau.
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ลักษณะของพญายอ
ต้น ไม้เถาล้มลุก มีลักษณะเป็นพุ่มแกมเลื้อยเถา มักจะเลื้อยพาดไปตามต้นไม้อื่นๆ ลำต้นหรือกิ่งก้าน เกลี้ยง เป็นข้อปล้อง ต้นอ่อนจะเป็นสีเขียว แตกกิ่งก้านดกทึบ
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ลักษณะใบรูปใบหอกยาวแคบๆ ปลายใบยาวแหลม ไม่มีหนาม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียว ขนาดยาว 7-9 ซม. กว้าง 2-3 ซม. ก้านใบยาว 0.5 ซม.
ดอก ออกดอกเป็นกระจุกตรงปลายกิ่ง กลีบรองกลีบดอกสีเขียวยาวเท่าๆ กัน มีขนเป็นต่อมเหนียวๆ อยู่โดยรอบ กลีบดอกเป็นหลอด ยาว 3-4 ซม. ปลายแยกเป็น 2 กลีบ คือกลีบบนและกลีบล่าง สีแดงอมส้ม เกสรตัวผู้มี 2 เกสรตัวเมียเกลี้ยงไม่มีขน
ผล เป็นผลแห้ง ลักษณะรูปรี แตกออกได้ เมล็ดแบน
การขยายพันธุ์ของพญายอ
ใช้กิ่งปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่พญายอต้องการ
ประโยชน์ของพญายอ
นำมาทำเป็นยาสมุนไพรไทยจัดอยู่ในกลุ่มพืชถอนพิษ รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แมลงกัดต่อย รักษาอาการอักเสบ งูสวัด ลมพิษ ผื่นคัน ใช้รักษาแผลผิวหนังชนิดเริม และรักษาแผลร้อนในในปาก ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน แก้ปวดเมื่อยบั้นเอว
สรรพคุณทางยาของพญายอ
ต้น ใช้ถอนพิษ โดยเฉพาะพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ตะขาบ แมลงป่อง รักษาอาการอักเสบ งูสวัด ลมพิษ แผลน้ำร้อนลวก
ใบ รสจืดเย็น นำมาสกัดทำทิงเจอร์และกรีเซอรีน ใช้รักษาแผลผิวหนังชนิดเริ่ม Herpes และรักษาแผลร้อนในในปาก Apthousดับพิษร้อน แก้แผลน้ำร้อนลวก
ราก รสจืดเย็น ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน แก้ปวดเมื่อยบั้นเอว ฝนทาแก้พิษงู ตะขาบ แมงป่อง
ทั้งต้น รสจืดเย็น แก้พิษงู พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้เริม แก้บิด ถอนพิษไข้ ไฟลามทุ่ง โขลกกับดินประสิวเล็กน้อยผสมเหล้าขาวคั้นเอาน้ำดื่มและเอากากพอก
รากของพญาปล้องทอง ประกอบด้วยสาร Lupeol, B-Sitosterol, Stigmasterol และมีการทดลองพบว่าสารสกัดด้วยสารละลายบิวทานอล (butanol) จากใบของพญาปล้องทอง มีสารประกอบฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) สามารถระงับอาการอักเสบได้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้มีการผลิต ครีมพญายอ ขึ้นเพื่อนำมารักษาผู้ป่วยโรคงูสวัดได้ ทำให้แผลตกสะเก็ดหายเร็ว ลดอาการปวดได้ดี และไม่พบผลข้างเคียงใด ๆ จากการใช้ครีมพญายอ จึงไม่ทำให้เกิดอาการแสบระคายเคือง มีการนำมาออกจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรม
คุณค่าทางโภชนาการของพญายอ
การแปรรูปของพญายอ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10871&SystemType=BEDO
www.flickr.com
2 Comments