ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรพื้นบ้านที่สามารถรับประทานแก้โรคได้

ฟ้าทะลายโจร

ชื่ออื่นๆ : ฟ้าทะลายโจร,  หญ้ากันงู (สงขลา) น้ำลายพังพอน, ฟ้าทะลายโจร (กรุงเทพฯ) ฟ้าสาง (พนัสนิคม) เขยตายยายคลุม, สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) เมฆทะลาย (ยะลา) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง)

ต้นกำเนิด : อินเดียและศรีลังกา

ชื่อสามัญ : ฟ้าทะลายโจร, Kariyat, The Creat

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata Wall. ex Nees

ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE

ลักษณะของฟ้าทะลายโจร

ต้น เป็นพืชล้มลุก สูง 30-60 ซม.ลำต้นมักเป็นเหลี่ยมตั้งตรง และแตกกิ่งเล็กๆ ออกไปข้างๆ

ใบ ใบเกลี้ยง แคบ โคนและปลายใบแหลม ยาว 5-6 ซม. กว้าง 1.5-2 ซม.

ดอก ดอกสีขาวออกเดี่ยว ๆ ตามก้านเล็กรอบต้นและตามยอด ยาวประมาณ 1.5 ซม. กลีบรองดอก มี 5 กลีบ มีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ทาง กลีบล่าง 2 กลีบ แคบกว่ากลีบบน กลีบบนทั้ง 3 กลีบ มีทางยาวสีแดงเข้มพาดอยู่ เกสรตัวผู้มี 2 อัน อับเกสรมีสีม่วงแดง และมีขนยาวๆ ผลคล้ายฝักต้อยติ่ง แต่ผอมและมีขนาดเล็กกว่า ยาวประมาณ 1.5 ซม. กว้างประมาณ 0.3 ซม. เมื่อฝักแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก อยู่บนต้น

ฟ้าทะลายโจร
ใบรูปร่างเรียวยาว มีสีเขียวเข้มเป็นมัน ปลายแหลม

การขยายพันธุ์ของฟ้าทะลายโจร

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ฟ้าทะลายโจรต้องการ

ประโยชน์ของฟ้าทะลายโจร

ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบสด ใบแห้ง ใบจะเก็บมาใช้เมื่อต้นมีอายุได้ 3-5 เดือน
รายละเอียดการนำมาใช้ประโยชน์
1. ฟ้าทะลายโจรแคปซูล จากผงใบฟ้าทะลายโจร สรรพคุณ บรรเทาอาการเจ็บคอ หลอดลมอักเสบ
2. น้ำฟ้าทะลายโจร ฟ้าทะลายโจรพร้อมดื่ม สรรพคุณ ช่วยบรรเทาโรคภูมิแพ้ได้ดี แก้ร้อนใน เจ็บคอ ตัวร้อน ปวดหัว ช่วยเจริญอาหาร

สรรพคุณ มี 4 ประการคือ
1. แก้ไข้ทั่ว ๆ ไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
2. ระงับอาการอักเสบ พวกไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนังฝี
3. แก้ติดเชื้อ พวกทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ
4. เป็นยาขมเจริญอาหาร

และการที่ฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณ 4 ประการนี้ จึงชวนให้เห็นว่าตัวยาต้นนี้ เป็นยาที่สามารถนำไปใช้กว้างขวางมาก จากเหตุผลที่ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ระงับการติดเชื้อหรือระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้

สรรพคุณทางยาของฟ้าทะลายโจร

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
ใบฟ้าทะลายโจร มีสารเคมีประกอบอยู่หลายประเภท แต่ที่เป็นสาระสำคัญในการออกฤทธิ์ คือ สารกลุ่ม Lactone คือ
1. สารแอดโดรกราโฟไลด์ (andrographolide)
2. สารนีโอแอนโดรกราโฟไลด์ (neo-andrographolide)
3. 14-ดีอ๊อกซี่แอนโดรกราโฟไลด์ (14-deoxy-andrographolide)

วิธีและปริมาณที่ใช้

  1.  ถ้าใช้แก้ไข้เป็นหวัด ปวดหัวตัวร้อน
    ใช้ใบและกิ่ง 1 กำมือ (แห้งหนัก 3 กรัม สดหนัก 25 กรัม) ต้มน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ
  2. ถ้าใช้แก้ท้องเสีย ท้องเดิน เป็นบิดมีไข้
    ใช้ทั้งต้นหรือส่วนทั้ง 5 ของฟ้าทะลายโจร ผึ่งลมให้แห้ง หั่นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 กำมือ (หนักประมาณ 3-9 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มตลอดวัน
  3. บรรเทาอาการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดูต่อที่เว็บบอร์ด

ข้อควรรู้เกี่ยวกับตำรับยา
สารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) สารในต้นฟ้าทะลายโจร ละลายในแอลกอฮอร์ได้ดีมาก ละลายในน้ำได้น้อย ดังนั้นยาทิงเจอร์ หรือยาดองเหล้าฟ้าทะลายโจร จึงมีฤทธิ์แรงที่สุด ยาชงมีฤทธิ์แรงรองลงมา ยาเม็ดมีฤทธิ์อ่อนที่สุด

ข้อควรระวัง
บางคนรับประทาน ยาฟ้าทะลายโจร จะเกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ปวดเอว เวียนหัว แสดงว่าแพ้ยา ให้หยุดยา และเปลี่ยนไปใช้ยาอื่น หรือลดขนาดรับประทานลง

คุณค่าทางโภชนาการของฟ้าทะลายโจร

การแปรรูปของฟ้าทะลายโจร

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9995&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment