พะวา (สุราษฎร์ธานี, สงขลา) ผลสุกรับประทานได้ เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างได้ดี

พะวา (สุราษฎร์ธานี, สงขลา)

ชื่ออื่นๆ : กวัก กวักไหม หมากกวัก ขวาด ชะม่วง มะดะขี้นก มะป่อง วาน้ำ สารภีป่า ส้มโมงป่า

ต้นกำเนิด : ภาคเหนือและอีสาน แต่ขึ้นได้ทั่วทุกภาครวมทั้งภาคใต้ ที่ความผลสุกรับประทานได้ สูงตั้งแต่ระดับทะเลปานกลางถึง 700 ม. ในต่างประเทศพบที่พม่า อินเดีย และเกาะนิโคบาร์ ออกดอกเดือนมกราคม–เมษายน ผลแก่เดือนเมษายน และฤดูฝน

ชื่อสามัญ : Pawa/Phawa

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia speciosa.

ชื่อวงศ์ : GUTTIFERAE

ลักษณะของพะวา (สุราษฎร์ธานี, สงขลา)

ต้น  พะวา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง พะวาเป็นพืชที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับมังคุด ส้มแขก มะพูด ชะมวง และมะดัน มีขนาดสูงประมาณ 10 – 15 เมตร ทรงพุ่มรูปโดม ใบดกหนาทึบ ต้น ใบ และผลมียางสีขาว มีการแบ่งแยกต้นเป็นต้นเพศผู้และเพศเมีย

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้าม มีความกว้างประมาณ 4 – 8 เซนติเมตร ยาว 8 – 15 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายรูปไข่กลับ ปลายใบมนกว้าง เนื้อใบค่อนข้างหนาผิวมัน เส้นแขนงใบถี่ เส้นกลางใบเป็นร่องทางด้านหลังใบ

ดอก ดอกเพศผู้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร (เมื่อดอกบาน) ประกอบด้วยกลีบเลี้ยงสีเหลืองถึงเหลืองเข้ม 4 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 4 กลีบ เมื่อบานจะมีเกสรตัวผู้เป็นวงล้อมขอบยอดเกสรตัวเมีย (ไม่ทำหน้าที่) จำนวน 20 – 40 ชุด หลังจากบอกบาน 24 – 48 ชั่วโมง ก็จะเหี่ยวและร่วงหล่น
ดอกเพศเมีย ดอกพะวาเป็นดอกเดี่ยว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าดอกตัวผู้ มีกลีบเลี้ยงสีเหลือง 4 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 4 กลีบ ตรงกลางเป็นที่ตั้งของรังไข่ ซึ่งพัฒนาต่อไปเป็นผล ปลายรังไข่มียอดเกสรตัวเมียมีลักษณะเป็นแฉก 6 – 8 แฉก ส่วนนี้จะปรากฏที่ปลายผลและเป็นตัวบ่งบอกถึงจำนวนกลีบผล รวมทั้งเมล็ด หลังจากดอกบาน 24 ชั่วโมง กลีบดอกจะร่วง คงเหลือเพียงรังไข่และกลีบเลี้ยงที่เหลืออยู่ พะวาจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม และกรกฎาคมถึงกันยายน

ผล ผลพะวาเป็นทรงรูปไข่ผิวเรียบ พัฒนาโดยไม่มีการผสมเกสร เมื่อเป็นผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีส้มและแดงในที่สุด เนื้อหุ้มเมล็ดในผลมีลักษณะเป็นกลีบใสและมีเส้นขาวขุ่น มีรสชาดฝาดอมเปรี้ยว รับประทานได้ แต่เชื่อว่าถ้ากินมาก ๆ อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสียได้

เมล็ด ในสกุล Garcinai อื่นๆ เมล็ดเกิดโดยไม่ได้รับการผสม มีลักษณะบนยาวและมีร่องของมัดท่อน้ำ ท่ออาหารปรากฏอยู่ให้เห็น สีเหลืองอ่อน และสามารถที่จะแยกเมล็ดออกจากเนื้อผลได้ง่าย เมล็ด 1 เมล็ด งอกเป็นต้นกล้าได้หลายต้น ประมาณ 4 – 10 ต้น หรือสามารถที่จะตัดแบ่งเป็น 2 – 4 ส่วนแล้วเพาะได้

ต้นพะวา
ต้นพะวา เนื้อใบค่อนข้างหนาผิวมัน

การขยายพันธุ์ของพะวา (สุราษฎร์ธานี, สงขลา)

ใช้เมล็ด/กระจายพันธุ์ได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย การขยายพันธุ์สามารถกระทำได้โดยการเพาะเมล็ด
สามารถที่จะปลูกด้วยเมล็ดได้โดยตรงในแปลงปลูก หรือย้ายกล้าปลูก กล้าที่ย้ายปลูกได้จาาการเพาะเมล็ดในถุงพลาสติกสีดำ หรือสีขาวขนาด 4 นิ้ว จนมีความสูง 12 – 15 เซนติเมตร (มีใบ 6 – 8 คู่) ต้นกล้ามีความทนทานต่อความแห้งแล้งสูงเมื่อเปรียบเทียบกับมังคุด ส่วนมากนิยมปลูกร่วมกับต้นกล้ามังคุด เมื่อโตได้ระยะหนึ่งจึงใช้ทาบกับมังคุดเพื้อเป็นการเสริมรากมังคุด ทำให้มังคุดโตเร็ว

ธาตุอาหารหลักที่พะวา (สุราษฎร์ธานี, สงขลา)ต้องการ

ประโยชน์ของพะวา (สุราษฎร์ธานี, สงขลา)

ผลพะวานั้น ถึงแม้จะมีสีสวยและมีเนื้อในที่สามารถรับประทานได้ก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีการซื้อขายกันในเชิงการค้า ทั้งในตลาดท้องถิ่น เนื้อไม้แข็ง เสี้ยนละเอียด สีน้ำตาลแดง ใช้ในการก่อสร้างได้ดี

ผลพะวา
ผลพะวา ทรงรูปไข่ผิวเรียบ ผลอ่อนมีสีเขียว

สรรพคุณทางยาของพะวา (สุราษฎร์ธานี, สงขลา)

ใบแห้ง นำไปต้มใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ
ดอกแห้ง นำไปต้มน้ำกินเป็นยารักษาอาการไข้ ช่วยเจริญอาหาร รักษาลมและโลหิตพิการ

คุณค่าทางโภชนาการของพะวา (สุราษฎร์ธานี, สงขลา)

การแปรรูปของพะวา (สุราษฎร์ธานี, สงขลา)

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11203&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment