สีดาโคก คำมอกน้อย รากและเปลือกช่วยแก้บิด

สีดาโคก

ชื่ออื่นๆ : กระบอก (สุโขทัย) ไข่เน่า (กาญจนบุรี) คมขวาน (กลาง) คำมอกน้อย (เชียงใหม่) พญาผ่าด้าม พุดนา (ภาคกลาง) ฝรั่งโคก (ปราจีนบุรี) มอก (นครราชสีมา) สีดาโคก (หนองคาย)

ต้นกำเนิด : ประเทศพม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา ประเทศไทยพบได้ทุกภาค

ชื่อสามัญ : กระมอบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gardenia obtusifolia Roxb. ex Hook. f.

ชื่อวงศ์ : RABIACEAE

ลักษณะของสีดาโคก

ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ ยอดอ่อนมีชันเหนียว เปลือกบางสีเทาดำ แตกเป็นแผ่นบางตามลำต้น

ใบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่กลับหรือ รูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-5ซม.ยาว4.5-10ซม.ปลายมนหรือกลมโคนรูปลิ่มขอบเรียบแผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ใบอ่อนมีขนประปราย ใบแก่ผิวหยาบและเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 10-15 เส้น ก้านใบสั้นมากหรือไม่มีก้านใบ หูใบระหว่างก้านใบเชื่อมติดกับโคนก้าน ใบร่วงง่าย

ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกที่ปลายกิ่ง ดอกคำมอกน้อยมีกลิ่นหอม ก้านดอกสั้นกลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูประฆัง มีขนประปราย ปลายแยกเป็น 5 แฉกสั้นมาก กลีบดอกสีขาวเปลี่ยนเป็นดอกสีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปขอบขนานแกมรูปใบหอกกลับปลายมน เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดอยู่บริเวณคอหลอดกลีบดอก ไม่โผล่พ้นปากหลอดอับเรณูรูปขอบขนาน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบมีขน มี 1 ช่อง มีออวุลจำนวนมาก ก้านเกสรเพศเมียหนา ยอดเกสรเพศเมียเป็น 2 แฉก รูปกระบองโผล่พ้นหลอดกลีบดอก จานฐานดอกรูปวงแหวน

ผล ผลแห้งไม่แตก สีน้ำตาลแกมเขียว รูปทรงรี แกมขอบขนาน กว้าง1.5-2.5 ซม. ยาว 2.7-4.5 ซม.เปลือกแข็ง ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ 5 กลีบ มีหลายเมล็ดต่อผล

ต้นสีดาโคก
ต้นสีดาโคก เปลือกต้นบางสีเทาดำ แตกเป็นแผ่นบางตามลำต้น
สีดาโคก
สีดาโคก ใบปลายแหลมมีขนหยาบ

การขยายพันธุ์ของสีดาโคก

เพาะเมล็ด ปักชำ และตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่สีดาโคกต้องการ

ประโยชน์ของสีดาโคก

ผลรับประทานได้ กินแล้วหัวดี ช่วยบำรุงสมอง (จากการสัมภาษณ์และการจัดประชุมเสวนาผู้นำชุมชน)

สรรพคุณทางยาของสีดาโคก

  • รากและเปลือกต้นช่วยแก้บิด
  • ลำต้นย่างไฟให้เหลืองต้มนำดื่มเป็นยาเจริญอาหาร

คุณค่าทางโภชนาการของสีดาโคก

การแปรรูปของสีดาโคก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9311&SystemType=BEDO
https://rspg.pbru.ac.th/index.php?ge=treeView&gen_lang=050717022009&ptid2=12
https://www.flickr.com

Add a Comment