วิธีการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ

การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ

พืชผักเป็นพืชอาหารที่คนไทยนิยมนำมาใช้รับประทานกันมากเนื่องจากมีคุณค่าทางอาการทั้งวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูง แต่ค่านิยมในการบริโภคผักนั้นมักจะเลือกบริโภคผักที่สวยงามไม่มีร่องรอยการทำลายของหนอนแลแมลงศัตรูพืช จึงทำให้เกษตรกรที่ปลูกผักจะต้องใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงฉีดพ่นในปริมาณที่มาก เพื่อให้ได้ผักที่สวยงามตามความต้องการของตลาด เมื่อผู้ซื้อนำมาบริโภคแล้วอาจได้รับอันตรายจากสารพิษที่ตกค้างอยู่ในผักนั้นได้

เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว เกษตรกรจึงควรหันมา ทำการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ โดยนำเอาวิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชหลายวิธีมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เป็นการทดแทนหรือลดปริมาณการใช้สารเคมีให้น้อยลง เพื่อลดความปลอดภัยของเกษตรกร ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

แปลงผักกาดขาวปลี
แปลงผักกาดขาวปลี ควรเลือกเก็บขณะที่ปลีห่อแน่นเต็มที่

ความหมายของผักปลอดภัยจากสารพิษ

ผักปลอดภัยจากสารพิษ หมายถึง ผลผผลิตพืชผักที่ไม่มีสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่ หรือมีตากค้างอยู่ไม่เกินระดับมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 163 พ.ศ. 2538 ลงวันที่ 28 เมษายน 2538 เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง

ข้อดีของการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ

  1. ทำให้ได้พืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
  2. ช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกผักมีสุขภาพอนามัยดีขี้น เนื่่องจากไม่มีการฉีดพ่อนสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกษตรกรปลอดภัยจากสารพิษเหล่านี้ด้วย
  3. ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
  4. ลดปริมาณการนําเข้าสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
  5. เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เนือจากผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ ทำให้สามารถขายผลผลิตได้ในราคาสูงขึ้น 
  6. ลดปริมาณสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่จะปนเปื้อนเข้าไปในอากาศและน้ำ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและลดมลพิษของสิ่งแวดล้อมได้ทางหนึ่ง

วิธีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ

ในการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษนั้น จะใช้หลักการปลูกพืชผักโดยการใช้สารเคมีในการผลิต ให้น้อยที่สุด หรือใช้ตามความจําเป็นและจะใช้หลัก “การป้องกันและกําจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน หรือไอพีเอ็ม” แทนแต่การที่จะป้องกันและกําจัดศัตรูพืชให้ได้ผลนั้นจะต้องเลือกวิธีที่ประหยัดเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ปลูกจะต้องเข้าใจเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  1. สาเหตุการระบาดของศัตรูพืช
    1.1 ศัตรูพืชเคลื่อนย้ายจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง ที่มีความเหมาะสมมากกว่า ทําให้มี การขยายพันธุ์และระบาดทําความเสียหายเพิ่มขึ้น
    1.2 สภาพแวดล้อมและสภาพทางนิเวศน์เปลี่ยนแปลงไปทําให้ศัตรูพืชมีการขยายพันธุ์ได้ดีขึ้น เพิ่มจํานวนมากขึ้น หรือมีผลต่อการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความต้านทาน และมีประสิทธิภาพในการเข้า ทําลายมากขึ้น เช่น การกําจัดงู ทําให้หนูระบาด การใช้สารเคมี ทําให้แมลงที่กินแมลงศัตรูพืชตาย เป็นต้น
    1.3 สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทําให้ความต้องการ ผลิตในการบริโภคเปลี่ยนไป ทําให้ความต้องการผลผลิตในการบริโภคเปลี่ยนไป ทําให้ความต้องการผล ผลิตที่แตกต่างกันไปตามความต้องการของบริโภค ทําให้บางครั้งร่องรอยการทําลายของศัตรูพืชเพียงจุด เดียว ก็ถือว่าผลผลิตตกเกรดไม่ได้มาตรฐาน มีการระบาดของศัตรูพืชได้
  2. การควบคุมศัตรูพืช ให้ประสบผลสําเร็จ มีหลักการง่ายๆ
    2.1 ต้องป้องกันไม่ให้เกิดโรคในแปลงปลูก เช่น การใช้พันธุ์ที่ปราศจากโรคและแมลง การไม่นําชิ้นส่วนของพืชที่มีโรคแมลงเข้ามาในแปลงปลูก เป็นต้น
    2.2 ถ้ามีศัตรูพืชเข้ามาในแปลงปลูกหรือแสดงอาการเป็นโรคแล้ว ต้องยับยัง้ การแพร่ระบาด
    2.3 และถ้ามีการระบาดแล้วต้องกําจัดให้หมดไป
    อย่างไรก็ตามสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการระบาดของศัตรูพืช ในแปลงปลูก คือ ตัวเกษตรกรเอง ที่ละเลยการควบคุมดูแลทําให้ศัตรูพืชสะสมในแปลงปลูก จนถึงระดับที่ไม่สามารถควบคุมกําจัดได้
  3. วิธีการควบคุมศัตรูพืชอย่างมีประสิทธิภาพ มีข้ันตอนดังนี้
    3.1 ต้องศึกษาชนิดของศัตรูพืช ในแปลงปลูกนั้นๆ ก่อน
    3.2 สํารวจสถานการณ์ศัตรูพืช ในแปลงปลูก
    3.3 พิจารณาแนวโน้มการระบาดของศัตรูพืช แล้วจึงหาแนวทางป้องกันและกำจัดต่อไป
    3.4 เมื่อควบคุมการระบาดให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้น แล้วให้เลือกใช้วิธี การที่เหมาะสมเพื่อลดปริมาณ หรือรักษาระดับการเข้าทําลายให้คงที่หรือลดลง
    3.5 ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ศัตรูพืชด้วยวิธการอื่นๆ ได้มีความจําเป็นที่จะต้อง ใชสารเคมีให้เลือกใช้สารเคมีที่ถูกต้องเหมาะสมกับชนิดศัตรูพืชและการระบาดตามคําแนะนําวิธีการใช้ในฉลาก
  4. ผลดีของการป้องกันและกําจัดศัตรูพืช โดยวิธี ผสมผสาน
    4.1 ลดปริมาณศัตรูพืชให้ต่ำกว่าระดับที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่พืช
    4.2 ลดปริมาณการใช้สารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืช
    4.3 มีความปลอดภัยต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้บริโภครวมไปถึงสภาพแวดล้อม
  5. วิธีการผสมผสานในการควบคุมศัตรูพืช จะเป็นการนําเอาวิธีการป้องกันและกําจัดศัตรู พืชหลายวิธีมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน โดยวิธีการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษนี้มีข้อแนะนําให้เกษตรกร เลือกใช้วิธีการป้องกันและกําจัดศัตรูพืช ทดแทนการใช้สารเคมี ดังนี้
    5.1 การเตรียมแปลงปลูก
    5.2 การเตรียมเมล็ดพันธุ์
    5.3 การปลูกและการดูแล
    5.4 การให้ธาตุอาหารเสริม
    5.5 การใช้กับกัดกาวเหนียว
    5.6 การใช้กับดักแสงไฟ
    5.7 การใช้พลาสติกหรือฟางข้าวคลุมแปลงปลูก
    5.8 การปลูกผักในโรงเรือนมุ้งตาข่ายไนล่อน
    5.9 การควบคุมโดยชีววิธี
    5.10 การใช้สารสกัดจากพืช
    5.11 การใช้สารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืช (กรณีที่ใช้วิธีการป้องกันและกําจัดศัตรูพืชข้างต้นไม้ได้ผล)

การเตรียมแปลงปลูก

เนื่องจากเมล็ดพืชผักส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก มีระบบรากละเอียดอ่อน ถ้าเกษตรกรเตรียมดินไม่ดี ก็อาจมีผลกระทบต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของพืชผักได้ ดังนั้น ก่อนการปลูกพืชควรมี การปรับสภาพดินให้เหมาะสมเสียก่อน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เคยมีการปลูกผักหรือพืชชนิดอื่นโดยการ ปล่อยนํ้าให้ท่วมแปลงแล้วสูบออก เพื่อให้นํ้าชะล้างสารเคมีและกําจัดแมลงต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในดิน แล้ว จึงทําการไถพลิกหน้าดินตากแดดไว้ เพื่อทําลายเชื้อโรคและแมลงศัตรูที่อาศัยอยู่ในดินอีกครั้งจากนั้น เกษตรกรควรจะปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้อยู่ในสภาพที่เป็นกลาง โดยใช้ปูนขาว ปูนมาร์ล หรือ แร่โดโลไมท์ อัตรา 200-300 กิโลกรัม/ไร่ แล้วรดนํ้าตามหลังจากการใส่ปนู ขาวเพื่อ ปรับสภาพดินที่เป็นกรดให้เป็นกลางนอกจากนี้ควรเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ในอัตรา 1,000-2,000 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งจะช่วยให้ต้นพืชผักมีความแข็งแรง สามารถต้านทานต่อการเข้าทําลายของโรคและแมลงได้

ปลูกต้นหอม
การปลูกต้นหอม

การเตรียมเมล็ดพันธุ์

ก่อนนำเมล็ดพันธุ์ผักไปปลูกในแปลงปลูกหรือแปลงกล้าเกษตรกรควรทำความสะอาดเมล็ด พันธุ์ก่อน ตามขั้นตอนดังนี้

  1. คัดแยกเมล็ดพันธุ์ โดยการคัดเมล็ดที่เสีย เมล็ดวัชพืชที่มีอยู่ปะปน และสิ่งเจือปนต่างๆ ออก
  2. แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 15-30 นาที จะช่วย ลดปริมาณเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์และยังกระตุ้น การงอกของเมล็ดอีกด้วย
  3. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคราน้ำค้าง และโรคใบจุดควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมี เช่น เมทาแล็กซิน 35 เปอร์เซ็นต์ SD (เอพรอน) และไอโปรไดโอน (รอฟรัล) อัตรา 10 กรัม / เมล็ด พันธุ์ 1 กิโลกรัม

การปลูกและการดูแล

การเลือกวิธีการปลูก ระยะปลูกเป็นเท่าใดนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของพืชผักที่เกษตรกรเลือกปลูก แต่มีข้อแนะนํา คือ เกษตรกรควรปลูกผักให้มีระยะห่างพอสมควร อย่าให้แน่นจนเกินไป เพื่อให้มีการ ระบายอากาศที่ดี เป็นการปรับสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาดของโรค นอกจากนี้ควรหมั่นตรวจแปลงอยู่เสมอ โดยอาจเลือกสํารวจเป็นจุดๆ ประมาณ 10-20 จุด/ไร่ ถ้าพบว่ามีการระบาดของ โรคและแมลงในระดับที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก้พืชผักนั้น ก็ควรดําเนินการกําจัดโรคและแมลงที่พบ ทันที

การให้ธาตุอาหารเสริมแก่พืช

จะมีความจําเป็นต่อพืชผักในบางชนิดเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อสร้างความต้านทานโรคให้แก่พืชนั้น เช่น พืชในตระกูลกะหลํ่าจะต้องการธาตุโบรอนเพื่อสร้างความต้านทานโรคไส้กลวงดำ มะเขือเทศจะต้องการ ธาตุแคลเซียมเพื่อสร้างความตานทานโรคผลเน่า เป็นต้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment