สะเดาช้าง ดอกอ่อน ใช้รับประทานได้ เนื้อไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์

สะเดาช้าง

ชื่ออื่นๆ : ก้วยกี่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) กางขี้มอด, ยมหิน (เชียงใหม่) ไก่ (กำแพงเพชร) ขางช้าง ,ขางแดง (ลำปาง) แดงน้ำ, พระเจ้าห้าพระองค์ (ลำปาง, แพร่) สะเดาช้าง (ปราจีนบุรี) แสงตะล่อน, หอนนาค (เลย)

ต้นกำเนิด : ภาคใต้ของไทย

ชื่อสามัญ : สะเดาเทียม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs.

ชื่อวงศ์ : Meliaceae

ลักษณะของสะเดาช้าง

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงราว 20-35 เมตร เปลือกต้นสีเทาเรียบ พอต้นอายุมากเปลือกจะแตกเป็นแผ่นล่อนสีเทาปนดำ เนื้อไม้มีคุณ-ภาพดี มอดและปลวก ไม่ค่อยทำลาย และจัดอยู่ในประเภทของไม้เอนกประสงค์

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ขึ้นเรียงสลับและกระจุกอยู่ใกล้ปลายกิ่ง แต่ละใบมีใบย่อยออกเป็นคู่เยื้องๆ สลับกันเล็กน้อย ราว 7-11 คู่ ใบย่อยรูปทรงรีเป็นรูปไข่บางใบเบี้ยวไม่มีรูปทรง กว้าง 3-4 ซม. ยาว 5-8 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย

ดอก  ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกย่อยขนาดเล็ก เวลาบานมี 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง ส่งกลิ่นหอมทั้งวัน กลีบดอกเป็นรูปทรงรี กว้าง 0.2-0.3 ซม. ยาว 0.5-0.6 ซม.

สะเดาช้าง
สะเดาช้างต้นเล็ก ใบมีสีเขียวเข้ม มัน ค่อนข้างเหนียว

การขยายพันธุ์ของสะเดาช้าง

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่สะเดาช้างต้องการ

ประโยชน์ของสะเดาช้าง

  • ดอกอ่อนรับประทานได้
  • ใบกับเมล็ด นำมาสกัดสารทำยาฆ่าแมลง
  • ลำต้น ใช้เป็นเฟอร์นิเจอร์ ทำบ้านเรือน
  • เนื้อไม้คุณภาพดี ปลวกและมอดไม่ค่อยทำลาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องแกะสลัก
  • เมล็ด นำมาสกัดสารทำยาฆ่าแมลง
  • เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสงขลา โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537

สรรพคุณทางยาของสะเดาช้าง

เปลือก นำไปต้มดื่มน้ำทำเป็นยาแก้บิดและท้องร่วง

คุณค่าทางโภชนาการของสะเดาช้าง

การแปรรูปของสะเดาช้าง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11812&SystemType=BEDO
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment