แก้วเจ้าจอม ไม้ประดับให้ร่มเงา เป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

แก้วเจ้าจอม

ชื่ออื่นๆ : แก้วเจ้าจอม

ต้นกำเนิด : ทวีปอเมริกาใต้และหมู่เกาะเวสต์อินดีส นำมาปลูกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5

ชื่อสามัญ : Kaeo chao chom, Lignum vitae

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Guaiacum officinale L.

ชื่อวงศ์ : ZYGOPHYLLACEAE

ลักษณะของแก้วเจ้าจอม

ต้น ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 10-15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมค่อนข้างหนาทึบ เปลือกต้นสีเทาเข้ม กิ่งมีข้อพองเห็นเป็นปุ่มๆ ทั่วไป กิ่งค่อนข้างแบน

ใบ ใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่ เรียงตรงข้าม มีทั้งชนิดที่มีใบย่อย 2 คู่ และ 3 คู่ ใบรูปรีเบี้ยวเล็กน้อย รูปไข่กว้าง หรือรูปไข่กลับ ใบย่อยมีขนาดไม่เท่ากัน ใบย่อยคู่ปลายกว้าง 1.8-2 เซนติเมตร ยาว 3.2-3.5 เซนติเมตร ใบย่อยคู่ที่อยู่ช่วงโคนกว้าง 1.2-1.6 เซนติเมตร ยาว 2.5-2.7 เซนติเมตร ปลายใบใน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน หลังใบสีอ่อนกว่า มีจุดสีส้มที่โคนใบย่อยด้านบน หูใบและใบประดับขนาดเล็ก ร่วงง่าย

แก้วเจ้าจอม
แก้วเจ้าจอม เรือนยอดทรงกลมค่อนข้างหนาทึบ

ดอก ดอกสีฟ้าอมม่วงหรือสีฟ้าคราม สีจะจางลงเมื่อใกล้โรย กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ โคนเชื่อมติดกันเล็กน้อย มีขน ร่วงง่าย กลีบดอก 5 กลีบ รูปรีหรือรูปไข่ กว้างประมาณ 1 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน สีฟ้า อับเรณูที่ปลายมีสีเหลืองออกดอกเดี่ยว แต่อยู่รวมกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง 3-4 ดอก ก้านดอกยาว 1-1.5 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม.

ผล ผลเดี่ยว รูปร่างกลมแป้นหรือรูปหัวใจกลับ เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 ซม. มีครีบ 2 ข้าง เมื่อแก่เป็นสีเหลืองหรือสีส้ม ก้านผลยาว 1.5-3 ซม. เมล็ด 1-2 เมล็ด สีน้ำตาล

ดอกแก้วเจ้าจอม
ดอกแก้วเจ้าจอม สีฟ้าอมม่วงหรือสีฟ้าคราม

การขยายพันธุ์ของแก้วเจ้าจอม

การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่แก้วเจ้าจอมต้องการ

ประโยชน์ของแก้วเจ้าจอม

  • เป็นไม้ประดับกระถาง ตกแต่งประดับภายในและภายนอกอาคาร
  • เป็นไม้พุ่มสวยเหมาะปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา ตกแต่งสวน
  • ใช้เป็นยาสมุนไพรจากทุกส่วนของลำต้น โดยเฉพาะยางจากเนื้อไม้ในธรรมชาติซึ่งยางไม้นี้มีสีน้ำตาลอมเขียว ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิดในปริมาณค่อนข้างสูง ซึ่งมีคุณสมบัติในการรักษาโรค ได้แก่ แก่นไม้ ยางไม้ธรรมชาติ

เชื่อกันว่าแก้วเจ้าจอมคือ”ต้นไม้มงคล” เนื่องจากมีชื่อมงคล นามมงคล ว่า เจ้าจอม (เพื่อระลึกถึงรัชการที่ 5) ในสมัยนั้น ต้นแก้วเจ้าจอมคือต้นไม้ที่ทรงปลูกไว้ในวังเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันดอกแก้วเจ้าจอมเป็นดอกไม้ประจำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผลแก้วเจ้าจอม
ผลแก้วเจ้าจอม ผลสีเหลือง รูปร่างกลมแป้นหรือรูปหัวใจกลับ

สรรพคุณทางยาของแก้วเจ้าจอม

  • ยางไม้ ใช้เป็นยาขับเสมหะ ยาระบาย ขับเหงื่อ แก้ข้ออักเสบ ใช้ร่วมในยาฟอกเลือด ทำเป็นยาอมแก้ต่อมทอนซิลและหลอดลมอักเสบ ละลายในเหล้ารัมและเติมน้ำเล็กน้อยใช้อมกลั้วคอแก้เจ็บคอ กินแก้ปวดท้อง และใช้ใส่แผล
  • น้ำคั้นจากใบกินแก้อาการท้องเฟ้อ
  • เปลือกและดอกเป็นยาระบาย ยาชงจากดอกเป็นยาบำรุงกำลัง

คุณค่าทางโภชนาการของแก้วเจ้าจอม

การแปรรูปของแก้วเจ้าจอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9895&SystemType=BEDO
www.royalparkrajapruek.org, www.rspg.or.th, www.flickr.com

Add a Comment