เล็บครุฑใบฝอย
ชื่ออื่นๆ : เล็บครุฑไซ่ง่อน, เล็บครุฑทอดมัน, เล็บครุฑตรี, เล็บครุฑใบฝอย, เล็บครุฑผักชี, เล็บครุฑเทศ, เล็บครุฑเต่า
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Ming aralia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polyscias fruticosa Harms.
ชื่อวงศ์ : Araliacaeae
ลักษณะของเล็บครุฑใบฝอย
ต้น : เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงราว 2 เมตร ลักษณะต้นเป็นข้อ ลำต้นอ่อนมีสีเขียวอ่อนแกมน้ำตาลอ่อน เมื่อลำต้นแก่เต็มที่ก็จะเปลี่ยนกลายเป็นสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นจะมีรอยแผลของกาบใบ
ใบ : เป็นใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน ขอบใบหยักย่อยละเอียด ปลายใบเรียวแหลม
ดอก : ออกเป็นช่อและติดกันเป็นกระจุก
การขยายพันธุ์ของเล็บครุฑใบฝอย
การปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่เล็บครุฑใบฝอยต้องการ
ประโยชน์ของเล็บครุฑใบฝอย
- ใบอ่อนชุบแป้งทอดรับประทาน ทานเป็นเครื่องเคียงขนมจีน น้ำพริก ลาบ เป็นต้น
- ชาวจีนและชาวเวียดนามใช้เป็นสมุนไพร รากเล็บครุฑใช้บรรเทาอาการเครียด อ่อนเพลีย ไอ
- ในใบและรากมีสารซาโปนิน โอลีน และพานาไซนอลซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
สรรพคุณทางยาของเล็บครุฑใบฝอย
- ใบ รสหอมร้อน ตำพอกแก้ปวดบวมอักเสบ
- ทั้งต้น รสฝาดหอม สมานแผล แก้ไข้
- ราก รสร้อนหอม ต้มดื่ม ขับปัสสาวะ ระงับประสาท แก้ปวดข้อ
คุณค่าทางโภชนาการของเล็บครุฑใบฝอย
การแปรรูปของเล็บครุฑใบฝอย
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9790&SystemType=BEDO
ทางเหนือใช้ใบอ่อนใส่แกงอ่อมไก่