พะยอม
ชื่ออื่นๆ : กะยอม (เชียงใหม่) ชะยอม (ลาว) กะยอม (อีสาน) ขะยอมดง, พะยอมดง (ภาคเหนือ) แคน (ร้อยเอ็ด) เชียง เชี่ยว (กะเหรี่ยง – เชียงใหม่) พะยอม (ภาคกลาง) พะยอมทอง (สุราษฏร์ธานี,ปราจีนบุรี) ยางหยวก (น่าน)
ต้นกำเนิด : ประเทศไทย และเอเชีย เช่น ศรีลังกา พม่า ฟิลิปปินส์ ลาว
ชื่อสามัญ : พะยอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea roxburghii G. Don.
ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ลักษณะของพะยอม
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ15-20 เมตรผิวเปลือกสีน้ำตาลหรือสีเทาเนื้อไม้มีสีเหลือง
ลำต้นเปลาตรงแตกแขนงเป็นทรงพุ่มกลมลำต้นแตกเป็นร่องตามยาวและมีสะเก็ดหนา
ใบ ใบเป็นรูปมนรีปลายใบแหลมโคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ ด้านหลังใบมีเส้นใบมองเห็นได้ชัดใบมีสีเขียว ขนาดใบกว้างประมาณ 6-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12-18เซนติเมตร
ดอก ออกดอกเป็นช่อใหญ่ ออกดอกตามส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม ดอกมีกลีบ 3 กลีบ กลีบดอกเรียบโค้งเล็กน้อย ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร โคนกลีบดอกติดกับก้านดอก มีลักษณะกลม ออกดอกพร้อมกันเกือบทั้งต้น โดยจะออกดอกในช่วยเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ผล ผลแห้งมีปีกแบบ Samara ลักษณะเป็นทรงไข่และกระสวย ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ซ่อนตัวอยู่ในกระพุ้ง โคนปีกมี 5 ปีก ประกอบด้วยปีกยาวรูปขอบขนาน 3 ปีก ยาวประมาณ 8 เซนติเมตร มีเส้นตามยาวของปีกประมาณ 10 เส้น และปีกสั้นมี 2 ปีก มีความยาวไม่เกิน 3 เซนติเมตร ในผลมีเมล็ดหนึ่งเมล็ด ออกผลในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม

การขยายพันธุ์ของพะยอม
การเพาะเมล็ด, การใช้กิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่พะยอมต้องการ
ประโยชน์ของพะยอม
- นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน
- เปลือก ให้สีน้ำตาล ใส่กันบูด ให้น้ำฝาด ใช้ฟอกหนัง
- เนื้อไม้ ใช้ทำหมอนรถไฟ ก่อสร้างบ้านเรือน ทำเรือ เครื่องมือเกษตร
- ชัน ใช้ยาเรือ
- ต้นไม้ประจำจังหวัดพัทลุง เป็นพันธุ์ไม้มงคลประจำจังหวัด ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537

สรรพคุณทางยาของพะยอม
- พยอม สรรพคุณของดอกช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก)
- สรรพคุณสมุนไพรพยอม ดอกใช้ผสมเป็นยาแก้ไข้ (ดอก)
- ดอกใช้ทำเป็นยาหอมไว้แก้ลม บำรุงหัวใจ ลดไข้ (ดอก)
- ต้นพยอมช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน (เปลือกต้น)
- เปลือกต้นใช้กินแทนหมาก ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ ฝนทาสมานบาดแผล ชำระแผลทุบใส่น้ำตาลสดกันบูด (เปลือกต้น)
- เปลือกต้นมีสีสาร Tannin มาก สามารถใช้เป็นยาฝาดสมานแผลในลำไส้ได้ (เปลือกต้น)
- สรรพคุณพยอมช่วยสมานบาดแผล ชำระบาดแผล ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาฝนแล้วทาบริเวณบาดแผล


คุณค่าทางโภชนาการของพะยอม
พะยอมในส่วนที่กินได้ต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วย
- คาร์โบไฮเดรต 7.2 กรัม
- โปรตีน 4.4 กรัม
- ไขมัน 1.1 กรัม
- เส้นใย 2.8 กรัม
- ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม
- ธาตุแคลเซียม 46 มิลลิกรัม
การแปรรูปของพะยอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9296&SystemType=BEDO
http:// clgc.agri.kps.ku.ac.th
http:// ecoforest.phsmun.go.th
https://www.flickr.com
One Comment