หญ้าลิ้นงู ไม้ล้มลุกที่มักปลูกเป็นพืชคลุมดิน

หญ้าลิ้นงู

ชื่ออื่นๆ : จุ่ยจี้เช่า จั่วจิเช่า (จีนแต้จิ๋ว), สุ่ยเฉียบฉ่าว สุ่ยเซี่ยนเฉ่า เสอเสอเฉ่า (จีนกลาง)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : หญ้าลิ้นงู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hedyotis corymbosa Lamk

ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ลักษณะของหญ้าลิ้นงู

หญ้าลิ้นงูเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มักปลูกเป็นพืชคลุมดิน ลักษณะของลำต้นเลื้อยยาวประมาณ 6-20 นิ้ว แบ่งเป็นข้อๆ แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ยอดสูงประมาณ 15-50 เซนติเมตร ผิวของลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยงเป็นเหลี่ยม ใบเป็นใบเดี่ยว มีขนาดเล็ก ขนาดยาวประมาณ 0.5-1 นิ้ว กว้างประมาณ 1.5-3.5 มม.

ใบ แหลมเรียว ไม่มีก้านใบ ส่วนหูใบมีขนาดเล็ก หลังใบคดงอ ขอบใบหยาบ

ดอก  ออกเป็นช่อ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกประมาณ 2-4 ดอก แยกออกกันเป็นคู่ ๆ ดอกจะออกตามบริเวณง่ามใบ ดอกมีกลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีแดงอ่อน ลักษณะดอกเป็นรูปกรวยปลายแยก ด้านนอกมีขนปกคลุม ดอกบานเต็มที่มีขนาดเพียง 2.5 มิลลิเมตร ภายในดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน และมีรังไข่ 2 อัน ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 0.6-2 ซม.

ผล  เป็นสันสี่มุม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของผลประมาณ 2.5 มิลลิเมตร เปลือกหุ้มด้านนอกมีลักษณะแข็งมาก เมื่อแก่ปลายผลจะแตกออก ภายในผลมีเมล็ดเล็กๆ เหลี่ยมๆ จำนวนมากบรรจุอยู่

หญ้าลิ้นงู
หญ้าลิ้นงู ใบแหลมเรียว ดอกเป็นสีขาว

การขยายพันธุ์ของหญ้าลิ้นงู

ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่หญ้าลิ้นงูต้องการ

ประโยชน์ของหญ้าลิ้นงู

สรรพคุณทางยาของหญ้าลิ้นงู

  • ลำต้น ต้มกินรักษาไข้มาลาเรีย ลำไส้อักเสบ ไฟไหม้น้ำร้อนลวก
  • ยาพื้นบ้านภาคใต้ใช้ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้

คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าลิ้นงู

การแปรรูปของหญ้าลิ้นงู

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10595&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment