ประโยชน์และสรรพคุณของสาบเสือ

สาบเสือ

ชื่ออื่นๆ : หญ้าค่าพั้ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)  หญ้าเมืองวาย, หญ้าเมืองฮ้าง (ภาคเหนือ) ชิโพกวย, ไช้ปู่กอ, เซโพกวย, บ่อโส่, เพาะจีแค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)  สาบเสือ (สิงห์บุรี)  บ้านร้าง, ผักคราด (ราชบุรี)  เบญจมาศ (ตราด) ฝรั่งรุกที่, ฝรั่งเหาะ (สุพรรณบุรี)  หญ้าดงร้าง, หญ้าพระศิริไอยสวรรค์ (สระบุรี)  หญ้าฝรั่งเศษ (จันทบุรี, ตราด) หมาหลง (ชลบุรี)  มนทน (ชาวบน-เพชรบูรณ์)  มุ้งกระต่าย (อุดรธานี)  หญ้าลืมเมือง (หนองคาย)  หญ้าเหม็น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)  หญ้าดอกขาว (ทั่วไป)

ต้นกำเนิด : อเมริกากลาง

ชื่อสามัญ : Siam weed, Bitter bush, Christmas bush, Devil weed, Camfhur grass, สาบเสือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eupatorium odoratum Linn.

ชื่อวงศ์ : Compositae

ลักษณะของสาบเสือ

สาบเสือ เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขามากมายจนดูเป็นทรงพุ่ม  ลำต้นและกิ่งก้านปกคลุม ด้วยขนอ่อนนุ่ม ก้านและใบเมื่อขยี้จะมีกลิ่นแรงคล้ายสาบเสือ มีลำต้น สูง 1-2 เมตร ใบเดี่ยวออกจากลำต้น ที่ข้อ แบบตรงกันข้าม รูปรีค่อนข้างเป็นสามเหลี่ยมขอบใบ หยัก ปลายใบแหลม ฐานใบกว้าง เรียวสอบเข้าหากัน สีเขียวอ่อน เส้นใบเห็นชัดเจน 3 เส้น มีขนปกคลุม ผิวใบทั้งสองด้าน ดอกเป็นช่อ สีขาวหรือฟ้าอมม่วง ดอกย่อย 10-35 ดอก ดอกวงนอกบานก่อน กลีบดอก หลอมรวมกันเป็นหลอด ผลขนาดเล็ก รูปร่างเป็น ห้า เหลี่ยมสีน้ำตาลหรือดำ มีหนามแข็งบนเส้นของผล ส่วน ปลายผลมีขนสีขาว ช่วยพยุงให้ผลและเมล็ดปลิวตามลม

ต้นสาบเสือ
ต้นสาบเสือ ลำต้นและกิ่งก้านปกคลุมด้วยขน

ประโยชน์ของสาบเสือ

  • ทั้งต้น รสฝาดหอมร้อน มีกลิ่นหอมแรง ใช้เป็นยาฆ่าแมลง แต่ถ้านำมาใช้เพียงเล็กน้อยก็จะเป็นน้ำหอมได้ดีอีกด้วย ใช้เบื่อปลา
  • ใบ รสฝาดร้อน โขลกพอกบาดแผลห้ามเลือดได้ดี ช่วยกระตุ้นการทำงานหรือควบคุมการหดตัวของลำไส้สัตว์ และมีผลต่อมดลูกของสัตว์
  • ช่วยแก้ผมหงอก ทำให้ผมดกดำ ด้วยการใช้ใบสาบเสือนำมาตำแล้วใช้หมักผมเป็นประจำ ไม่นานจะทำทำให้เส้นผมดูดกดำขึ้น (ใบ)
  • ใบสาบเสือมีฤทธิ์ในการกำจัดปลวก ไล่แมลง ฆ่าแมลงได้ (ใบ)
  • ทั้งต้นและใบสามารถนำมาใช้ในการบำบัดน้ำเน่าเสียได้ ด้วยการเอาทั้งต้นและใบใส่ลงไปแช่ในบ่อน้ำเน่า เมื่อผ่านไป 2-3 สัปดาห์น้ำจะค่อย ๆ ใสขึ้นเอง (ต้น, ใบ)
  • นอกจากนี้เรายังใช้ต้นสาบเสือเป็นตัวชี้วัดอุณหภูมิความแห้งแล้งของอากาศ ถ้าหากอากาศไม่แล้ง ต้นสาบเสือก็จะไม่ออกดอกนั่นเอง
ก้านสาบเสือ
ก้านสาบเสือ แตกกิ่งก้านสาขามากมายเป็นทรงพุ่ม

สรรพคุณทางยาของสาบเสือ

ต้น เป็นยาแก้ ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ แก้บวม ดูดหนอง แล้วนอกจากนี้ ใบสาบเสือ ยังมีฤทธิ์ พิชิตปลวกได้อีกด้วย

ใบ มีสารสำคัญ คือ กรดอะนิสิกและฟลาโวนอยด์หลายชนิด เช่น ไอโซซากูรานิติน และโอโดราติน นอกจากนี้ยังมีสารพวกน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบไปด้วยสารยูพาทอล คูมาริน โดยสารสำคัญเหล่านี้จะไปออกฤทธิ์ที่ผนังเส้นเลือดทำให้เส้นเลือดหดตัว และนอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ไปกระตุ้นสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวได้เร็วขึ้น ทำให้สามารถห้ามเลือดได้[5]ใช้เป็นยารักษาแผลสด สมานแผล ถอนพิษแก้อักเสบ แก้พิษน้ำเหลือง แก้ตาฟาง แก้ตาแฉะ แก้ริดสีดวงทวารหนัก รักษาแผลเปื่อย ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซียใช้ยาต้มที่ใส่ใบใช้เป็นยาขับปัสสาวะ

ดอก เป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ชูกำลัง แก้อ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ แก้ไข้

ก้านและใบ รสสุขุม ฉุนเล็กน้อย ใช้ฆ่าแมลง ห้ามเลือดแก้แผลที่แมลงบางชนิดกัดแล้วเลือดไหลไม่หยุด ใช้ใบสดตำพอกปากแผล หรือ อาจใช้ใบสดตำกับปูนกินหมากพอกแผลห้ามเลือดได้หรือใช้ใบสดขยี้ปิดปากแผลเลือดออกเล็กน้อยได้ดี

ทั้งต้น เป็นยาแก้บาดทะยัก และซอยที่แผล

วิธีและปริมาณที่ใช้

  • รักษาบาดแผลสดเพื่อห้ามเลือด โดยใช้ใบหรือยอดอ่อนสาบเสือ 10-15 ใบ โขลกให้ละเอียดพอกบริเวณที่มีบาดแผลจะห้ามเลือดได้ หรืออาจจะคั้นเอาน้ำล้างบาดแผลแล้วใช้กากพอกตาม

สารเคมีที่พบ
ทั้งต้น มีน้ำมันระเหย ซึ่งประกอบด้วย Eupatol(22) , Coumarin ,d และ I – Eupatene(1), Lupeol , b – Amyrin และ Flavone Salvigenin (22)

ใบ มี Ceryl alcohol ; a-,b-,g- Sitosterol (23) , Anisic acid , Trihydric alcohol (C25 H34O5,m.p.278-280ฐC) , Tannin , น้ำตาล (24) ,Isosakuranetin , Odoratin , (2/ – hydroxy – 4 , 4/ , 5/ ,6/ – tetramethoxychalcone) , Acacetin (25)

ดอกสาบเสือ
ดอกสาบเสือ ดอกออกเป็นช่อ สีม่วงขาว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10489&SystemType=BEDO
http:// pharmacy.su.ac.th
http:// cmi.nfe.go.th

Add a Comment