แก่นตะวัน หรือทานตะวัน เป็นพืชดอกในตระกูลทานตะวัน
ชื่ออื่นๆ : ทานตะวันหัว แห้วบัวตอง
ต้นกำเนิด : เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตหนาวของอเมริกาเหนือ
ชื่อสามัญ : Sunchoke
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helianthus tuberosus
ชื่อวงศ์ : วงศ์ทานตะวัน
ลักษณะของแก่นตะวัน
แก่นตะวัน เป็นพืชล้มลุก มีหัวสะสมอาหาร หัวเป็นตะปุ่มตะป่ำ ไม่เรียบ คล้ายหัวของขิงและข่ามีสีหลายสี เช่น สีขาว สีเหลือง สีแดง สีม่วง รับประทานได้ ผิวใบสาก ใบรีรูปไข่ บางพันธุ์มีขอบใบหยักลักษณะต้น สูง 1.5-2.0 ม. มีขนตามกิ่งและใบ ดอก เป็นทรงกลมแบน สีเหลือง คล้ายดอกทานตะวันหรือบัวตอง ออกดอกเป็นช่อ สีเหลืองคล้ายดอกทานตะวัน มีโครโมโซมเป็น hexaploid เป็นพืชวันสั้น ช่วงแสงวิกฤตน้อยกว่า 14 ชั่วโมง การเจริญเติบโตของแก่นตะวันมีสองช่วง ช่วงแรกนับตั้งแต่ปลูกจนถึงออกดอกครั้งแรก แก่นตะวันจะสะสมอาหารในใบและลำต้น ช่วงที่สองหลังจากดอกแรกบานจนถึงระยะเก็บเกี่ยว ใบจะหลุดร่วง อาหารสะสมที่ใบถูกส่งไปที่หัว
การขยายพันธุ์ของแก่นตะวัน
ใช้หน่อที่มีตาอยู่ด้วย แล้วนำปลูกลงในแปลงดิน
ธาตุอาหารหลักที่แก่นตะวันต้องการ
–
ประโยชน์ของแก่นตะวัน
หัวใช้รับประทานสดเป็นผัก ใช้ทำขนมหรือต้มรับประทานภายในหัวมีน้ำ 80% และคาร์โบไฮเดรตประมาณ 18% โดยคาร์โบไฮเดรตส่วนใหญ่เป็นอินนูลิน (Inulin) เป็นสารเยื่อใยอาหารที่ให้ความหวาน จะไม่ถูกย่อยในกระเพาะ และลำไส้เล็ก อยู่ในระบบทางเดินอาหารเป็นเวลานาน ทำให้ไม่รู้สึกหิว กินอาหารได้น้อย ช่วยลดความอ้วนและป้องกันโรคเบาหวาน ในเชิงอุตสาหกรรมใช้หัวแก่นตะวันเป็นวัตถุดิบสำหรับสกัดน้ำตาลอินนูลินได้
ต้นแก่นตะวัน(1)
สรรพคุณทางยาของแก่นตะวัน
ช่วยลดความอ้วน ป้องกันไขมันในเลือดสูง ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี สร้างภูมิคุ้มกัน ระบบขับถ่าย และมะเร็งลำไส้
คุณค่าทางโภชนาการของแก่นตะวัน
หัวแก่นตะวันมีคาร์โบไฮเดรต มี โพแทสเซียม 650 mg ต่อ 150g มีเหล็กสูง และมีเส้นใย ไนอาซิน ไทอามีน ฟอสฟอรัส และทองแดง
การแปรรูปของแก่นตะวัน
หัวแก่นตะวัน เป็นวัตถุดิบแปรรูปเป็นเอทานอล สุรา ใช้ปรุงอาหารแทนมันฝรั่ง และทำส้มตำ นำไปผสมกับกาแฟ ทำชาแก่นตะวัน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https:// th.wikipedia.org
https:// www.rama.mahidol.ac.th
One Comment