สายบัว
ชื่ออื่นๆ : บัวสายกิน, บัวกินสาย, สายบัว, บัวขม, บัวขี้แพะ, บัวแดง, บัวสายสีชมพู, บัวจงกลนี,
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : สายบัว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nymphaea lotus
ชื่อวงศ์ : NYMPHAEACEAE
ลักษณะของสายบัว
เป็นพืชน้ำชนิดหนึ่ง มีลำต้นใต้ดินเป็นหัว หรือเหง้า ลักษณะคล้ายหัวเผือก ใบเดี่ยวแตกจากเหง้า ก้านใบยาว อ่อน ส่งใบขึ้นมาลอยบนผิวน้ำ แผ่นใบค่อนข้างกลม ผิวใบด้านบนเรียบเป็นมัน ด้านล่างมีขนละเอียด ดอกเป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกเหมือนก้านใบ ภายในมียางใสและท่ออากาศมาก ผลเรียกโตนดบัว รับประทานได้ มีแป้งมาก ก้านดอกเรียกสายบัว รับประทานได้

การขยายพันธุ์ของสายบัว
-/-
ธาตุอาหารหลักที่สายบัวต้องการ
ประโยชน์ของสายบัว
ก้านดอกและไหลใช้รับประทานได้ โดยนำก้านดอกหรือใบมาลอกผิวหรือเปลือกที่หุ้มอยู่ออกแล้วเด็ดดอกและใบทิ้ง แล้วนำมาใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงเป็นอาหาร เช่น การทำแกง ผัด แกงส้ม แกงกะทิ ฯลฯ
สรรพคุณทางยาของสายบัว
- ช่วยบำรุงร่างกาย (หัว)
- ช่วยบำรุงกำลัง (ดอก, เมล็ด)
- ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (หัว, เมล็ด)
- ช่วยบำรุงหัวใจ ทำให้สดชื่น (ดอก, หัว)
- ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง (สายบัว)
- ดอกช่วยแก้ไข้ตัวร้อน (ดอก)
- ช่วยแก้อาการร้อนใน (ดอก)
คุณค่าทางโภชนาการของสายบัว
การแปรรูปของสายบัว
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10007&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com