สะแล เป็นพืชพื้นบ้านทางภาคเหนือ ดอกมีรสมัน นิยมนำมาลวกกินกับน้ำพริก หรือทำแกงส้ม

สะแล

ชื่ออื่นๆ : แกแล, ข่อย่าน, คันซง, ซงแดง, ซง, ซะแล, แทแหล, สาแล

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Broussonetia kurzii Corner

ชื่อวงศ์ : MORACEAE

ลักษณะของสะแล

เป็นพืชพื้นบ้านทางภาคเหนือ ต้นเป็นไม้รอเลื้อย ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาได้มาก แตกออกตามกิ่งแบบสลับ ก้านใบสั้นยาวเพียง 2-3 มม.

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกจากกิ่งออกตรงข้ามกันใบสีเขียว ด้านหลังใบสีเขียวอ่อนกว่าหน้าใบเล็กน้อย ขอบใบเรียบหรือเป็นหยักเล็กๆ โดยเฉพาะปลายใบมักมีหยักเล็กน้อย ใบรูปไข่ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ก้านใบยาว 1-1.3 ซม. ใบกว้าง 4.5-5.8 ซม. ยาว 8.5-12.7 ซม.

ดอก ดอกมีรูปร่างทรงกลมจะออกตามกิ่งดอกมีสีเขียว ก้านดอกสั้น เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 5-7 มม. ก้านหนึ่งอาจมีผลเดียวหรือหลายผล

สะแล
สะแล ต้นเป็นไม้เลื้อย

การขยายพันธุ์ของสะแล

การปักชำกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่สะแลต้องการ

ประโยชน์ของสะแล

ดอก เป็นผัก มีรสมัน นิยมนำมาลวกกินกับน้ำพริก หรือนำมาปรุงอาหาร เช่น แกงส้มสะแล

สรรพคุณทางยาของสะแล

โดยภูมิปัญญาชาวบ้านได้มีการนำส่วนของเปลือกและใบมาต้มแล้วนำน้ำต้มดื่มแก้อาการบวมอันเกิดจากโรคไต หัวใจพิการ น้ำเหลืองเสีย เป็นต้น

ใบสะแล
ใบสะแล ใบสีเขียว ด้านหลังใบสีเขียวอ่อนกว่าหน้าใบ

คุณค่าทางโภชนาการของสะแล

ดอกอ่อนของสะแลป้อม 100 กรัมประกอบด้วย
โซเดียม 8.51 มิลลิกรัม
แคลเซียม 39.10 มิลลิกรัม
เหล็ก 1.65 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 110.60 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 379.60 มิลลิกรัม
โปรตีน คาร์โบไฮเดรตและใยอาหารสูง ซึ่งปริมาณธาตุอาหารที่พบในสะแลจัดว่าอยู่ในปริมาณที่สูงโดยเฉพาะโพแทสเซียมและฟอสฟอรัส อีกทั้งสะแลยังมีเบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี วิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 นอกจากนี้ยังพบอีกว่าสะแลมีปริมาณแอนติออกซิแดนท์ทั้งหมด และปริมาณโพลิฟีนอลทั้งหมดสูง จากผลวิเคราะห์ดังกล่าวสะแลจัดเป็นผักพื้นบ้านที่มีคุณค่าทางอาหารไม่ด้อยไปกว่าพืชชนิดอื่น

ดอกสะแล
ดอกสะแล ดอกกลม สีเขียว
แกงส้มสะแล
แกงส้มสะแล ใส่หมู

การแปรรูปของสะแล

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9927&SystemType=BEDO
https://stri.cmu.ac.th
http://area-based.lpru.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment