ถั่วลิสง
ถั่วลิสง ที่เรียกกันทั่วไปว่า ถั่วดิน นับว่าเป็นพืชตระกูลถั่วชนิดเดียวที่มีการนํามาใช้ บริโภคแพร่หลายที่สุดในประเทศ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปใดรูปหนึ่ง แต่ที่นิยมกันกว้างขวางที่สุด คือ ถั่วต้ม และถั่วทอด นอกจากนี้ถั่วลิสงสามารถนําไปแปรรูปทําผลิตภัณฑ์ได้อีกมากมาย หลายชนิด ดังนั้น ประมาณได้ว่า กว่าร้อยละ 90 ของผลผลิตจะถูกนํามาใช้ภายในประเทศ
ถั่วลิสงเป็นแหล่งสารอาหารโปรตีนอันอุดมสมบูรณ์ที่มีราคาถูก และยังให้สารอาหาร ประเภทพลังงาน หรือไขมันที่มีคุณภาพดีกว่าไขมันที่ได้จากสัตว์ ถ้าทุกๆ ฝ่ายทั้ง ภาครัฐบาลและเอกชนร่วมกัสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคถั่วลิสงกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวชนบท ทุกครอบครัวในชนบทที่ห่างไกลก็จะได้สารอาหารประเภทโปรตีนและ ไขมัน ถ้าหากบริโภคถั่วลิสงที่มีคุณภาพดีอยู่เป็นประจํา
ประเภทและพันธุ์ถั่วลิสง
ประเภทและพันธุ์ของถั่วลิสง ที่สำคัญๆ สามารถจะจําแนกประเภท ได้ดังนี้
- ประเภทสแปนีช
ถั่วลิสงประเภทนี้มักจะมีใบขนาดใหญ่ สีเขียวไม่เข้มนัก ออกดอกทุกข้อ ในหนึ่ง ฝักมักมี 2 เมล็ด เมล็ดมีขนาดเล็กถึงปานกลาง ตัวอย่างพันธุ์ที่มีปลูกในประเทศไทย คือ ไทนาน 9 - ประเภทวาเล็นเซีย
ถั่วลิสงประเภทนี้มีลักษณะคล้ายกับประเภทแรก แต่ในฝักหนึ่งจะมี 3-4 เมล็ด เมล็ดมีขนาดเล็กถึงปานกลาง ตัวอย่างพันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทย เช่น ลําปาง ขอนแก่น 60-2 และ พันธุ์พื้นเมืองที่มีเมล็ดสีแดงหรือสีชมพูซีด มีฝักยาว - ประเภทเวอร์จิเนีย
ถั่วลิสงประเภทนี้มีลักษณะแตกต่างจากอีก 2 ประเภทที่กล่าวแล้ว กล่าวคือ ใบมีขนาดเล็กสีเขียวเข้มกว่า 2 ประเภทแรก ดอกจะเกิดทุก 2 ข้อ สลับกับ 2 ข้อที่ แตกออกเป็นกิ่ง ดังนั้น การเกิดฝักจะกระจายไม่แน่นเหมือน 2 ประเภทแรก ในหนึ่งฝักมัก มี 2 เมล็ด และเมล็ดมีขนาดค่อนข้างใหญ่บางพันธุ์มีเมล็ดใหญ่กว่า 2 ประเภทแรกถึง 3 เท่า ในประเทศไทยพันธุ์ที่เป็นประเภทเวอร์จิเนียยังไม่ปลูกแพร่หลายนัก ขณะนี้ก็มีพันธุ์ “เกษตร 1” ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เท่านั้น ที่มีเกษตรกรบางท้องที่ใช้ปลูกเพื่อป้อนโรงงานแปรรูปถั่วลิสง
นอกจากลักษณะภายนอกของถั่วลิสงแต่ละประเภทจะแตกต่างแล้วองค์ประกอบทาง เคมีภายในเมล็ดก็มีความแตกต่างกันด้วย ดังนั้น ถั่วลิสงแต่ละประเภทจึงมีความเหมาะ สมในการนําไปใช้ประโยชน์แตกต่างกัน แต่ในประเทศไทยยังไม่มีพันธุ์ถั่วลิสงที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมเฉพาะอย่าง ดังนั้นเกษตรกรจึงเลือกใช้พันธุ์ที่ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ทั้งบริโภคโดย ตรงและเพื่อนําไปสกัดนํ้ามันได้ โดยทั่วไปถั่วลิสงประเภทเวอร์จิเนีย มีปริมาณนํ้ามันตํ่า จึงเหมาะสําหรับใช้ทําผลิตภัณฑ์แปรรูป เพราะมีอายุการเก็บรักษานาน ไม่เหม็นหืนง่าย เหมือนกับพันธุ์ที่มีนํ้ามันมาก และรสชาติในการบริโภคก็ยัง แตกต่างกันอีกด้วย ส่วนพันธุ์ที่ มีน้ำมันมากจึงเหมาะสําหรับสกัดนํ้ามันและใช้กากที่เหลือในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์
ฤดูปลูก
