หนอนกอกล้วย ศัตรูกล้วยที่ร้ายกาจ

กล้วยถือว่าเป็นพืชที่ทั้งอึด ทั้งทน การปลูกกล้วยเป็นพืชนำร่องก่อนซักปี จากนั้นค่อยตามด้วยพืชสวนชนิดอื่นๆ แต่สำหรับเกษตรกรมือใหม่หัดปลูกอย่างเราๆ ท่านๆ ที่เริ่มจับจอบมาปลูกกล้วย สิ่งที่น่ารำคราญหัวใจคือ โรคหนอนกอกล้วย เพราะติดง่ายและแพร่ไปได้เรื่อยๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว โดยโรคนี้เกิดจากการที่แมลงไปวางไข่แล้วฟักเป็นตัวหนอนในต้นกล้วยแล้วหนอนนั้นก็เจาะไชไปทั่วต้นกล้วย ลงลึกไปถึงรากเหง้า และมักจะติดไปกับหน่อกล้วยเวลาเราขยายพันธุ์ด้วยการใช้หน่อ เจ้าด้วงที่เป็นต้นเหตุของหนอนกอกล้วยมี  2 ชนิดคือ ด้วงงวงเจาะเหง้ากล้วย และด้วงงวงเจาะต้นกล้วย ศัตรูกล้วยตัวร้าย ที่สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของต้นกล้วยระบาด ด้วงทั้ง 2 ชนิดนี้ สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของต้นกล้วย

ต้นกล้วย
ต้นกล้วย ไม้ล้มลุก ลำต้นสูง

1. ด้วงงวงเจาะเหง้ากล้วย จะพบตัวหนอนเจาะชอนไชกัดกินทำลายระบบส่งน้ำและอาหารของเหง้ากล้วย ที่อยู่ในระดับพื้นดินโคนต้นไปเลี้ยงลำต้นขาดตอนชะงักไป ไม่สามารถมองเห็นร่องรอยการท าลายของหนอนได้ชัด หากรุนแรงมาก หนอน 5 ตัวต่อ 1 เหง้ากล้วย จะสามารถทำให้ต้นกล้วยตายได้ กรณีมีแมลงติดมากับหน่อกล้วยปลูกใหม่ หน่อใหม่จะตายก่อนจะให้เครือ

2.ด้วงงวงเจาะต้นกล้วย ตัวเต็มวัยจะมาวางไข่บริเวณกาบกล้วย ในส่วนลำต้นเหนือพื้นดินขึ้นไปถึงกลางต้น หนอนจะเจาะกัดกิน เข้าไปทีละน้อยจนถึงไส้กลางต้น จะเห็นรอบต้นมีรูพรุนไปทั่ว ทำให้ต้นกล้วยตาย หากเข้าทำลายในระยะใกล้ออกปลีถึงตกเครือ เครือจะ หักพับกลางต้นหรือเหี่ยวเฉายืนต้นตาย

ด้วงกล้วย
ด้วงเจาะกล้วย

การป้องกัน

  1. ตกแต่งทำความสะอาดบริเวณกอกล้วยไม่ให้กลายเป็นที่เพาะขยายพันธุ์ของด้วงงวง
  2. การป้องกันด้วยวิธีทางชีวภาพสูตรน้ำสกัดใบยาเส้น ( สูตร MY GREEN GARDENS) ใช้ยาเส้น 1 กก. กับใบสะเดา 2 กก.ต้มกับน้ำสะอาด 10 ลิตรให้เดือด รอให้เย็นราดบริเวณโคนต้นที่พบหนอนด้วงเข้าทำลาย
  3. หน่อที่เรานำมาปลูก ต้องคัดเลือกหน่อกล้วยที่ดูแข็งแรง ล่ำๆ อวบๆ ยาวๆ ใหญ่ๆ และที่สำคัญไม่เป็นโรคหนอนกอ โดยให้ดูบริเวณรอยตัดตอกล้วยหากเป็นสีดำจุดๆ คล้ายจะมีหนอนเจาะหรืออะไรผิดสังเกตหลายๆ จุดให้คัดออกแล้วนำไปเผาทิ้งทันที
  4. วางกับดัก โดยการตัดต้นกล้วยยาวประมาณ 1 ศอก ผ่าซีก วางคว่ำไว้โคนกล้วย เพื่อล่อให้ตัวเต็มวัยเข้ามาหลบซ่อน จากนั้นก็เอาไปทำลาย
  5. ใช้ปูนขาว 2 ขีด น้ำ 10 ลิตร ราดเป็นประจำทุก 7-10 วัน เพื่อลดการแพร่ระบาด
  6. กรณีระบาดใช้สารเคมีทั่วๆไป อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยราดโคนต้นกล้วยสูงจากพื้นดิน 30 เซนติเมตร และราดรอบโคนต้นรัศมี 30 เซนติเมตร วิธีนี้จะช่วยป้องกันการเข้าวางไข่ กำจัดหนอน และตัวเต็มวัยที่หลบซ่อนโคนต้นกล้วยได้
ปลีกล้วย
ปลีกล้วย หัวปลีสีแดงอมม่วง
กล้วยน้ำว้าสุก
กล้วยน้ำว้าสุก ผลสีเหลือง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https ://www.opsmoac.go.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment