แตงกวา มีรสหวาน นิยมรับประทานดิบ

แตงกวา

ชื่ออื่นๆ : แตงชั้ง, แตงร้าน, แตงขี้ไก่, แตงขี้ควาย (ภาคเหนือ) แตงฮัม, แตงเห็น (เชียงใหม่) แตงปี, แตงยวง (แม่ฮ่องสอน) ตาเสาะ (เขมร) อึ่งกวย (จีน)

ต้นกำเนิด : ประเทศอินเดีย

ชื่อสามัญ : Cucumber

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucumis sativus Linn

ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae

ลักษณะของแตงกวา

ต้น มีลำต้นเดี่ยว เป็นเถาเลื้อย ลำต้นมีลักษณะกลมๆ เถาแข็งและเหนียว มีสีเขียว มีอายุสั้น มีอายุเพียงปีเดียว หรือฤดูเดียว ลำต้นม้วนพันสิ่งยึดเกาะได้ดี ลำต้นมีขนหยาบ

ราก มีระบบรากแก้ว แทงลึกลงดิน มีลักษณะกลมเล็กๆ มีรากแขนงรากฝอยเล็กๆ ออกรอบๆ มีสีน้ำตาล

ใบ เป็นใบประกอบแบบฝ่ามือ มีลักษณะรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม มีสีเขียว มีก้านใบยาวรองรับ ใบมีขนหยาบ

ผล มีลักษณะทรงกลม ทรงกระบอก เรียวยาว มีใส้ภายในผล มีเมล็ดเรียงกันอยู่ เนื้อแน่นฉ่ำน้ำ มีรสชาติกรอบอร่อย แตงกวาพันธุ์พื้นเมืองของไทย มีขนาดผลเล็กกว่า พันธุ์ต่างประเทศ ผลมีสีเขียวเข้ม ใช้รับประทานเมื่อยังอ่อน

เมล็ด อยู่ภายในผล จะมีหลายเมล็ดในผล ภายในไส้มีเมล็ดเรียงกันอยู่ เมล็ดมีลักษณะทรงยาวรี เมล็ดมีสีน้ำตาล

ต้นแตงกวา
ต้นแตงกวา ลำต้นเถาเลื้อย ใบหยาบมีขน

การขยายพันธุ์ของแตงกวา

ใช้เมล็ด หลังจากหยอดเมล็ดแตงกวาแล้วควรรดน้ำทันที โดยวิธีการฉีดพ่นให้เป็นฝอยละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปริมาณน้ำที่ให้นั้นไม่ควรให้ปริมาณที่มากเกินไป ในช่วงฤดูร้อน ควรจะให้น้ำวันละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ให้ตรวจดูความชื้นก่อนการให้น้ำทุกครั้ง ถุงเพาะกล้านี้ควรเก็บไว้ในที่แดดไม่จัดหรือมีการใช้วัสดุกันแสงไม่ให้มากระทบต้นกล้ามากจนเกินไป เมื่อแตงกวา เริ่มงอกให้หมั่นตรวจดูความผิดปกติของต้นกล้าเป็นระยะ ๆ หากมีการระบาดของแมลงหรือโรคพืช ต้องรีบกำจัดโดยเร็ว และเมื่อต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 3-4 ใบ จะอยู่ในระยะพร้อมที่จะย้ายปลูก

ธาตุอาหารหลักที่แตงกวาต้องการ

ประโยชน์ของแตงกวา

แตงกวามีรสหวาน รับประทานดิบ มีน้ำตาล โปรตีน วิตามิน เอ บี ซี ดี แตงกวาจึงถูกนำมาทำเป็นผักจิ้มน้ำพริกที่แสนอร่อย นำมาผัดรับประทานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น แตงกวาผัดไข่ ใส่ใน ผัดเปรี้ยวหวาน หรือนำไปใส่ในยำ และแตงกวายังเป็นผักที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป ขายเป็นกิโลกรัม ขายเป็นกอง หรือเป็นถุงราคาค่อนข้างถูก คนไทยทุกภาคนิยมกินแตงกวากันทั้งนั้น คนเหนือ คนอีสานกินแตงกวากับน้ำพริกต่างๆ กินกับลาบ คนภาคกลางก็กินกับน้ำพริก คนใต้ก็มีแตงกวาเป็น “ผักเหนาะ” ชนิดหนึ่งในจานผักที่หลากหลายที่นิยมกินกับอาหารใต้ที่มีรสจัด

ผลแตงกวา
ผลแตงกวา กลมยาวทรงกระบอก มีไส้ภายในผล

สรรพคุณทางยาของแตงกวา

สรรพคุณทางยา :
น้ำแตงกวา ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไข้ กระหายน้ำ ไฟลวก
ใบ สามารถใช้แก้ท้องเสีย บิด
เถา ช่วยลดความดันโลหิตได้
เมล็ดแก่ ใช้เป็นยาขับพยาธิ
ผลและเมล็ดอ่อน มีสรรพคุณฝาดสมาน เสริมการทำงานของระบบประสาท ช่วยความจำ ลดอาการนอนไม่หลับ แก้กระหายน้ำ มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ขับปัสสาวะ ทำให้ผิวขาวใสและนุ่มนวล ช่วยบำรุงผมและเล็บ สำหรับผู้ที่เป็นโรคเกาต์และบวมน้ำถ้ากินเป็นประจำ ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ

สรรพคุณ : แตงกวา 3-4 ลูก ล้างให้สะอาด หั่นเป็นแว่น ใส่โถปั่นให้ละเอียด กรองเอาแต่น้ำมาทาผิวหน้า ช่วยบำรุงผิวให้ชุ่มชื่น ถ้ารู้สึกว่าตาอิดโรย เพราะใช้สายตามาก ๆ ให้ฝานแตงกวาที่แช่ไว้ในตู้เย็นจนเย็นเป็นแผ่นบาง ๆ วางไว้บนเปลือกตากสัก 2-3 นาที จะช่วยให้รู้สึกสบายขึ้นและคลายอาการปวดตา หรือจะวางไว้ให้ทั่วใบหน้าเพื่อเพิ่มความสดชื่นให้กับผิวหน้า และแตงกวา ตากแห้งนำมาใส่เครื่องปั่นเป็นผง เวลาใช้นำมาผสมน้ำพอเหลวพอกหน้าแทนครีม พอกหน้า ช่วยลดความมันบนผิวหน้า ทำให้ผิวหน้านุ่มนวลขึ้น

เนื้อผลแตงกวา
เนื้อผลแตงกวา มีใส้ภายในผล มีเมล็ดเรียงกันอยู่ เนื้อแน่นฉ่ำน้ำ

คุณค่าทางโภชนาการของแตงกวา

คุณค่าทางโภชนาการของแตงกวาพร้อมเปลือก ต่อ 100 กรัม พลังงาน 16 กิโลแคลอรี

  • คาร์โบไฮเดรต   3.63 กรัม
  • น้ำตาล   1.67 กรัม
  • เส้นใย   0.5 กรัม
  • ไขมัน    0.11 กรัม
  • โปรตีน   0.65 กรัม
  • น้ำ    95.23 กรัม
  • วิตามินบี 1   0.027 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 2   0.033 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี 3   0.098 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินบี 5   0.259 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี 6   0.04 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี 9   7 ไมโครกรัม 2%
  • วิตามินซี     2.8 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินเค   16.4 ไมโครกรัม
  • ธาตุแคลเซียม   16 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุเหล็ก    0.28 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุแมกนีเซียม    13 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุแมงกานีส    0.079 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุฟอสฟอรัส    24 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุโพแทสเซียม    147 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุโซเดียม    2 มิลลิกรัม 0%
  • ธาตุสังกะสี     0.2 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุฟลูออไรด์   1.3 ไมโครกรัม 11%

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

การแปรรูปของแตงกวา

การนำแตงกวาไปแปรรูปเป็น แตงกวาดอง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11088&SystemType=BEDO
https ://www.opsmoac.go.th
https://www.flickr.com

Add a Comment