ถั่วลิสงสามารถปลูกได้ตลอดปีถ้าพื้นที่ปลูกมีน้ำ ดังนั้น เกษตรกรอาจจะปลูกถั่วลิสงไว้บริโภคเองได้ในลักษณะปลูกเป็นพืชสวนครัวไว้ใกล้ ๆ บ้าน แต่โดยทั่วๆ ไปถั่วลิสง
สามารถปลูกได้ช่วงเวลาดังนี้
- ฤดูแล้ง
ส่วนใหญ่จะปลูกกันในบริเวณที่มีคลองส่งนํ้าไปถึงและเป็นที่นาหลังจากเก็บเกี่ยว ข้าวแล้ว ปลูกตั้งแต่เดือน พฤศจิกายนจนถึงมกราคม - ต้นฤดูฝน
มักจะปลูกกันในที่ไร่ก่อนที่จะปลูกพืชหลักอย่างอื่น ในบางแห่งสามารถปลูกได้ ประมาณเดือนมีนาคมหรือเมษายน การปลูกถั่วลิสงต้นฤดูฝนนี้ เกษตรกรในแต่ละท้องที่จะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในท้องที่นั้นๆ ตามลักษณะของสภาพดินฟ้าอากาศ ซึ่งอาจจะปลูกได้ผลดีหรือไม่ดี เนื่องจากความแปรปรวนของฝนในแต่ละปี - ปลายฤดูฝน
เป็นการปลูกในที่ไร่เช่นเดียวกัน แต่อาจจะปลูกตามพืชหลักชนิดอื่นที่เก็บเกี่ยวแล้ว เช่น ข้าว โพด เป็นต้น การปลูกในฤดูนี้จะมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับต้นฤดูฝน ถ้าปีใดฝนตกล้าออกไป ถั่วลิสงก็จะได้ความชื้้น พอเพียง แต่เป็นการเสี่ยงเกินไปสําหรับปลูกถั่วลิสงที่มีอายุยาว
การจะปลูกถั่วลิสงให้ได้ผลดีนั้น จะต้องพิจารณาถึงอายุของพันธุ์ที่ใช้เป็นเกณฑ์ สิ่งที่ต้องคํานึงถึง คือ ถั่วลิสงจะต้องได้รับนํ้าฝนพอเพียงในช่วงเจริญเติบโตและได้รับใน ปริมาณที่น้อยลงเมื่อจะเก็บเกี่ยวเพราะเมื่อเก็บเกี่ยว ดินจะต้องมีความชื้น พอควร เพื่อ สะดวกในการถอนต้น ถ้าดินแห้งเกินไป จะทําให้การดึงถอนต้นลําบาก และขาดจากกันได้ ทําให้สูญเสียผลผลิตไป ดังนั้น จากประสบการณ์ของผู้เขียนพบว่า ช่วงที่เหมาะที่สุด ของ การปลูกถั่วลิสงในฤดูฝน คือประมาณต้นถึงกลางเดือนกรกฎาคมอย่างไรก็ตามเกษตรกรควรพิจารณาดูสถิติการตกของฝนในแต่ละท้องที่ประกอบด้วย การปลูกและเก็บเกี่ยวถั่วลิสงที่เหมาะสมกับฤดูกาลจะได้ผลิตผลที่ดี มีคุณภาพ
พันธุ์
การเลือกใชพันธุ์ปลูกขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดในแต่ละท้องที่พันธุ์นิยมปลูกกันทั่วไป คือ ประเภทสแปนีช และ วาเล็นเซีย ส่วนประเภทเวอร์จิเนีย* นับว่าเป็นชนิดใหม่ และมีปลูกในบางแห่งสําหรับการอุตสาหกรรมแปรรูปถั่วลิสงทั้ง 3 ประเภทมีพันธุ์ที่แนะนําให้รู้จัก คือ
- พันธุ์ไทนาน 9
เป็นพวกสแปนีช ขนาดฝักเล็ก มี 2 เมล็ดต่อฝัก เมล็ดสีชมพูซีด อายุเก็บเกี่ยวเมื่อปลูกในฤดูฝนประมาณ 100 วัน - พันธุ์พื้นเมือง
มีปลูกหลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่ปลูกสําหรับขายฝักสดทําถั่วต้ม มีเมล็ดสีแดง ฝักมี 3-4 เมล็ด ฝักค่อนข้างตรง เมล็ดแน่น อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 95 วัน - พันธุ์เกษตร 1
อายุประมาณ 120 วัน ขนาดฝักใหญ่ มี 2 เมล็ดต่อฝัก เมล็ดสีชมพูสด
ถ้าเกษตรกรปลูกในฤดูแล้ง ซึ่งมักมีอากาศเย็น การงอกและการเจริญเติบโตจะช้ากว่าการ ปลูกในฤดูฝน ดังนั้น อายุเก็บเกี่ยวของพันธุ์ที่กล่าวนี้จะล่าช้าออกไปอีกประมาณ 5-10 วัน
การเตรียมดิน
- ดินไร่
ไถเตรียมดินเช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่ทั่วไป คือ ไถดะ แปร และไถพรวน ย่อยดินให้เป็นก้อนเล็กพอควร ดินที่มีเนื้อเหนียวมาก ไม่เหมาะที่จะใช้ปลูกถั่วลิสง เพราะ การลงฝักและการเจริญเติบโตของฝักจะไม่ดี และยังทําใหัเก็บเกี่ยวลําบากอีกดัวย - ดินนา
