มะกล่ำตาหนู กล่ำตาไก่
ชื่ออื่นๆ : กล่ำเครือ, กล่ำตาไก่, มะกล่ำเครือ, มะกล่ำแดง, มะแค๊ก (เชียงใหม่) เกมกรอม (สุรินทร์) ชะเอมเทศ, ตากล่ำ (กลาง) มะขามเถา, ไม้ไฟ (ตรัง) หมากกล่ำตาแดง (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
ต้นกำเนิด : ขึ้นกระจัดกระจายในป่าเบญจพรรณและป่าดิบทั่วไป
ชื่อสามัญ : มะกล่ำตาหนู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Abrus precatorius L.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE
ลักษณะของมะกล่ำตาหนู กล่ำตาไก่
ต้น ไม้เลื้อย เถากลมยาวและเหนียว แยกสาขามาก
ใบ ใบประกอบแบบขนนกยาว 6-10 เซนติเมตร เรียงสลับกัน มีใบย่อย 10-12 คู่ แต่ละใบรูปขอบขนาน ขนาด 7-15 x 4-5 มิลลิเมตร ปลายมน ที่ปลายสุดมีติ่งเป็นเส้นเล็ก โคนใบมนช่อดอกออกตามซอกใบ ทั้งช่อยาว 8-10 เซนติเมตร
ดอก ออกเป็นช่อขนาดเล็กคล้ายหางกระรอก เวลาบานสีขาวอมเหลืองอ่อน
ผล ดอกแบบดอกถั่ว มีจำนวนมากและค่อนข้างแน่น สีชมพูอมม่วงอ่อน ฝักรูปทรงกระบอก ขนาด 3-4 x 1เซนติเมตร มีจำนวนมากต่อช่อ เมื่อแตกใหม่ ๆ
เมล็ด เมล็ดมักจะยังติดอยู่กับฝักเมล็ดรูปเกือบกลม ขนาด 3-4 มิลลิเมตร สีแดงสดมีแต้มจุดสีดำที่ขั้ว เนื้อในเมล็ดมีพิษรุนแรง ถ้ากินเข้าไปอาจทำให้ตายได้
การขยายพันธุ์ของมะกล่ำตาหนู กล่ำตาไก่
การใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่มะกล่ำตาหนู กล่ำตาไก่
ประโยชน์ของมะกล่ำตาหนู กล่ำตาไก่
ยอดนำมารวก หรือนึ่งใสปลา หรือนึ่งใส่กบอร่อย
สรรพคุณทางยาของมะกล่ำตาหนู กล่ำตาไก่
- ราก ขับเสมหะ แก้เสียงแห้ง ชงดื่มแก้ไอและหวัด พบว่าใบมีสารหวานชื่อ abrusosides ซึ่งมีความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 30 – 100 เท่า และไม่มีพิษ เมล็ดมีสารพิษชื่อ abrin ถ้ากลืนทั้งเมล็ดไม่มีพิษ เพราะเปลือกแข็งไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหาร แต่ถ้าขบเมล็ดให้แตกและกินเพียง 1 – 2 เมล็ด มีพิษถึงตายได้ เมล็ดอ่อนเปลือกบางมีอันตรายมากกว่า อาหารพิษ จะเกิดขึ้นหลังจากกิน 3 ชั่วโมงถึง 2 วัน มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ทางเดินอาหารอักเสบ ตับไตถูกทำลาย ควรรีบปฐมพยาบาลโดยทำให้อาเจียนและรีบนำส่งโรงพยาบาล
ส่วนที่เป็นพิษ : เมล็ด
ความเป็นพิษ
Abrin เป็นสารจากพืชที่มีพิษรุนแรง สามารถสกัดแยกสารพิษนี้ได้จากเมล็ด Abrus precatorius มีสูตรโครงสร้างและคุณสมบัติคล้าย Ricin แต่ Abrin มีความรุนแรงในการเกิดพิษมากกว่า 75 เท่า ปริมาณ Abrin ที่ทำให้มนุษย์เสียชีวิตได้คือ 0.1-1 mg/kg ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์ที่สามารถนำไปทำเป็นสารเคมีเพื่อใช้ในสงคราม Abrin ประกอบด้วยโปรตีน 2 peptide chains คือ Abrin A และ Abrin B ต่อกันด้วยพันธะ disulfide ตรงตำแหน่ง Cys247 ของ A-chain กับ ตำแหน่ง Cys8 ของ B-chain
การทำงานในส่วนของ A-chain เป็นโมเลกุลขนาด 251 residues ทำหน้าที่ยังยั้งขบวนการสังเคราะห์โปรตีนของ 60s Ribosome โดยการดึง Adenine ซึ่งเป็น DNA base ในตำแหน่งที่ 4 และตำแหน่งที่ 324 ของ 28s rRNA ออก ทำให้ไรโบโซมไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนได้ ส่วน B-chain เป็น galactose specific lectin ที่ประกอบด้วย 268 และ 256 กรดอะมิโน ทำหน้าที่จับกับผิวของผนังเซลล์เพื่อช่วยในการรับและส่งผ่าน A-chain ให้สามารถผ่านผนังเซลล์ได้ โดย Abrin 1 โมเลกุลสามารถยังยั้งการสังเคราะห์โปรตีนได้ 1,500 ไรโบโซมต่อวินาที
ค่ามาตรฐาน
NIOSH (National Institute of Occupation Safety and Health) กำหนดค่า OELs (Occupational exposure limits) ของ Abrin ที่ เพดาน: 0.00006 mg/m3
อาการการเกิดพิษ
อาการและอาการแสดงของผู้ที่ได้รับพิษ Abrin ขึ้นอยู่กับลักษณะการสัมผัส (การหายใจ การรับประทาน หรือการสัมผัสทางผิวหนัง) และปริมาณที่ได้รับสัมผัส กรณีได้รับ Abrin โดยการรับประทาน สารพิษอาจมีผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย หลายระบบได้แก่
- ระบบทางเดินอาหาร จะแสดงอาการภายใน 6 ชั่วโมงหลังจากรับประทาน แต่ก็มีบางรายแสดงอาการภายใน 1-3 วัน โดยจะมีอาการ ได้แก่ อาเจียร ท้องเสีย ปวดท้อง มีเลือดออกในทางเดินอาหาร ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาเจียรเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระมีมูกเลือด และช็อกจากเสียเลือด (hypovolaemic shock)
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด ความดันเลือดต่ำ หัวใจเต้นเร็วและผิดปกติ ในรายที่ได้รับสารพิษปริมาณมากหัวใจล้มเหลว ถึงขั้นเสียชีวิตได้
- ระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้มีอาการครึ่งหลับครึ่งตื่น เลื่อนลอย เพ้อ จนกระทั่งอาจไม่รู้สึกตัว
- ระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีเลือดออกมาพร้อมปัสสาวะ แต่ปริมาณปัสสาวะน้อยเนื่องจากเซลล์ไตถูกทำลาย
- ระบบกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง มือสั่น กล้ามเนื้อหดเกร็ง ผิวหนังแดง
กรณีได้รับ Abrin โดยการหายใจ ผู้ได้รับสารพิษจะแสดงอาการภายใน 8 ชั่วโมง หลังจากได้รับสารพิษโดยระยะแรกจะมีอาการหายใจลำบาก มีไข้ ไอ มีอาการคลื่นเหียน และแน่นหน้าอก อาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ซึ่งจะทำให้หายใจลำบากอย่างมาก ผิวหนังเปลี่ยนเป็นคล้ำ ในรายที่ได้รับสารพิษปริมาณมากจะทำให้ความดันเลือดต่ำ แต่หัวใจเต้นเร็วและผิดปกติ และหัวใจล้มเหลว ถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากสารพิษถูกผิวหนังอาจทำให้เกิดผื่นคัน ผิวหนังอักเสบแดง หากถูกตาจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ตา และอาจถึงกับตาบอดได้
การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ
ผู้ได้รับสารพิษสามารถตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการได้ด้วยวิธี Enzyme-linked Immunosorbent Assay จากเลือดและของเหลวในร่างกาย และตรวจยืนยันโดยวิธี Immono-histochemical techniques
การรักษาผู้ได้รับพิษ
ปัจจุบันยังไม่มี antidote สำหรับ Abrin และยังไม่มีวิธีการรักษาที่เฉพาะเพื่อการช่วยเหลือผู้ได้รับพิษ ทั้งนี้การช่วยเหลือขึ้นอยู่กับการได้รับพิษของคนไข้
- กรณีผู้ที่ได้รับสัมผัสทางผิวหนัง ควรรีบลดความเข้มข้นในการปนเปื้อนโดยการล้างผิวหนังที่สัมผัสด้วยน้ำและน้ำสบู่ปริมาณมากๆ
- ถ้าผู้ป่วยได้รับพิษโดยการหายใจ การช่วยเหลือคือ การรักษาตามอาการของลักษณะผู้ป่วยที่มีอาการปอดบวมน้ำ และต้องรับการช่วยการหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ
- ถ้าผู้ป่วยได้รับพิษทางการกิน ต้องลดปริมาณสารพิษในกระเพาะอาหารโดยใช้ activated charcoal เพื่อดูดซับสารพิษ (ล้างกระเพาะ) แล้วตามด้วยการให้ยาถ่ายจำพวก magnesium citrate และให้สารอาหารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อรักษาสมดุลย์ของเหลวในร่างกายแล้วรักษาตามอาการ ระยะเวลาที่ผู้ป่วยมักเสียชีวิตหลังจากได้รับพิษอยู่ในช่วง 36-72 ชั่วโมง ถ้าผู้ป่วยไม่เสียชีวิตในช่วงเวลาดังกล่าวแสดงว่าสามารถรอดชีวิตได้
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการสัมผัส Abrin แต่ถ้าจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกันร่างกาย ได้แก่ หน้ากากกันสารพิษแบบเต็มหน้า ถุงมือ แว่นตา ชุดคลุมเพื่อป้องกันสารพิษ และอุปกรณ์ช่วยหายใจ(Self-Contained Breathing Apparatus)
ดูแลสุขลักษณะล้างมือก่อนรับประทานอาหารและดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอ
วิธีการรักษา
- พยายามทำให้อาเจียน
- รับประทานยาเคลือบกระเพาะอาหารและลำไส้
- รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพื่อล้างท้อง
- ให้รับประทานยาถ่ายประเภทเกลือ เช่น ดีเกลือ เพื่อลดการดูดซึมสารพิษ และให้น้ำเกลือเพื่อทดแทนน้ำ
- ลดการอุดตันต่อทางเดินในไตเนื่องจากเม็ดเลือดแดงที่เกาะรวมตัวกัน โดย ให้รับประทานโซเดียมไบคาร์บอเนต เช่น โซดามินท์วันละ 5-15 กรัม (17-50 เม็ด) เพื่อทำให้ปัสสาวะมีสภาพเป็นด่าง
- ระหว่างนี้ต้องให้อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น น้ำหวาน งดอาหาร ไขมัน เพื่อลดอาการตับอักเสบ
หมายเหตุ ต้องระวังอาการไตวาย และหมดสติด้วย
คุณค่าทางโภชนาการของมะกล่ำตาหนู กล่ำตาไก่
การแปรรูปของมะกล่ำตาหนู กล่ำตาไก่
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12121&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
https://medplant.mahidol.ac.th
https://www.flickr.com