หลุมพอ เป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูงชนิดหนึ่งของประเทศไทย และเป็นไม้ที่ตลาดมีความต้องการมาก

หลุมพอ

ชื่ออื่นๆ : กะลุมพอ หลุมพอ (ภาคใต้) มื่อบา (มาเลเซีย ปัตตานี) เมอเมา (มาเลเซีย ภาคใต้) สลุมพอ (ปราจีนบุรี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : หลุมพอ (ภาคใต้)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Intsia palembanica Miq.

ชื่อวงศ์ : Caesalpiniaceae

ลักษณะของหลุมพอ

ต้น ไม้หลุมพอเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูงประมาณ 25 – 40 เมตร โคนต้นมักจะเป็นพูพอนสูงใหญ่ ลำต้นเปลาตรง เปลือกเรียบ หรือตกสะเก็ดเป็นแผ่นกลมบาง ๆ มีสีต่าง ๆ กัน ที่พบบ่อย ๆ มักจะออกสีชมพูอมน้ำตาล หรือเทาอมชมพู ลักษณะเนื้อไม้ สีแดงอมน้ำตาล เป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ แข็ง เหนียว แข็งแรง และทนทานมาก เพรียงไม่ค่อยกิน ไสกบตบแต่งไม่ค่อยยาก ขัดชักเงาได้ดี

ใบ ออกเป็นช่อ มีใบย่อย 4 คู่ ลักษณะใบรูปหอกแกมรูปไข่ กว้าง 5 ซม. ยาว 9 ซม. ปลายสอบแหลมเว้าตื้น ๆ ตรงปลายสุดเล็กน้อย โคนกลม เนื้อเกลี้ยงเป็นมัน

ดอก สีเหลืองอ่อน ออกบนช่อสีเชียวอ่อนอมเทา ยาว 5 – 10 ซม.

ผล เป็นฝัก กว้าง 6 – 8 ซม. ยาว 15 – 40 ซม. เมล็ด รูปกลมแบน ลักษณะคล้ายลูกสะบ้า เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 ซม. ความยาวเฉลี่ย 5 ซม. และความหนาเฉลี่ย 0.8 ซม. น้ำหนักของเมล็ดแห้งเฉลี่ยเมล็ดละ 13 กรัม เปลือกเมล็ดแข็งหนามาก ผิวด้านนอกเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ดูดซึมน้ำยากมาก จากลักษณะของการขึ้นของเมล็ดทำให้เมล็ดที่ร่วงบนดินมักจะค้างอยู่ในป่าจึงจะงอก

ต้นหลุมพอ
ต้นหลุมพอ ลำต้นเปลาตรง เปลืองกเรียบ ใบรูปหอกแกมรูปไข่

การขยายพันธุ์ของหลุมพอ

ใช้เมล็ด/การปลูกด้วยเมล็ด การปลูด้วยวิธีนี้มีข้อที่ควรพิจารณาคือจะต้องเลือกฤดูที่จะปลูกให้ถูกต้องตามธรรมชาติ เดือนที่เหมาะสมที่สุดและมีอัตราการรอดตายมากที่สุด ได้แก่ การปลูกในฤดูแล้งระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ จนถึงเดือนมีนาคม จากการทดลองปรากฏว่า เมล็ดไม้หลุมพอจึงทนต่อความแห้งแล้งและมีการรอดตายถึง 85 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามในสภาพที่มีความชื้นมากเมล็ดหลุมพอเน่าเสียได้ง่าย

ธาตุอาหารหลักที่หลุมพอต้องการ

ประโยชน์ของหลุมพอ

ไม้หลุมพอเป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูงชนิดหนึ่งของประเทศไทย และเป็นไม้ที่ตลาดมีความต้องการมาก มีการนำไม้หลุมพอมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ทำสะพาน เสา หมอนรางรถไฟ เกวียน เครื่องเรือน เป็นไม้ที่สวยงามดี เหมาะสำหรับทำเครื่องเรือน ทำพื้น รอด ตง ขื่อ อกไก่ ไม้บุผนังที่สวยงาม ทำลูกประสัก โครงเรือใบเดินทะเล แจว พาย กรรเชียง เสากระโดงเรือ ไถ คราด ครก สาก กระเดือง พันสีขาว ตัวถังรถ ด้ามเครื่องมือ ทำหูก ด้ามหอก ไม้สำหรับกลึง แกะสลัก กั้นบ่อน้ำ ร่องน้ำและกังหันน้ำ ทำรางแร่ พานท้ายและรางปืน เนื้อไม้มีลักษณะคล้ายไม้มะค่าโมง ควรใช้แทนกันได้

ไม้หลุมพอเป็นไม้ทนร่ม (shade tolerance) ไม่ชอบแสงแดดจัดโดยเฉพาะในระยะที่เป็นต้นกล้า จากการทดลองที่สถานีวนกรรมเขาช่อง จังหวัดตรัง (จรัล บุญแนบ, 2515) ปรากฏว่ากล้าไม้ที่นำไปปลูกกลางแจ้ง ได้รับแสงแดดเต็มที่ 100% กล้าไม้จะตายหมด ในขณะที่ในแปลงที่ปลูกใต้ร่มไม้มีแสงแดรำไร จะมีอัตราการรอดตาย 80 – 90 % และกล้าไม้เหล่านี้จะตั้งตัวได้พร้อมที่จะเจริญเติบโตต่อไป จากการทดลองปลูกไม้หลุมพอในภาคใต้ที่สถานีทดลองปลูกพรรณไม้สงขลา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ในแปลงทดลองที่มีลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย (sandy loam) ระดับผิวดินลึกประมาณ 15 – 30 ซม. มีค่าความเป็นกรดด่างประมาณ 4.6 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,200 – 2,000 มม. ต่อปี การเจริญเติบโตของไม้หลุมพอเมื่ออายุ 3 ปี มีดังนี้ การเจริญเติบโตทางความสูงเฉลี่ย 90.65 ซม. ความโตเฉลี่ย 1.44 ซม. และมีอัตราการรอดตาย 46%

ผลหลุมพอ
ผลหลุมพอ คล้ายลูกสะบ้า เปลือกเมล็ดแข็งหนา

สรรพคุณทางยาของหลุมพอ

คุณค่าทางโภชนาการของหลุมพอ

การแปรรูปของหลุมพอ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10486&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment