พีพ่าย ไม้เป็นเชื้อเพลิงทำฟืน ลำต้นต้มน้ำดื่มแก้ผิดสำแดง

พีพ่าย

ชื่ออื่นๆ : พี่หน่าย (ประจวบคีรีขันธ์) กระบกหิน (นครราชสีมา) ดอกสร้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มะมุ่น, มุ่น, ยาขบงู (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด : พบตามที่ต่ำในป่าดิบเขา

ชื่อสามัญ : พีพ่าย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Elaeocarpus lanceifolius roxb

ชื่อวงศ์ : ELAEOCARPACEAE

ลักษณะของพีพ่าย

ต้น  ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร ไม่ผลัดใบ

ใบ  ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบหอก รูปไข่กลับ กว้าง 3.5-8 เซนติเมตร ยาว 8-20 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างเกลี้ยงหรือมีขน ขอบใบจักฟันเลื่อย ก้านใบยาว 5-8 มิลลิเมตร

ดอก  ช่อดอกแบบช่อกระจะ เหนือรอยแผลใบที่หลุดร่วง ยาว 5-17 เซนติเมตร ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวอมเหลือง กลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบแยกเป็นฝอย ดอกบานเต็มที่กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ออกดอกในเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม

ผล  ผลสดมีเนื้อเมล็ดเดียวแข็ง รูปไข่หรือรูปรี ผลสุกสีแดงคล้ำ

พีพ่าย
พีพ่าย ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ผิวใบด้านบนเกลี้ยง

การขยายพันธุ์ของพีพ่าย

การใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่พีพ่ายป่าต้องการ

ประโยชน์ของพีพ่าย

ไม้เป็นเชื้อเพลิงทำฟืน

สรรพคุณทางยาของพีพ่าย

ลำต้นต้มน้ำดื่ม แก้ผิดสำแดง (กินอาหารแสลงไข้ ทำให้โรคกำเริบ มีอาการท้องเสีย)

คุณค่าทางโภชนาการของพีพ่าย

การแปรรูปของพีพ่าย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10882&SystemType=BEDO
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment