อบเชยเถา รากใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ เป็นยาขับลมในลำไส้

อบเชยเถา

ชื่ออื่นๆ : เครือเขาใหม่ (แพร่), เชือกเถา (นครสวรรค์), อบเชยป่า (กรุงเทพฯ), กำยานเครือ เครือเขาใหม่ เถาเชือกเขา (ภาคเหนือ), จั่นดิน กู๊ดิน (ภาคอีสาน), อบเชยเถา (ภาคกลาง), ตำยาน

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Atherolepis pierrei Cost. Var. glabra Kerr

ชื่อวงศ์ : ASCLEPIADACEAE

ลักษณะของอบเชยเถา

ต้น  ไม้เถาล้มลุก ทุกส่วนมียางขาว เถาผอมยาวแยกแขนง เส้นผ่านศูนย์กลางเถา 2-2.5 มิลลิเมตร 

ใบ   ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานแกมรูปรี ขนาด 7-15 x 2-3.5 เซนติเมตร แผ่นใบบาง ด้านบนสีเขียวเข้ม ตามแนวเส้นใบอาจเป็นสีขาวหรือสีม่วงเข้ม ก้านใบยาว 1-1.5 เซนติเมตร

ดอก ช่อดอกออกตามซอกใบเป็นช่อกระจุกสั้น ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร ดอกในช่อมีจำนวนน้อย สีชมพูอ่อนอมม่วงหรือสีเหลือง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร กลางดอกมีกะบังรอบที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร กะบังรอบมีรยางค์สีขาว รูปคล้ายหนวดผีเสื้อ 5 อัน ออกดอกและผลเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน

ผล  ผลออกเป็นคู่ รูปทรงกระบอกปลายเรียว ขนาด 10-11 x 1.2-1.5 เซนติเมตร

เมล็ด  เมล็ดมีจำนวนมาก มีขนที่ปลายด้านหนึ่งเป็นพู่

อบเชยเถา
อบเชยเถา ไม้เถา ทุกส่วนมียางขาว ดอกสีชมพู

การขยายพันธุ์ของอบเชยเถา

ใช้เมล็ดและการปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่อบเชยเถาต้องการ

ประโยชน์ของอบเชยเถา

สรรพคุณทางยาของอบเชยเถา

  • รากใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้อาการปวดมวนในท้อง
  • รากนำมาต้มกับน้ำ อบไอน้ำ แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน

คุณค่าทางโภชนาการของอบเชยเถา

การแปรรูปของอบเชยเถา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10576&SystemType=BEDO
http://www.botany.sc.chula.ac.th

Add a Comment