แก้วกาญจนา
ชื่ออื่นๆ : เขียวหมื่นปี หรือ อโกลนีมา
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : แก้วกาญจนา (Aglaonema)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aglaonema modestum
ชื่อวงศ์ : Araceae
ลักษณะของแก้วกาญจนา
ต้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก อายุหลายปี ทุกส่วนอวบน้ำ เมื่ออายุมากขึ้นมักทิ้งใบล่าง เห็นข้อและปล้องชัดเจน
ใบ ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับ รูปใบมีหลายแบบ ทั้งรูปรี รูปไข่ รูปรีแกมรูปขอบขนาน และรูปแถบ ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ปัจจุบันปรับปรุงพันธุ์ให้มีลวดลายและสีสันแปลกตาขึ้น ทั้งสีส้ม แดง ชมพู และเหลือง
ดอก เป็นช่อเชิงลด ออกที่ซอกกาบใบใกล้ปลายยอด มีกาบหุ้มช่อดอกอีกชั้นหนึ่ง ออกดอกตลอดปี
ผล สดมีเนื้อทรงรี เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีแดงอมส้ม สีขาว หรือสีเหลือง ขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ ภายในมี 1 เมล็ด

การขยายพันธุ์ของแก้วกาญจนา
แยกหน่อ ปักชำ เพาะเมล็ด และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ธาตุอาหารหลักที่แก้วกาญจนา ต้องการ
ประโยชน์ของแก้วกาญจนา
เลี้ยงเพื่อความสวยงามและเป็นไม้มงคล
สรรพคุณทางยาของแก้วกาญจนา
- รากและใบมีรสจืด ขมเล็กน้อย เป็นยาเย็น มีพิษเล็กน้อย ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไทรอยด์
- ใช้เป็นยาแก้อาการไอเป็นเลือด แก้อาการไอเนื่องจากปอดมีความร้อน แก้ไอหืดหอบ ใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ คอบวมอักเสบ ด้วยการใช้รากเขียวหมื่นปีนำมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลกคั้นเอาน้ำ ผสมกับน้ำเย็น ใส่เกลือเล็กน้อย นำมาใช้เป็นยาอมกลั้วคอ
- ใช้เป็นยาแก้คอตีบ ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 8-20 กรัม ตำให้แหลก นำมาต้มกับน้ำรับประทานหรือนำมาคั้นเอาน้ำแล้วผสมกับน้ำส้มสายชูเล็กน้อย ใส่น้ำเย็น แล้วนำมาอมกลั้วคอ
- ใช้เป็นยาแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
คุณค่าทางโภชนาการของแก้วกาญจนา
การแปรรูปของแก้วกาญจนา
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11187&SystemType=BEDO
www.flickr.com
One Comment