ลำพูป่า นิยมใช้ปลูกเป็นไม้บุกเบิก

ลำพูป่า

ชื่ออื่นๆ : กาลา, คอเหนียง (เชียงใหม่) สะบันงาช้าง (แพร่) กระดังงาป่า (กาญจนบุรี) ตะกูกา (จันทบุรี) ลิ้นควาย (ปราจีนบุรี) หงอกไก่ (ประจวบคีรีขันธ์) ขาเขียด (ชุมพร) ลำพูขี้แมว (ระนอง), ลำแพน (ตรัง) ลำแพนเขา (ยะลา) ลำพูควน (ปัตตานี) เต๋น, ตุ้มเต๋น, ตุ้มบก, ตุ้มลาง, ตุ้มอ้า, ลาง, ลูกลาง, ลูกลางอ้า (ภาคเหนือ) ตะกาย, โปรง, ลำพูป่า (ภาคใต้) บ่อแมะ (มลายู-ยะลา) บะกูแม (มลายู-นราธิวาส) กู, โก๊ะ, ซังกะ, เส่ทีดึ๊ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ซิกุ๊ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) โก (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร) ซ่อกวาเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง) กาปลอง (ชอง-จันทบุรี) เตื้อเร่อะ (ขมุ) ไม้เต๋น (ไทลื้อ) ลำคุบ, ไม้เต้น (ลั้วะ) ซือลาง (ม้ง) เป็นต้น

ต้นกำเนิด : พบขึ้นตามป่าริมน้ำ ริมลำธาร หรือลำห้วยทั่วไปทางภาคเหนือและภาคใต้ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขาต่ำ ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 300-1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ชื่อสามัญ : cork tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Duabanga grandiflora  (Roxbex DC.) Walp.

ชื่อวงศ์ : SONNERATIACEAE

ลักษณะของลำพูป่า

ต้น  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่ สูง 8-20 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเป็นเปลาตรง กิ่งห้อยย้อยลง ต้นที่อายุน้อยเปลือกเรียบ แต่อายุมากขึ้นเปลือจะหยาบแตกเป้นร่องลึกเป็นสะเก็ด รากหายใจยาว 70 ชม. หรือยาวกว่า

ต้นลำพูป่า
ต้นลำพูป่า ลำต้นเป็นเปลาตรง

ใบ  ใบเป็นใบเดียว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรี รูปขอบขนาดแกมรูปรี ขนาด 2-5 ชม. ปลายใบแหลมทู่

ใบลำพูป่า
ใบลำพูป่า ใบรูปรี รูปขอบขนาดแกมรูปรี

ดอก ดอกเป็นดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีเขียวหุ้มไว้ มี 5-6 กลีบ และติดทนจนเป็นผล เกสรตัวผู้มีเป็นจำนวนมาก สีขาว เกสรตัวเมียมีอันเดียว ปลายยอดของเกสรตัวเมียจะติดทนจนเป็นผลเช่นกัน

ดอกลำพูป่า
ดอกลำพูป่า ดอกสีขาว เกสรตัวผู้มีเป็นจำนวนมาก

ผล  ผลเดี่ยว สีเขียว เรียบ เป็นมัน มีพูเล็กน้อย ผลมีเนื้อและเมล็ดขนาดเล็กหลายเมล็ดฝังในเนื้อผล ผลรูปกลม

ผลลำพูป่า
ผลลำพูป่า ผลกลม เดี่ยว สีเขียว เรียบ เป็นมัน

การขยายพันธุ์ของลำพูป่า

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ลำพูป่าต้องการ

ประโยชน์ของลำพูป่า

  • เนื้อไม้ใช้สร้างบ้าน ทำฝา พื้นบ้าน ทำเรือ ไม้พายเรือ ทำลังใส่ของ หีบศพ ทำไส้ไม้อัด กล่องไม้ขีด ก้านร่ม ทำแบบหล่อคอนกรีต ใช้เป็นส่วนประกอบของร่มกระดาษ
  •  ไม้ลำพู ต้น ราก ใช้ทำจุกขวด ภาชนะปิดฝาโอ่ง ไห ที่มีคุณค่ามากมาก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นวัสดุอื่นแทน จึงทำให้ต้นลำพูหมดค่าขาดการดูแลขยายพันธุ์ ต้นลำพูยังป้องกันพื้นตลิ่ง กันน้ำเซาะได้ดี และดูดซึมน้ำเสียเป็นน้ำดีด้วย
  • นิยมใช้ปลูกเป็นไม้บุกเบิก เหมาะสำหรับใช้ปลูกเพื่อการฟื้นฟูต้นน้ำลำธาร
  • ยอดอ่อนและผลใช้รับประทานเป็นผัก

สรรพคุณทางยาของลำพูป่า

  • ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ โรคกระเพาะอาหาร

คุณค่าทางโภชนาการของลำพูป่า

การแปรรูปของลำพูป่า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9488&SystemType=BEDO
www.th.wikipedia.org, www.flickr.com

Add a Comment