เขือง
ชื่ออื่นๆ : กำลังเลือดค่าง (ยโสธร) กะตังใบแดง, กะตังใบ (กรุงเทพฯ)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : เขือง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leea rubra Blume ex Spreng.
ชื่อวงศ์ : LEEACEAE
ลักษณะของเขือง
ต้น เป็นไม้พุ่ม สูงได้ถึง 2 ม.
ใบ ใบประกอบแบบขนนก 1 – 2 ชั้น รูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 2.5 – 4 ซม. ยาว 5 – 12.5 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือรูปลิ่ม ขอบใบจักฟันเลื่อย หูใบแนบกับก้านใบ
ดอก ดอกช่อ แบบช่อกระจุก ออกที่ปลายยอด ช่อดอกยาวประมาณ 10 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก จำนวนมาก กลีบดอกและเกสรเพศผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ปลายกลีบดอกแยกเป็น 5 แฉก สีแดงเข้ม กลางดอกสีขาว
ผล ผลสด มี 4 – 5 พู ค่อนข้างกลม สีแดงเข้ม มีหลายเมล็ด
การขยายพันธุ์ของเขือง
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่เขืองต้องการ
ประโยชน์ของเขือง
สรรพคุณทางยาของเขือง
- ราก รักษาโรคคุดทะราด แก้บิด แก้ไข้ ขับเหงื่อ บำรุงธาตุ และแก้ปวดท้อง
- ลำต้น แก้บิด ผล แก้บิด แก้คุดทะราด
- เมล็ด ขับพยาธิ ทั้ง 5 ผสมสมุนไพรอื่น รักษามะเร็ง
ราก – ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ผสมลำต้นขมิ้นเครือ ลำต้นเมื่อยดูกและรากตากวาง ต้มน้ำดื่ม แก้ท้องเสีย
ตำรายาไทยใช้ ระงับความร้อน แก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้ปวดเมื่อย
การแปรรูปของเขือง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12093&SystemType=BEDO
http://pharmacy.su.ac.th
https://www.flickr.com