มันเทศ หรือ มันสำปะหลัง
ชื่ออื่นๆ : มันสำโรง มันไม้ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า มันต้นเตี้ย ภาคใต้เรียกมันเทศ (แต่เรียกมันเทศว่า “มันหลา”) คำว่า “สำปะหลัง” ที่นิยมเรียกอาจมาจากคำว่า “ซำเปอ (Sampou)” ของชวาตะวันตก
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Cassava, Yuca, Mandioa, Manioc, Tapioca
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Manihot esculenta (L.) Crantz)
ชื่อวงศ์ : Family) Euphorbiaceae
ลักษณะของมันเทศ หรือ มันสำปะหลัง
ชาวไทยเดิมเรียกกันว่า มันสำโรง มันไม้ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า มันต้นเตี้ย ภาคใต้เรียกมันเทศ (แต่เรียกมันเทศว่า “มันหลา”) คำว่า “สำปะหลัง” ไม่มีรสขมและสามารถใช้ทำอาหารได้โดยตรง
ลำต้นมีลักษณะคล้ายข้อ เพราะจากก้านใบซึ่งแก่ร่วงหล่นไป สีของลำต้นบริเวณใกล้ยอดจะมีสีเขียว ส่วนที่ต่ำลงมาจะมีสีแตกต่างกันไปตามลักษณะพันธุ์ เช่น สีเงิน สีเหลือง สีน้ำตาล ใบมีก้านใบยาวติดกับลำต้น แผ่นใบเว้าเป็นแฉกมี ๓-๙ แฉก มันสำปะหลังมีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในช่อดอกเดียวกัน แต่อยู่แยกคนละดอก ดอกตัวผู้มีขนาดเล็กอยู่บริเวณส่วนปลายของช่อดอก ส่วนดอก ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าอยู่บริเวณส่วนโคนของช่อดอก ดอกตัวเมียจะบานก่อนดอกตัวผู้ประมาณ ๑ อาทิตย์ การผสมเกสรจึงเป็นการผสมข้ามระหว่างต้น หลังจากปลูกแล้วประมาณ ๒ เดือนรากจะเริ่มสะสมแป้งและมีขนาดใหญ่ขึ้นตามอายุ เรียกว่าหัว จำนวนหัว รูปร่าง ขนาด และน้ำหนัก แตกต่างกันไปตามพันธุ์ พันธุ์พื้นเมืองที่ใช้ปลูกในประเทศไทย เมื่ออายุประมาณ ๑ ปี ยาวประมาณ ๒๗.๗-๔๓.๓ เซนติเมตร และกว้างประมาณ ๔.๖-๗.๘ เซนติเมตร ใต้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ดี และมันสำปะหลังมีอายุมากกว่า ๑ ปี บางพันธุ์อาจให้หัวหนักหลายสิบกิโลกรัม ส่วนต่างๆ ของมันสำปะหลังมีกรดไฮโดรไซยานิก (HCN) ซึ่งเป็นสารที่เป็นพิษต่อมนุษย์และ สัตว์ประกอบอยู่ด้วย ใบและเปลือกมีสารนี้มากกว่าเนื้อสด และพันธุ์ต่างๆ ก็มีปริมาณสารนี้แตกต่างกันออกไป

การขยายพันธุ์ของมันเทศ หรือ มันสำปะหลัง
ใช้กิ่ง/ลำต้น/ขยายพันธ์โดยกิ่ง หรือ ลำต้น
ธาตุอาหารหลักที่มันเทศ หรือ มันสำปะหลังต้องการ
ประโยชน์ของมันเทศ หรือ มันสำปะหลัง
- ประกอบอาหารคาวหวาน โดยนำส่วนของรากสะสมอาหารที่มีการสะสมของคาร์โบไฮเดรตไปใช้ประกอบอาหาร
- แปรรูปเป็นสารปรุงแต่งรสอาหาร
- อาหารสัตว์
- อุตสาหกรรมกาว
- พลังงานเอทานอล

สรรพคุณทางยาของมันเทศ หรือ มันสำปะหลัง
–
คุณค่าทางโภชนาการของมันเทศ หรือ มันสำปะหลัง
การแปรรูปของมันเทศ หรือ มันสำปะหลัง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11032&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com