พะยอม ไม้ใช้ในงานก่อสร้างทั่วไป นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน

พะยอม

ชื่ออื่นๆ : กะยอม (เชียงใหม่) ชะยอม (ลาว) กะยอม (อีสาน) ขะยอมดง, พะยอมดง (ภาคเหนือ) แคน (ร้อยเอ็ด) เชียง เชี่ยว (กะเหรี่ยง – เชียงใหม่) พะยอม (ภาคกลาง) พะยอมทอง (สุราษฏร์ธานี,ปราจีนบุรี) ยางหยวก (น่าน)

ต้นกำเนิด : ประเทศไทย และเอเชีย เช่น ศรีลังกา พม่า ฟิลิปปินส์ ลาว

ชื่อสามัญ : พะยอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea roxburghii G. Don.

ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE

ลักษณะของพะยอม

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ15-20 เมตรผิวเปลือกสีน้ำตาลหรือสีเทาเนื้อไม้มีสีเหลือง
ลำต้นเปลาตรงแตกแขนงเป็นทรงพุ่มกลมลำต้นแตกเป็นร่องตามยาวและมีสะเก็ดหนา

ใบ ใบเป็นรูปมนรีปลายใบแหลมโคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ ด้านหลังใบมีเส้นใบมองเห็นได้ชัดใบมีสีเขียว ขนาดใบกว้างประมาณ 6-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12-18เซนติเมตร

ดอก ออกดอกเป็นช่อใหญ่ ออกดอกตามส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม ดอกมีกลีบ 3 กลีบ กลีบดอกเรียบโค้งเล็กน้อย ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร โคนกลีบดอกติดกับก้านดอก มีลักษณะกลม ออกดอกพร้อมกันเกือบทั้งต้น โดยจะออกดอกในช่วยเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์

ผล ผลแห้งมีปีกแบบ Samara ลักษณะเป็นทรงไข่และกระสวย ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ซ่อนตัวอยู่ในกระพุ้ง โคนปีกมี 5 ปีก ประกอบด้วยปีกยาวรูปขอบขนาน 3 ปีก ยาวประมาณ 8 เซนติเมตร มีเส้นตามยาวของปีกประมาณ 10 เส้น และปีกสั้นมี 2 ปีก มีความยาวไม่เกิน 3 เซนติเมตร ในผลมีเมล็ดหนึ่งเมล็ด ออกผลในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม

ต้นพะยอม
ต้นพะยอม เปลือกต้นมีสีน้ำตาลหรือสีเทาเข้ม

การขยายพันธุ์ของพะยอม

การเพาะเมล็ด, การใช้กิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่พะยอมต้องการ

ประโยชน์ของพะยอม

  • นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน
  • เปลือก ให้สีน้ำตาล ใส่กันบูด ให้น้ำฝาด ใช้ฟอกหนัง
  • เนื้อไม้ ใช้ทำหมอนรถไฟ ก่อสร้างบ้านเรือน ทำเรือ เครื่องมือเกษตร
  • ชัน ใช้ยาเรือ
  • ต้นไม้ประจำจังหวัดพัทลุง เป็นพันธุ์ไม้มงคลประจำจังหวัด ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
ใบพะยอม
ใบพะยอม ใบเป็นรูปมนรี ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน

สรรพคุณทางยาของพะยอม

  1. พยอม สรรพคุณของดอกช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก)
  2. สรรพคุณสมุนไพรพยอม ดอกใช้ผสมเป็นยาแก้ไข้ (ดอก)
  3. ดอกใช้ทำเป็นยาหอมไว้แก้ลม บำรุงหัวใจ ลดไข้ (ดอก)
  4. ต้นพยอมช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน (เปลือกต้น)
  5. เปลือกต้นใช้กินแทนหมาก ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ ฝนทาสมานบาดแผล ชำระแผลทุบใส่น้ำตาลสดกันบูด (เปลือกต้น)
  6. เปลือกต้นมีสีสาร Tannin มาก สามารถใช้เป็นยาฝาดสมานแผลในลำไส้ได้ (เปลือกต้น)
  7. สรรพคุณพยอมช่วยสมานบาดแผล ชำระบาดแผล ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาฝนแล้วทาบริเวณบาดแผล
ดอกพะยอม
ดอกพะยอม ดอกมีสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม
ผลพะยอม
ผลพะยอม ผลทรงไข่และกระสวย

คุณค่าทางโภชนาการของพะยอม

พะยอมในส่วนที่กินได้ต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วย

  • คาร์โบไฮเดรต      7.2   กรัม
  • โปรตีน                  4.4   กรัม
  • ไขมัน                     1.1   กรัม
  • เส้นใย                    2.8   กรัม
  • ธาตุเหล็ก              0.3   มิลลิกรัม
  • ธาตุแคลเซียม       46   มิลลิกรัม

การแปรรูปของพะยอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9296&SystemType=BEDO
http:// clgc.agri.kps.ku.ac.th
http:// ecoforest.phsmun.go.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment