สวิสชาร์ด ก้านใบมีขนาดใหญ่ นิยมบริโภคส่วนของใบและก้านใบ

สวิสชาร์ด

ชื่ออื่นๆ : ชาร์ด(Chard) , บีตรูต/บีทรูท (Beetroot), ผักกาดแดง, ผักกาดฝรั่ง

ต้นกำเนิด : แถบเมดิเตอร์เรเนียน และยุโรป ในประเทศไทยปลูกได้ทางภาคเหนือ

ชื่อสามัญ : สวิสชาร์ด (Swiss Chard)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Beta vulgaris

ชื่อวงศ์ : Amaranthaceae

ลักษณะของสวิสชาร์ด

ใบหยิกเป็นคลื่นสีเขียวเข้ม ก้านใบมีขนาดใหญ่แบนมีหลายสี เช่น สีแดง สีขาว สีเหลือง เป็นผักที่มีสีสันสวยงามอยู่ในตระกูลเดียวกับบีทรูทแต่ไม่มีหัว ใช้ทานใบและก้าน ไม่ขม รสชาติจืดๆ

ต้นสวิสชาร์ด
ต้นสวิสชาร์ด ลำต้นและก้านใบสีแดง ตั้งตรง

การขยายพันธุ์ของสวิสชาร์ด

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่สวิสชาร์ดต้องการ

การเพาะปลูก
– ปลูกได้ตลอดปี ในพื้นที่สูงกว่า 1,000 เมตร
– ดินปลูก ควรเป็นดินร่วนปนทราย มีความเป็นกรด-ด่าง ประมาณ 5.5-7.0 มีการระบายน้ำที่ดี
– อุณหภูมิของดินต่อการงอกเมล็ด ประมาณ 20 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่อการเจริญเติบโตประมาณ 15-22 องศาเซลเซียส
– สามารถเก็บผลผลิตทั้งปี และมีมากในช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคม

ประโยชน์ของสวิสชาร์ด

นิยมบริโภคส่วนของใบและก้านใบ ต้นอ่อนนิยมรับประทานสด ช่วยเพิ่มสีสันของจานสลัด ส่วนต้นที่มีขนาดใหญ่ นิยมนำมาลอกเยื่อก้านใบออก หั่นเป็นชิ้นๆ แล้วนำมาต้ม หรือตุ๋น

สวิสชาร์ดมีปริมาณวิตามินเคสูงมาก หากรับประทานสวิสชาร์ด 35 แคลอรี่ ร่างกายจะได้รับวิตามันเคมากกว่าปริมาณขั้นต่ำที่ควรได้รับต่อวันถึง 300% และมีวิตามินเอมากกว่า 100% นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันมะเร็ง ทำให้สายตาดีขึ้น และยังได้รับวิจามินอี ที่หาได้ยากจากพืชชนิดอื่นจำนวนมาก

ใบสวิสชาร์ด
ใบสวิสชาร์ด ใบสีเขียวขนาดใหญ่ ขอบใบหยิก

สรรพคุณทางยาของสวิสชาร์ด

คุณค่าทางโภชนาการของสวิสชาร์ด

สวิสชาร์ดเป็นพืชผักเมืองหนาวและเป็นผักเพื่อสุขภาพ มีประโยชน์และสรรพคุณมากมาย ประกอบด้วย polyphenol antioxidants มากถึง 13 ชนิด  โปรตีนและใยอาหารสูง วิตามิน A, E และ K แม็กนีเซียม แมงกานีส และโปแตสเซียม

การแปรรูปของสวิสชาร์ด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9963&SystemType=BEDO
http://www.royalprojectmarket.com
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment