ระงับพิษ
ชื่ออื่นๆ : ดับพิษ (เชียงใหม่) จ้าสีเสียด (ลำพูน) ปริก (ประจวบคีรีขันธ์) ระงับ, คอนหมา (สุรินทร์) ผักหวานด่าง (แม่ฮ่องสอน)
ต้นกำเนิด : พบขึ้นตามที่ลุ่มในป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ และที่รกร้างทั่วไป
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Breynia glauca Craib.
ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae
ลักษณะของระงับพิษ
ต้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 3-5 เมตร ไม่มีขน กิ่งอ่อนแบนเล็กน้อย ต่อมาจะกลม ผิวเรียบ เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาล ลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดสี่เหลี่ยมแต่ไม่หลุดออกมา กิ่งอ่อน ยอดอ่อน มีสีแดง แตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่ม
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมใบหอก กว้าง 1.5-3 เซนติเมตร ยาว 2.5-7 เซนติเมตร เนื้อใบเหนียว หนาและแข็ง โคนใบมน ปลายใบแหลม หรือมน ขอบใบเรียบ ปลายสุดเป็นติ่งแข็งเล็กๆ เส้นใบแตกออกจากเส้นกลางใบ ข้างละ 3-4 เส้น หลังใบและท้องใบเรียบ หลังใบสีเขียวแกมน้ำตาล ท้องใบมีนวลสีขาว จับดูรู้สึกเหนียวมือ แผ่นใบห่อตัวเล็กน้อย หูใบกว้าง 0.8-1.2 ยาว 1.6-2.5 มิลลิเมตร ก้านใบสั้น ยาว 2-4 มิลลิเมตร
ดอก ดอกช่อกระจุก ออกที่ซอกใบ ดอกย่อย 2-3 ดอก แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้ออกเป็นกระจุกเล็กๆ สีเหลืองแกมสีเขียวอ่อน ดอกย่อยเป็นรูประฆังคว่ำ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2.6-3 มิลลิเมตร ก้านดอกยาว 3 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงบางเชื่อมติดกัน สีเขียวถึงสีส้ม วงกลีบเลี้ยงขนาดกว้าง 2.2-2.5 ยาว 2.6-3 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้มี 3 อัน ก้านเกสรเชื่อมติดกัน ยาว 1.8-2.3 มิลลิเมตร อับเรณูยาว 1.2-1.5 มิลลิเมตร ดอกตัวเมียออกบริเวณง่ามใบ 1-4 ดอก ดอกกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.2-8 มิลลิเมตร ก้านดอกยาว 1.2-2.5 มิลลิเมตร ไม่มีกลีบดอก วงกลีบเลี้ยงยาว 2-3 มิลลิเมตร เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก ขยายออกและติดคงทน แต่ละแฉกกว้าง 1-3.2 มิลลิเมตร ซ้อนทับกัน กลีบเลี้ยงสีเขียวถึงสีเหลือง ยอดเกสรเพศเมีย ยาว 1.1-1.3 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็น 2 แฉก รังไข่รูปกระสวย เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.6-2 ถึง 0.9-1 มิลลิเมตร
ผล ผลออกเดี่ยว หรือเป็นกลุ่ม เมื่อแก่แตก รูปกลมแป้น ตั้งขึ้น ไม่ห้อยลง กว้างราว 8 มิลลิเมตร ยาวราว 5 มิลลิเมตร ก้านผลยาว 2.5-6 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยง มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 6.5-8 มิลลิเมตร แต่ละแฉกเป็นอิสระยาว 1-1.5 มิลลิเมตร ปลายผลเป็นร่อง แยกเป็น 3 แฉก ตื้นๆ ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดง เมล็ดกลม สีแดง มี 6 เมล็ด ขนาด1.7-2 ถึง 3.7-4.2 มิลลิเมตร ออกดอกและติดผลราวเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน
การขยายพันธุ์ของระงับพิษ
การเพาะเมล็ด, การแยกหน่อ
ธาตุอาหารหลักที่ระงับพิษต้องการ
ประโยชน์ของระงับพิษ
- เป็นสมุนไพรแก้ไข้
สรรพคุณของระงับพิษ
- ลำต้น ต้มน้ำดื่ม รักษาโรคกระเพาะอาหาร
- ใบ มีรสเย็น ปรุงเป็นยาเขียว แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้พิษไข้หัว เซื่องซึม ไข้กลับ ไข้จับสั่น กระทุ้งพิษ
- ราก มีรสเย็น เป็นยากระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้จับสั่น ไข้กลับ ไข้ซ้ำ ไข้เซื่องซึม กระทุ้งพิษ แก้ไข้พิษทุกชนิด แก้ร้อนในกระหายน้ำ
- ราก ใบ รวมกับลำต้นบอระเพ็ด ทั้งต้นผักคราด ต้มน้ำดื่มแก้ไข้จับสั่น
องค์ประกอบทางเคมี
ใบพบ friedelin, friedelan-3β-ol, kaempferol, kaempferol-3-O-rutinoside, quercetion-3-O-glucoside, arbutin, 3-oxo-sitosterone, β-sitosterol
คุณค่าทางโภชนาการของระงับพิษ
การแปรรูประงับพิษ
ลำต้นนำมาตากแห้งทำเป็นสมุนไพร
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ลำต้นนำมาต้มน้ำดื่มรักษาโรคกระเพาะอาหารได้