ทําเช่นเดียวกับการเตรียมดินไร่ แต่ในบางแห่งอาจเตรียมดินนาโดยใช้แรงสัตว์ เพื่อยกร่องสําหรับปลูกและสะดวกแก่การให้นํ้า ดังนั้นระยะห่างระหว่างสันร่องอาจไม่สามารถทําได้ตามระยะที่ต้องการ
ในบางแห่งที่เป็นนาลุ่ม ความชื้นในดินดีและมีน้ำใต้ดินอยู่ตื้น การเตรียมดินอาจทําเช่นเดียวกับการเตรียมดินไร่ คือ ไม่ต้องยกร่องเพื่อให้นํ้าแต่ปลูกบนพื้น ราบตามระยะทีที่กำหนด ก่อนการพรวนดินครั้งสุดท้าย ถ้าดินเป็นกรดควรหว่านด้วยปูนขาว ปริมาณที่ใช้ขึ้นอยู่กับ ผลการตรวจวิเคราะห์ดิน นอกจากนี้ควรหว่านปุ๋ยลงไปก่อนพรวน ทั้งนี้เพื่อเป็นการคลุกเคล้าปุ๋ยลงดิน รากพืชจะมีโอกาสดูดใช้ปุ๋ยได้ดีขึ้น
วิธีปลูก
การปลูกให้ยึดหลัก “ดินเลวปลูกถี่ดินดีปลูกห่าง” คือ ถ้าดินดีให้ปลูกแถวห่างกว่าดินเลว การเลือกใช้ระยะระหว่างแถวที่พอเหมาะจะทําให้ได้ผลผลิตสูงสุด และยังเป็นการควบคุมวัชพืชได้ด้วย ถ้าปลูกแถวห่างเกินไป เมื่อต้นถั่ว เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว พุ่มใบยังคลุมไม่ชิดกัน นอกจากจะเป็นการสูญเสียพื้นที่ว่างเปล่าระหว่างแถวแล้ว ยังทําให้วัชพืชขึ้นมารบกวนได้ด้วย ระยะแถวที่เหมาะสําหรับพันธุ์ถั่วลิสงที่ใช้ปลูก มีดังนี้
- ถ้าปลูกถั่วลิสงในฤดูแล้ง และดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ ควรใช้ระยะระหว่างแถว ประมาณ 30 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม 20 เซนติเมตร ยกเว้นเมื่อปลูกในนาซึ่งอาจจะยกร่องให้แคบ ตามที่กำหนดได้ยาก ระยะแถวอาจกว้างกว่านี้ เพื่อสะดวกแก่การให้นําด้วย
- ถ้าปลูกในฤดูฝนและดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์พืช จะเจริญได้ดี ดังนั้น ควรใช้ระยะระหว่างแถวกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร
บนพื้นที่ดอน หลังจากพรวนดินครั้งสุดท้ายแล้ว ให้กะระยะแถวไว้ด้วยหลักเล็กๆ แล้วใช้เชือกขึงไปจนสุดขอบของแปลงอีกด้านหนึ่งจากนัน้ ก็หยอดเมล็ดเป็นหลุมๆ ตามแนวเชือกที่ขึง ให้ระยะห่างระหว่างหลุมประมาณ 20 เซนติเมตร ขอแนะนําให้ซื้อเครื่องหยอดเมล็ดแบบใช้มือถือ ลักษณะแบบเดียวกับที่ใช้หยอดข้าวโพด แต่ควรสั่งทําให้ได้ระยะห่างระหว่างหลุม 20 เซนติเมตร การใช้เครื่องหยอดแบบนี้สมารถปลูกได้เร็ว และควรลึกสมํ่าเสมอดีกว่าใช้วิธีขุดหลุมปลูก
ควรหยอดเมล็ดหลุมละไม่เกิน 2 เมล็ด และควรเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ดีมีความแข็งแรง ถึงจะไดต้นที่สมบูรณ์และเจริญเติบโตดี การหยอดมากกว่า 2 เมล็ด ต่อหลุมนอกจากไม่ช่วยเพิ่มผลผลิตแล้ว ยังทําให้สิ้นเปลืองเมล็ดอีกด้วย
ถ้าปลูกบนร่องก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน คือ หยอดเมล็ดตามข้างสันร่องทั้ง 2 ข้าง วิธีนี้จะได้ระยะระหว่างแถวบนสันร่องเดียวกันห่างกันประมาณ 25-30 เซ็นติเมตรเท่านั้นแต่ระหว่างสันร่องอาจห่างกันมากกว่า 50 เซ็นติเมตรซึ่งใช้เป็นร่องสําหรับให้น้ำ
การหยอดเมล็ดตามระยะปลูกที่กำหนดด้วยอัตราดังกล่าว จะต้องใช้เมล็ดพันธุ์ที่กะเทาะเปลือกแล้วประมาณ 15 ถึง 20 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ใช้ปลูก ถ้าเป็นพันธุ์พวกเมล็ดขนาดกลางอาจใช้ประมาณ 15 กิโลกรัม พันธุ์เมล็ดใหญ่ใช้ประมาณ 20 กิโลกรัม หรือเป็นนํ้าหนักทั้งเปลือกประมาณ 22 กิโลกรัม และ 30 กิโลกรัม ตามลําดับ
การเตรียมเมล็ดก่อนปลูก
เมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ปลูก ควรเลือกเมล็ดที่ได้มาจากต้นที่มีลักษณะตรงตามพันธุ์และเป็นเมล็ดใหมที่มีอัตราความงอกดี ดังนั้น เกษตรกรควรแน่ใจว่าเป็นเมล็ดที่มีคุณภาพดีทางที่ดีควรเก็บเมล็ดไว้ทําพันธุ์เอง
เมล็ดที่มีคุณภาพดีคือ เมล็ดที่กะเทาะด้วยมือ ถ้ากะเทาะด้วยเครื่องจะต้องคัดเมล็ด แตกหรือผิวถลอกออก และจะต้องรีบนําไปปลูกทันที การทิ้งเมล็ดที่กะเทาะด้วยเครื่องไว้นาน จะเสื่อมความงอกเร็วกว่าเมล็ดที่กะเทาะด้วยมือ ถ้าเกษตรกรใช้พันธุ์ประเภทเวอร์จิเนีย เมล็ดจะมีระยะพักตัว เมล็ดใหม่จะไม่งอก ดังนั้นจะต้องทิ้งไว้ในที่ที่เหมาะสมนานกว่า 2 เดือนจึงนําไปปลูก ถ้าเป็นเมล็ดใหม่ที่เก็บมาจากไร่ หากจะนําไปปลูกต้องทําลายระยะพักตัวก่อน คือหลังจากกะเทาะเมล็ดแล้วให้นําไปอบด้วยความร้อน ใช้อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 72 ชั่วโมง (ประมาณ 3 วัน ) ถึงแม้จะไม่สะดวกในทางปฏิบัติ สําหรับเกษตรกร แต่ก็เป็นวิธีเดียวที่ได้ผลดีในขณะนี้
การใช้เมล็ดขนาดเล็กหรือใหญ่ให้ผลไม่ต่างกัน ขอเพียงแต่ให้เป็นเมล็ดที่สมบูรณ์คือไม่เหี่ยวย่น หรือมีตําหนิ หรือเป็นเมล็ดที่มีกลิ่นเหม็นหืน ซึ่งแสดงว่าเป็นเมล็ดเก่า และไม่มีความแข็งแรงถึงแม้ว่า อาจงอกแต่ต้นกล้าจะเจริญเติบโตช้าและอ่อนแอกว่าเมื่อปลูกด้วยเมล็ดคุณภาพดี
ก่อนนําเมล็ดไปปลูก ควรปฏิบัติต่อเมล็ด ดังต่อไปนี้
- คลุกสารเคมี
ควรคลุกเมล็ดด้วยสารเคมีก่อนนําไปปลูก ทั้งนี้เพื่อป้องกันเชื้อราเข้าทําลายต้นกล้าที่งอกสารเคมีที่ใช้คลุกเมล็ด เช่น ไวตาแวกซ์ โดยใช้สาร 2 กรัม (ประมาณครึ่งช้อนชา) ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม ใช้วิธีคลุกแห้ง คือ เขย่าสารเคมีกับเมล็ดให้ทั่ว - คลุกเชื้อไรโซเบี้ยม
ถ้าหากดินไม่ดีและไม่เคยปลูกถั่วลิสงมาก่อน ควรใช้ไรโซเบี้ยมคลุกเมล็ดก่อนปลูก แต่ไม่ควรคลุกสารเคมี ต้องรีบปลูกเมล็ดที่คลุกไรโซเบีย้ มทันที และระวังอย่าให้เมล็ดตากแดดเพราะเชื้อจะตาย ควรอ่านและปฏิบัติตามข้อแนะนําการใช้เชื้อไรโซเบี้ยมจากข้างถุงอีกครั้งหนึ่ง
การปฏิบัติดูแลหลังปลูก
หลังจากหยอดเมล็ดเสร็จแล้ว ควรปฏิบัติดูแลและบํารุงรักษาแปลงปลูก ดังนี้
- ควรฉีดพ่นแปลงปลูกด้วยสารเคมีเพื่อควบคุมวัชพืช การฉีดสารเคมีประเภทคุมกําเนิด วัชพืชนี้มีข้อดีคือ จะช่วยควบคุมวัชพืชหลายชนิดได้นานประมาณ 1 เดือนซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรไม่ต้องเสียแรงงานกําจัดวัชพืชมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าปลูกถั่วลิสงในพื้นที่ขนาดใหญ่ มักจะดายหญ้าไม่ทันการมีวัชพืชขึ้นแข่งขันกับต้นถั่ว ในระยะแรก จะทําให้ผลผลิตลดลงมาก หรืออาจจะไม่ได้ผลผลิตเลยถ้าไม่มีการกําจัดวัชพืช
การฉีดสารเคมีต้องทําทันทีหลังปลูก และดินต้องมีความชื้้น พอควร ถ้าหลังจากฉีดแล้วไม่มีฝนตกเลยภายใน 7 วัน จะต้องฉีดใหม่ เพราะสารเคมีจะสูญสลายไม่สามารถทําลายวัชพืชที่ขึ้น ทีหลังได้ สารเคมีที่ใช้ได้ผลดีกับถั่วลิสง คือ พวกอะลาคลอร์ เช่น แลสโซ่หรือ จะใช้ดูอัลก็ได้ สารพวกนี้ต้องฉีดก่อนพืชงอก โดยฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลง ใช้สารเคมีอัตราประมาณ 500 ซีซี (ครึ่งลิตร) ผสมกับนํ้าฉีดให้ทั่วพื้นที่ 1 ไร่
- ในพื้นที่ให้น้ำได้ ถ้าดินที่เตรียมไว้แห้งเกินไป และเมื่อ ฉีดสารเคมีดังกล่าวมาแล้ว สิ่งที่ต้องปฏิบัติหลังจากปลูกแล้ว คือ การให้น้ำ ถั่วลิสงจะงอกภายใน 7 วันหลังปลูกจะต้องใหน้ำครั้งที่สองและครั้งต่อไปประมาณทุก 7-10 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ถั่วลิสงต้องการนํ้ามากในระยะออกดอกและมากที่สุดเมื่ออายุประมาณ 2 เดือน หลังจากนั้นก็จะต้องการนํ้าน้อยลง เกษตรกรต้องหมั่นสังเกตดูด้วย ถ้าถั่วลิสงเหี่ยวเฉาเวลาเที่ยงวันแสดงว่า ขาดนํ้า ควรรีบให้น้ำทดแทน
สําหรับในพื้นที่ที่อาศัยน้ำฝน การให้น้ำอาจทําตามกําหนดไม่ได้ เพราะต้องพึ่งพาธรรมชาติอย่างเดียวเท่านั้น
- เมื่อถั่วอายุประมาณ 28-30 วัน จะเริ่มออกดอก แต่ประเภทเวอร์จิเนียจะออกดอกเมื่ออายุประมาณ 35 วัน หากปลูกฤดูแล้งที่มีอากาศเย็น การออกดอกจะช้าออกไปอีกประมาณ 5 วัน ในระยะนี้สิ่งที่เกษตรกรจะต้องปฏิบัติในคราวเดียวกันคือ
3.1 การดายหญ้า ถึงแม้จะใช้สารเคมีคุมกําเนิดวัชพืช แต่เมื่อถึงช่วงนี้จะมีวัชพืช งอกมากขึ้น เพราะยาปราบวัชพืชหมดฤทธิ์คุม จึงจําเป็นต้องดายหญ้าช่วยครั้งแรก
3.2 เนื่องจากได้ใส่ปุ๋ยไปแล้วเมื่อตอนเตรียมดิน ดังนั้น หลังจากดายหญ้าแล้ว ควรพรวนดินกลบโคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปลูกบนที่ราบ ตามที่ไร่ทั่วๆ ไป การพรวน ดินกลบโคนจะช่วยทําให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นถ้าเกษตรกรเลือกปลูกถั่วพวกเวอร์จิเนีย ซึ่งต้องการธาตุแคลเซี่ยมมากกว่าถั่วพวกสแปนีช จะต้องหว่านปุ๋ย เช่น ผงยิบซั่ม บริเวณข้างแถว อัตราไร่ละประมาณ 25 กิโลกรัมแล้วจึงพรวนดินกลบโคน
ในแปลงปลูกถั่วลิสงแบบวิธียกร่อง การพรวนดินกลบโคนอาจทําได้ลําบาก แต่จําเป็นต้องดายหญ้า เพราะมักมีหญ้าขึ้นมาก การใส่ปุ๋ยยิบซั่ม อาจทําได้โดยการหว่านบนสันร่อง แล้วปุ๋ยจะละลายนํ้าลงไปในดินเอง
3.3 หลังจากนี้อาจจําเป็นต้องฉีดสารเคมีป้องกันโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปลูกถั่วลิสงในฤดูฝน โรคใบจุดมักจะเริ่มระบาด การฉีดสารเคมีแต่เนิ่นๆ จะป้องกันการระบาดได้ดีกว่าการฉีดเยียวยาแก้ไข สารเคมีที่ใช้ได้ผลดีมีชื่อการค้าว่า ดาโคนิล และ คาร์เบ็นดาซิมเป็นต้น โดยใชัสารประมาณ 30 กรัม ผสมกับนํ้า 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วใบ และฉีดห่างกันทุก 10-15 วัน รวมฉีดทั้งหมด 4-5 ครั้ง
- ถ้าพบว่ามีหนอนทําลาย หรือมีเพลี้ยจั๊กจั่นระบาด อาจผสมสารเคมีกําจัดแมลงฉีดพร้อมกับสารเคมีป้องกันโรค แต่ถ้าแมลงยังไม่รบกวนมาก ก็ไม่ต้องใช้สารฆ่าแมลง
- การปฏิบัติอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นการปฏิบัติตั้งแต่ปลูกถั่วลิสงจนถึงเมื่อถั่วอายุประมาณ 1 เดือนเศษๆ หลังจากนี้ให้คอยดูแลเรื่องการให้น้ำและการฉีดสารเคมีป้องกันแมลงตามความจําเป็น ถึงแม้จะมีแมลงศัตรูหลายชนิดที่ทำลายถั่วลิสง แต่ที่รุนแรงและมีผลต่อผลผลิตมีเพียง 2-3 ชนิดเท่านั้นต้องเลือกใช้สารเคมีให้ถูก ชนิดจึงจะได้ผล นอกจากนี้เกษตรกรอาจพิจารณากําจัดวัชพืชอีก 1 ครั้งขึ้นอยู่กับว่ามีวัชพืชมากน้อยเพียงใด ข้อควรตระหนัก คือ การเข้าไปดายหญ้าเมื่อถั่วลงฝักแล้ว อาจเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ดังนั้น การกําจัดวัชพืชครั้งแรกจึงตัองทําใหัดีถ้าถั่วขึ้นคลุมพื้นที่ดีแล้ว วัชพืชจะขึ้นได้น้อยจะมีก็เป็นเพียงหญ้าต้นเล็ก ๆ หรือพืชต้นใหญ่บางอย่างที่ขึ้นประปราย ซึ่งสามารถถอนทิ้งด้วยมือได้สะดวก เกษตรกรจึงต้องหมั่น ตรวจตราไร่อยู่เสมอ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้รอการเก็บเกี่ยวเท่านั้น
ปุ๋ยสำหรับถั่วลิสง
โดยทั่วไปดินที่ปลูกถั่วลิสงมักจะมีธาตุฟอสฟอรัสและไนโตรเจนตํ่า ส่วนธาตุอาหารหลักอื่น ๆ มักจะไม่ขาดแต่จําเป็นต้องได้เพิ่มเติมลงไปในดินในรูปของปุ๋ย ธาตุอาหารหลักที่จะต้องใส่ในรูปของปุ๋ยวิทยาศาสตร์เสมอคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซี่ยมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธาตุไนโตรเจน ควรจะใส่ลงไปในดินพร้อมกับปลูก เพราะพืชต้องการใช้ในการเจริญเติบโตตั้ง แต่เป็นต้นกล้า หลังจากนั้นพืชสามารถตรึงธาตุไนโตรเจนได้เองโดยเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในปมราก ความต้องการปุ๋ยของถั่วลิสง คล้ายกับพืชตระกูลถั่วชนิดอื่นๆ คือ ต้องการธาตุไนโตรเจน และโปแตสเซี่ยมค่อนข้างน้อย แต่ต้องการธาตุฟอสฟอรัสในปริมาณที่สูงกว่า ดังนั้น สูตรปุ๋ย สําหรับถั่ว ลิสงที่ทางราชการแนะนําให้ใช้จึงมักจะเป็นอัตราส่วนของธาตุอาหารทั้ง 3 ชนิด (ไนโตรเจน : ฟอสฟอรัส : โปแตสเซี่ยม) ดังนั้น 1 : 3 :2 หรือ 1 : 3 : 1 หรือ 1 : 2 : 1 เช่น ปุ๋ยสูตร
- 3-9-6 สําหรับดินที่ค่อนขัางอุดมสมบูรณ์
- 6-18-6 สําหรับดินที่อุดมสมบูรณปานกลาง
- 12-24-12 สําหรับดินที่อุดมสมบูรณ์น้อย
อย่างไรก็ตาม การจะได้ปุ๋ยสูตรดังกล่าว จะต้องใช้ปุ๋ยเดี่ยวมาผสมเองนอกจากสูตรที่ 3 ซึ่งในบางท้องที่มีปุ๋ยสําเร็จจําหน่าย หรือจะใช้สูตรใกล้เคียงกัน เช่น 13-27-13 ก็ได้ ตัวเลขสูตรปุ๋ยที่แสดงหมายความว่าปุ๋ย หนัก 100 กิโลกรัม จะมีธาตุไนโตรเจนฟอสฟอรัส และโปรแตสเซี่ยม เป็นจํานวนกิโลกรัมตามตัวเลขที่แสดงไว้ตามลําดับ ฉะนั้นในทางปฏิบัติแล้วถ้าเกษตรกรต้องการจะใช้ปุ๋ย สูตร 6-12-6 อาจจะซื้อปุ๋ยสําเร็จสูตร12-24-12 มาใช้ โดยใส่เพียง 50 กิโลกรัมต่อไร่ ก็จะได้ปุ๋ยตามที่ต้องการหรือใกล้เคียง ถ้าต้องการให้ได้สูตร 6-18-6 ก็สามารถเสริมด้วยแม่ปุ๋ยที่ให้ฟอสฟอรัสเข้าไปอีก
สําหรับธาตุอาหารชนิดอื่นๆ ดินส่วนใหญ่มักมีพอเพียง นอกจากดินบางชนิด เช่นดินดําที่มีสภาพเป็นด้าง ถั่วลิสงจะแสดงอาการขาดธาตุเหล็กรุนแรง จึงควรหลีกเลี่ยงการปลูกในพื้นที่ดังกล่าว
การเก็บเกี่ยว
