ม้ากระทืบโรง สรรพคุณทางยา ใช้บำรุงกำลัง

ม้ากระทืบโรง

ชื่ออื่นๆ : ม้าคอกแตก คอกม้าแตก มันฤาษี กาโร (ระนอง), พญานอนหลับ (นครสวรรค์), มาดพรายโรง (โคราช), เดื่อเครือ (เชียงใหม่), บ่าบ่วย (คนเมือง), ม้าทะลายโรง (ภาคอีสาน)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ม้ากระทืบโรง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus sarmentosa Buch.-Ham. ex Sm

ชื่อวงศ์ : MORACEAE

ลักษณะของม้ากระทืบโรง

เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เลื้อยเกาะไปตามพรรณไม้อื่นมีน้ำยางขาว สูงถึง 25 เมตร กิ่งอ่อน ก้านใบผิวใบด้านล่าง และฐานรองดอกอ่อนมีขน ใบเดี่ยว เรื่องสลับ รูปใบหอก รูปไข่หรือรูปของขนานแกมวงรี กว้าง 7-9 ซม. ยาว 12-18 ซม. เปลือกสีน้ำตาล มีปุ่มขึ้นคล้ายหนาม ดอกช่อ ลักษณะทรงกลมคล้ายผลออกเดี่ยวๆ ที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่ในช่อเดี่ยวกัน ฐานรองดอกรูปทรงกลม ผลสด รูปทรงกลม ภายในสีแดง

ต้นม้ากระทืบโรง
ต้นม้ากระทืบโรง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับก้านใบและผิวใบด้านล่างจะมีขน

การขยายพันธุ์ของม้ากระทืบโรง

ใช้กิ่ง/ลำต้น/ขยายพันธุ์ ด้วยการตัดเถาม้ากระทืบโรงยาวประมาณ 1 คืบ นำมาปักชำได้

ธาตุอาหารหลักที่ม้ากระทืบโรงต้องการ

ประโยชน์ของม้ากระทืบโรง

เถามีรสเย็นขื่น ใช้ดองกับสุรา หรือใช้ต้มดื่มช่วยบำรุงกำลัง หรือจะใช้เถาม้ากระทืบโรงที่ตากแห้งแล้วนำมาเข้าเครื่องยา ต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกายก็ได้เช่นกัน

สรรพคุณทางยาของม้ากระทืบโรง

สรรพคุณตามตำรายาไทย ใช้ เถา บำรุงกำลัง ต้น บำรุงร่างกาย บำรุงความกำหนัด ช่วยขับน้ำย่อย เนื้อไม้ แก้ปวดหลัง แก้ปวดหัว ทั้งต้น บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง

คุณค่าทางโภชนาการของม้ากระทืบโรง

การแปรรูปของม้ากระทืบโรง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10688&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment