เถาวัลย์เปรียง ไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ เถาและรากใช้เป็นยา

เถาวัลย์เปรียง

ชื่ออื่นๆ : เครือตาปลา, เครือตับปลา (อีสาน) เครือเขาหนัง, เถาวัลย์เปรียงแดง, เถาวัลย์เปรียงขาว, ย่านเหมาะ (นครศรีธรรมราช)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Jewel Vine

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris scandens Benth

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE

เถาวัลย์เปรียง

ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ มีกิ่งเหนียวและทนทาน เถาแก่มีเนื้อไม้แข็ง เปลือกเถาเรียบและเหนียว เป็นสีน้ำตาลเข้มอมสีดำหรือแดง เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้เป็นสีออกน้ำตาลอ่อนๆ มีวงเป็นสีน้ำตาลไหม้ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม

ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับกัน มีใบย่อย 4-8 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรี ปลายใบเป็นรูปหอก โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.25 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร หลังใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ท้องใบเรียบ

ดอก ดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ช่อดอกเป็นสีขาวห้อยลง ดอกเป็นสีขาวอมสีม่วงอ่อนคล้ายกับดอกถั่ว กลีบดอกมี 4 กลีบ และมีขนาดไม่เท่ากัน สวนกลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นรูปถ้วย สีม่วงแดง

ผล ผลเป็นฝักแบน โคนฝักและปลายฝักมน ฝักเมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลอ่อน ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 1-4 เมล็ด

ต้นเถาวัลย์เปรียง
เนื้อไม้เป็นสีออกน้ำตาลอ่อนๆ

การขยายพันธุ์ของเถาวัลย์เปรียง

ใช้เมล็ด/-

ธาตุอาหารหลักที่เถาวัลย์เปรียงต้องการ

ประโยชน์ของเถาวัลย์เปรียง

เถาแหง นำมาทำยา มักพบหั่นเปนชิ้นเล็ก เปลือกนอกสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลแกมสีเทา ไมเรียบ อาจมีรองหรือคลื่นตามยาว มีชองอากาศกระจายอยูทั่วไปรอยตัดสีน้ำตาลออน เห็นรอยวงปชัดเจน เนื้อไมมีรูพรุน ตรงกลางอาจพบไสไม้ขนาดเล็ก
สีเหลืองถึงสีน้ำตาลออน เนื้อแข็ง รสเฝอนเล็กนอย

สรรพคุณทางยาของเถาวัลย์เปรียง

  • เถา นำมากินจะมีรสเฝื่อนเอียนเล็กน้อย ใช้เป็นยาถ่ายเสมหะ ลงสู่ทวารหนัก ถ่ายเส้นและกษัย ถ่ายเส้นทำให้เส้นอ่อนและหย่อนดี รักษาเส้นเอ็นขอด รักษาปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะ และรักษาโรคบิด โรคไอ โรคหวัด ใช้เถานำมาหั่นตาก แล้วคั่วไฟชงน้ำกิน แทนน้ำชา ทำให้เส้นหย่อนรักษาอาการเมื่อยขบ ส่วนใหญ่แล้วมักนิยมใช้เถาวัลย์เปรียงแดง เพราะมีเนื้อไม้เป็นสีแดงเรื่อ ๆ
  • ราก จะมีสารพวก flavonolที่มีชื่อว่า scadenin, nallaninใช้เป็นยาเบื่อปลา แต่ไม่มีคุณสมบัติในการใช้เป็นยาฆ่าแมลง ในตำรับยาไทยนั้นเขาใช้เป็นยารักษาอาการไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ และขับปัสสาวะ
ใบเถาวัลย์เปรียง
ใบย่อยเป็นรูปรี ปลายใบเป็นรูปหอก โคนใบมน ขอบใบเรียบ

คุณค่าทางโภชนาการของเถาวัลย์เปรียง

การแปรรูปของเถาวัลย์เปรียง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12109&SystemType=BEDO
http://pharmacy.su.ac.th

Add a Comment