วงศ์ตีนเป็ดและวงศ์ใกล้เคียง APOCYNACEAE

ลักษณะประจำวงศ์

วงศ์ตีนเป็ด APOCYNACEAE ลักษณะวงศ์เป็น ไม้ต้น ไม้พุ่ม หรือไม้เลื้อย มียางสีขาว ใบเดี่ยวติดตรงข้ามหรือติดเป็นวงรอบ ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบหรือตามปลายยอด  ดอกสมบูรณ์เพศสมมาตรตามรัศมี กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปแจกัน รูปทรงกระบอก รูปกรวย รูปคนโท หรือรูปวงล้อ ปลายกลีบซ้อนกัน เกสรเพศผู้มี 5 อันติดบนท่อกลีบดอก รังไข่ติดเหนือวงกลีบ มีเกสรเพศเมีย 2 อัน เชื่อมติดกัน ยอดเกสรเพศเมียมีอันเดียว รังไข่ภายในมี  2 ช่องหรือช่องเดียว ผลนุ่ม เมล็ดเดี่ยวแข็งหรือหลายเมล็ด หรือผลเป็นฝักคู่ เมื่อแก่แตก หรือผลแตกตามแนวเดียว เมล็ดมีขนเป็นกระจุกที่ปลาย

ตีนเป็ด
ตีนเป็ดหรือพญาสัตบรรณ ลำต้นมีสะเก็ดเล็กๆ สีขาวปนน้ำตาล

ลักษณะเด่นของวงศ์

พืชAPOCYNACEAE มียางสีขาว ใบเดี่ยวติดตรงข้ามหรือติดเป็นวงรอบข้อ  ขอบเรียบ เส้นแขนงใบเป็นร่างแห กลีบดอกเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้มี 5 อัน ติดบนท่อกลีบดอก มีเกสรเพศเมีย 2 อันเชื่อมติดกัน รังไข่ติดเหนือวงกลีบ รังไข่มี 2 ช่อง ผลเป็นฝักคู่ หรือเดี่ยว แตกตามแนวเดียว เมล็ดมีขนเป็นกระจุกที่ปลาย

วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง

  • Asclepiadaceae – กลีบดอกแยกกันเป็นรูปวงล้อ ก้านเกสรเพศผู้สั้น หรือไม่มีเลย รังไข่ติดเหนือวงกลีบ หรือติดค่อนข้างใต้วงกลีบ ผลมักมีปุยขนที่ปลายด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว
  • Rubiaceae – มีหูใบร่วมระหว่างโคนก้านใบ รังไข่ติดใต้วงกลีบ บางครั้งพบติดอยู่เหนือวงกลีบ
  • Loganiaceae – ไม่มีหู บางพบว่ามีรังไข่ติดอยู่เหนือวงกลีบ หรือบางครั้งพบติดอยู่เกือบใต้วงกลีบ
ตีนเป็ดทราย
ตีนเป็ดทราย เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน

การกระจายพันธุ์

สกุลตีนเป็ด พบในเขตร้อน ในประเทศไทยมีอยู่หลายสกุล เช่น

  • สกุล Alstonia ผลเป็นฝักคู่ ขึ้นในป่าดิบที่ต่ำ ได้แก่ ตีนเป็ดหรือพญาสัตบรรณ Alstoniascholaris (L.) R. Br.
  • สกุล Cerbera  ไม้ต้นขึ้นตามป่าชายเลนและป่าชายหาด ได้แก่ ตีนเป็ดทราย Cerbera manghas L. ผลมีเนื้อเมล็ดแข็ง
  • สกุล Dyera  ไม้ต้นขึ้นตามป่าชายหาด ได้แต่ ตีนเป็ดแดง Dyera costulata (Miq.) Hook.f. ผลเป็นฝักคู่เมล็ดแบนมีปีก
  • สกุล Willughbeia ไม้เลื้อย ผลนุ่ม กลม สีเหลืองหรือสีส้ม ได้แก่ คุย Willughbeia edulis Roxb.
ผลคุย
ผลคุย ผลเดี่ยว ทรงกลมหรือรูปไข่ มีขนเล็กน้อย

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment