หมากต้อง
ชื่ออื่นๆ : กระท้อน หมากต้อง และบักต้อง ภาคเหนือเรียกว่ามะตึ่น และมะต้อง ภาคใต้เรียกว่า ล่อน เตียน สะตียา สะตู และสะโต
ต้นกำเนิด : แถบมลายูและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : Sentul/ Santol/ Red sentol/ Yellow sentol
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sandoricum indicum
ชื่อวงศ์ : MELIACEAE
ลักษณะของหมากต้อง
ไม้ยืนต้นทรงพุ่มขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 15-40 เมตร ต้นเปลา ตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ
ใบแก่จัดสีแดงอิฐหรือสีแสด ใบช่อ ยาว 20-40 ซม. ช่อติดเรียงสลับเวียนกันไป ใบปลายช่อเป็นใบเดี่ยว ดอกช่อ ออกรวมเป็นช่อ ไม่แยกแขนงตามปลายกิ่ง ช่อยาว 5-15 ซม. มีขนนุ่มทั่วไป ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อนอมเหลือง ดอกสมบรูณ์เพศ กลิ่นหอมอ่อนๆ ผล กลมหรือแป้น อุ้มน้ำ ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดสีเหลือง เมล็ดรูปไต เรียงตามแนวตั้ง 5 เมล็ด ออกดอกเดือน มกราคม -มีนาคม และเป็นผลเดือน มีนาคม – พฤษภาคม

การขยายพันธุ์ของหมากต้อง
ใช้กิ่ง/ลำต้น/การขยายพันธุ์:
– การเพาะเมล็ด ทำได้ง่ายแต่มักกลายพันธุ์
– การทาบกิ่ง
– การเสียบยอด
– การติดตา
– การตอนกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่หมากต้องต้องการ
ประโยชน์ของหมากต้อง
ปรับปรุงเป็นไม้ผลหลายพันธุ์ เนื่องจากเนื้อมีรสหวาน ผลใหญ่รับประทานสดหรือยังนำมาทำอาหารคาวหวาน เป็นผลไม้ที่ให้คาร์โบไฮเดรต โพแทสเซียม วิตามินซี และใยอาหารสูง แต่ผู้เป็นโรคไตไม่ควรกินมาก เนื้อไม้แข็งและมีคุณภาพดี จึงใช้สร้างบ้านหรือทำเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ได้

สรรพคุณทางยาของหมากต้อง
ใบสด – ใช้ขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้
เปลือก – รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
ผล – ฝาดสมาน เป็นอาหาร
ราก – เป็นยาขับลม แก้ท้องเสีย บิด เป็นยาธาตุ
ต้น – เป็นไม้ใช้สอย
คุณค่าทางโภชนาการของหมากต้อง
กระท้อน เป็นผลไม้มีสารแอนติออกซิแดนท์สูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
การแปรรูปของหมากต้อง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11439&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com