อายุของถั่วลิสงเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวได้นั้น ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ใช้ปลูกและฤดูปลูก ดังได้กล่าวมาแล้วตอนต้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเกษตรกรพอจะทราบอายุการเก็บเกี่ยวของถั่วแต่ละพันธุ์แล้วก็ตาม แต่ควรจะต้องตรวจดูว่าถั่วลิสงแก่ได้ที่หรือยัง วิธีการง่ายๆ ก็คือออกไปสุ่มถอนต้นถั่วลิสงจากแปลงมาประมาณ 4-5 ต้น เมื่อถึงกําหนดตามอายุของพันธุ์นั้น เช่น ถ้าปลูกพันธุ์ไทนาน 9 ในฤดูฝน ซึ่งจะมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 100 วันนับจากวันปลูกหรือวันที่ได้รับนํ้า ก็ไปถอนต้นแล้วแกะฝักที่แก่ที่สุดของแต่ละต้นดู ประมาณต้นละ 2-3 ฝัก ถ้าพบว่ามีฝักแก่จัด 1-2 ฝัก โดยสังเกตดูว่า ภายในเปลือกเป็นสีน้ำตาลหรือดํา แสดงว่าฝักนั้น แก่จัด แล้วจะต้องทําการเก็บเกี่ยว เพราะว่าเป็นระยะที่เหมาะสมที่สุดที่จะได้ทั้งผลผลิตสูงและคุณภาพเมล็ดดีด้วย ถ้าหากทุกต้นที่สุ่มถอนมานั้น ยังไม่มีฝักที่แก่จัดเลย จะต้องรอไปอีกประมาณ 5-7 วัน จึงออกไปถอนต้นมาดูใหม่ อย่าเก็บเกี่ยวถั่วที่ยังไม่ถึงอายุเพราะจะได้ผลผลิตตํ่า หรืออย่าปล่อยถั่วทิ้งไว้ให้แก่เกินไป เพราะเมล็ดจะมีคุณภาพไม่ดี และอาจจะงอกคาต้นถ้าดินมีความชื้นมาก
ถ้าดินมีความชื้นพอเพียง การถอนจะทําได้สะดวก ไม่ควรปล่อยนํ้าเข้าท่วมแปลงเพื่อให้ดินอ่อน เพราะจะทําให้ฝักถั่วที่เก็บได้มีความชื้นสูงมากเกินไป ถ้าการตากแดดทําได้ไมดีจะมีปัญหาเรื่องเชื้อราเข้าทําลาย แล้วทําให้เกิดสารพิษอะฟลาท็อกซิน หรือไม่ควรให้ถั่วลิสงขาดนํ้าจนเกินไปก่อนเก็บเกี่ยวเพราะจะทําให้อ่อนแอ เชื้อราที่สร้างสารพิษที่มีอยู่จะเข้าทําลายได้ง่าย ถ้าการตากแดดไม่แห้งภายในเวลาสั้น ก็จะเกิดปัญหาเชื้อราทําลายรุนแรงยิ่งขึ้น
การเก็บเกี่ยวโดยการขุดและปลิดฝักทันที การเก็บเกี่ยวโดยการถอนแล้วผึ่งฝักก่อนทําการปลิดเมื่อเก็บเกี่ยวถั่วเสร็จแล้ว ควรวางฝักผึ่งแดดในแปลง ไม่ควรกองสุมกันและควรรีบปลิดฝักทันทีเพื่อ นําไปตากแดด ถ้ากองถั่วสุมกันขณะที่ฝักมีความชื้นสูงจะทําให้เกิดเชื้อราขึ้นได้และถ้าเป็นเชื้อราสีเขียวเข้าทําลายฝักจะมีปัญหาเรื่องสารพิษอะฟลาท็อกซินซึ่งทําให้ผลผลิตเสื่อมคุณภาพและยังเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
การตาก
ควรตากถั่วลิสงที่ปลิดแล้วบนพื้นที่สะอาด เช่น บนเสื่อ สังกะสี หรือ พื้นซีเมนต์เพราะจะทําให้ฝักแห้งได้เร็วขึ้น เกลี่ยฝักให้กระจายบางๆ และควรใช้คราดไม่ช่วยพลิกกลับถั่วที่ตากไว้บ่อย ๆ จะทําใหัแห้งเร็วขึน้ และอย่างทั่วถึง ถ้าแดดดีถั่วจะแห้งภายในเวลา 4-5วัน ถ้าแดดไม่ดีต้องหาวิธีทำให้แห้งโดยเร็วที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเชื้อราเขียวเข้าทําลายอย่างน้อยที่สุดการผึ่งและลมพัดผ่านสะดวกจะดีกว่าการเก็บกองหรือบรรจุถุง เพราะถัาถั่วยังไม่แห้งจะเกิดเชื้อราขึ้นดังกล่าวมาแล้ว
การกระเทาะ
เมื่อถั่วแห้งดีแล้ว ให้นํามากะเทาะเปลือก ซึ่งทําได้หลายวิธี เช่น กะเทาะด้วยมือกะเทาะด้วยเครื่องมือหมุนชนิดล้อยาง หรือใช้เครื่องกะเทาะที่ใช้เครื่องยนต์หรือไฟฟ้า การกะเทาะด้วยมือเสียเวลามาก แต่ได้เมล็ดถั่วที่มีคุณภาพดี ไม่แตกหักมาก และสามารถคัดเลือกเมล็ดเสียทิ้ง ไปได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมล็ดที่จะนําไปปลูกควรกะเทาะด้วยมือ
การกะเทาะด้วยเครื่องมือหมุนชนิดล้อยาง สามารถทําได้เร็วขึน้ แต่อาจมีปัญหาเรื่องเมล็ดแตกมาก และเมล็ดที่ได้มักจะมีผิวถลอกมาก ซึ่ง เป็นสาเหตุให้เชื้อราเข้าทําลายได้ง่าย ถ้าหากจะใช้ปลูก ไม่ควรทิ้ง เมล็ดไว้นานหลายวัน เพราะจะเสื่อมคุณภาพลงเรื่อยๆ และควรคลุกเมล็ดที่กะเทาะด้วยเครื่องนี้ด้วยสารเคมีก่อนปลูก เพื่อป้องกันเชื้อราในดินเข้าทําลาย สารเคมีที่ใช้ได้ผลดี คือ ไวตาแวกซ์ ใช้ในอัตรา 3 กรัม คลุกเมล็ดหนัก 1กิโลกรัม
การเก็บรักษา
การเก็บเมล็ดสําหรับทําพันธุ์ ควรตากฝักให้แห้งดี แล้วเก็บบรรจุถุงพลาสติกปิดปากถุงให้แน่น เพื่อไม่ให้ความชื้นข้างนอกเข้าไปได้ ซึ่งจะทําให้เสื่อมคุณภาพเร็ว และควรเก็บไว้ในบริเวณที่สะอาด และแห้ง ถ้าปฏิบัติตามนี้แล้วจะสามารถเก็บถั่วไว้ได้นานถึง 8-10 เดือน เมื่อจะปลูกจึงนํามากะเทาะด้วยมือ
สําหรับเมล็ดถั่วลิสงที่กะเทาะแล้ว ถ้าจะให้คงคุณภาพดีจะต้องเก็บรักษาไว้ในห้องเย็นประมาณ 10-15 องศาเซลเซียสและความชื้นต่ำ ถ้าเก็บไว้ในสภาพปกติทั่วไป เช่น เก็บไว้ในบ้านเรือน ถั่วลิสงที่กะเทาะเปลือกแล้วจะเสื่อมความงอกเร็วภายในเวลา 2-3เดือนและเสี่ยงต่อการเข้าทําลายของเชื้อรา
การใช้ประโยชน์
เนื่องจากเมล็ดถั่วลิสงมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีโปรตีนประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์และไขมันประมาณ 45-50 เปอร์เซ็นต์ จึงเหมาะสําหรับบริโภค การบริโภคนํ้ามันจากพืช ร่างกายจะได้รับมากกว่าน้ำมันจากสัตว์ ดังน้น จึงขอแนะนําให้นําถั่วลิสงมาใช้บริโภคร่างกายจะได้รับสารอาหารที่มีประโยชนต่อการเจริญเติบโต เพราะการรับประทานถั่วลิสง100 กรัม จะได้รับโปรตีน 25 กรัม แป้ง 20 กรัม พลังงาน 580 แคลอรี่ ไขมัน 50กรัม ไวตามินอีกหลายชนิดและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น โปแตสเซี่ยม ฟอฟอรัส แมกนีเซี่ยม แคลเซี่ยม โซเดียมและเหล็ก เป็นต้น
ข้อควรคํานึง คือ ถ้าจะนําถั่วลิสงมาใช้ประโยชน์จะต้องใช้ถั่วลิสงที่มีคุณภาพดี นั่นคือจะต้องปฏิบัติตามคําแนะนําให้ถูกต้อง โดยเฉพาะการปฏิบัติในระยะหลังเก็บเกี่ยว ซึ่งจะทําให้ได้ถั่วที่ปราศจากสารพิษและปลอดภัยต่อการบริโภค
การนําถั่วลิสงไปใช้ประโยชน์ในแง่อุตสาหกรรมแปรรูปต่าง ๆ เช่น ทํานํ้ามันปรุงอาหาร ทําเนยถั่วลิสง เนยเทียม ถั่วต้ม ถั่วทอด ถั่วเคลือบ ถั่วแผ่น นมถั่วลิสง แป้งโปรตีนถั่ว และอาหารคาวหวานอีกหลายชนิด กากถั่วลิสงที่เหลือจากการบีบนํ้ามันแล้วยังสามารถนําไปใช้ในอุตสาหกรรมทําอาหารสัตว์ได้อีกด้วย เป็นต้น
ต้นสดที่เหลือจาการปลิดฝักนํามาให้สัตว์กิน หรือตากแห้งเก็บไว้เลี้ยงสัตว์ ต้นถั่วลิสงที่เหลือจากการปลิดฝักแล้ว เมื่อนําไปตากแดดก็สามารถเก็บไว้ใช้เลี้ยงสัตว์ได้ด้วยเพราะมีโปรตีนประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ หรือ นําไปทําปุ๋ยหมักหรือไถกลบลงในดิน ก็จะเป็นปุ๋ยได้อย่างดี เปลือกถั่วลิสงที่เหลือจากการกะเทาะสามารถนําไปใช้คลุมดินหรือผสมกับดินเพื่อทําให้ดินร่วนซุยขึ้น
ราคาขาย
ราคาขายตลาดสี่มุมเมือง ณ วันที่ 19 มีนาคม 2565
- ถั่วลิสงเกษตร ดิบ (ใหญ่สวย) 230 บาท/ถัง
- ถั่วลิสงพื้นเมือง ดิบ (ใหญ่สวย) 230 บาท/ถัง
- ถั่วลิสงเกษตร ต้ม (ใหญ่สวย) 53 บาท/กิโลกรัม
- ถั่วลิสงพื้นเมือง ต้ม (ใหญ่สวย) 53 บาท/กิโลกรัม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com
https://www.simummuangmarket.com
One Comment