แตงไทย ผลอ่อนของแตงไทยนำมาทานเป็นผักสด ผลสุกทานสดหรือทำเป็นของหวาน

แตงไทย

ชื่ออื่นๆ : แตงลาย, มะแตงลาย, มะแตงสุก, แตงจิง, ดี, ซกเซรา

ต้นกำเนิด : เอเชียแถวเชิงเขาหิมาลัย

ชื่อสามัญ : Musk Melon

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucumis melo Linn.

ชื่อวงศ์ : CUCURBITACEAE

ลักษณะของแตงไทย

ต้น เป็นเถาเลื้อยทอดไปตามพื้นมากกว่าจะชอบยึดเกาะ

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ใบเป็นแฉก ใบมีขน ขอบใบหยัก

ดอก ดอกสีเหลือง กลีบดอกมี 5 กลีบ

ผล ผลรูปกลม อาจมีลายตามยาวของลูกหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งอาจถือเป็นความหลากหลายของแตงไทย ไม่เคยมีลูกไหนเหมือนกันเลย บางลูกก็กลม บางลูกเขียวเข้ม ทั้งบที่แก่จัดแล้ว บางลูกสีเหลืองนวลเฉย ๆ หรือบางลูกก็มีลาย ทั้งลายทางและลายประไปทั่วลูก สีเขียวบ้างสีเหลืองบ้างต่าง ๆ กันไป แตงไทย เป็นพืชไม้เลื้อยที่ปลูกได้ง่าย หากคุณซ้อแตงไทยแก่ ๆ คว้านเมล็ดออกและกินเนื้อในหมดแล้ว นำเมล็ดนั้นไปผึ่งแดดให้แห้ง แล้วก็เอาไปโรย ๆ ทิ้ง ๆ ไว้ริมรั้ว สักพักต้นแตงไทยน้อย ๆ ก็จะออกมาชมโลก แม้แตงไทยจะขึ้นง่ายดายในทุกภูมิประเทศ แต่หากจะให้ดีก็ต้องเตรียมดอนกันสักหน่อย แตงไทยชอบดอนที่ระบายน้ำได้ดี หรืออเป็นดอนที่มีทรายปนอยู่ในปริมาณมาก แตงไทยจะให้ผลผลิตในช่วงเดือนกรกฎาคม

ต้นแตงไทย
ลำต้นเป็นเถาเลื้อย มีขนอ่อน ปกคลุมตลอดทั้งลำต้นและใบ

การขยายพันธุ์ของแตงไทย

ใช้เมล็ด/การเตรียมเพาะกล้า
นำเอาเมล็ดแตงไทยห่อหุ้มด้วยผ้าเปียกน้ำผสมน้ำสกัดชีวภาพเจือจาง 1 ต่อ 1,000 นาน 2 คืน เมล็ดจะงอกราก

การเตรียมถุงเพาะ
ดินร่วนซุย 1 ปีบ ปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 ปีบ แกลบดำ 1 ปีบ ผสมให้เข้ากันใส่ถุงเพาะกล้ารดน้ำให้ชุ่ม หยอด
เมล็ดแตงไทยลงไปเพาะจนต้นกล้ามีใบแท้ 2 ใบ หรือประมาณ 2 วัน ก็เอาไปปลูกได้

วิธีการปลูกและการเตรียมดิน

  1. ถ้าปลูกในพื้นที่กว้าง ไม่ต้องยกร่อง ให้ทำร่องระบายน้ำป้องกันน้ำฝนท่วม
  2. เตรียมหลุมให้ห่างกัน 1.50 x 1.50 เมตร รองก้นหลุมด้วยป๋ยหมักชีวภาพ 1 กก. ต่อหลุมคลุมด้วยฟาง รดน้ำ
  3. แยกฟางออก แล้วปลูกต้นกล้าลงหลุม ๆ ละ 1 ต้นรดน้ำผสมน้ำหมักชีวภาพ
  4. เติมปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 กำมือ ต่อต้น ทุกสัปดาห์ แล้วรดน้ำผสมน้ำหมักชีวภาพ
  5. เมื่อแตงไทยมีใบจริง 4 ใบให้เด็ดยอดออก ต่อมาจะมียอดแขนงแตกออกมา 4 เถาเมื่อ 4 เถาเลื้อยทอดยอดยาว 2 ฟุต ให้เด็ดยอดอีก จะมีเถาแขนงแตกออกมาอีก เถาแขนงรุ่น 3จะมีผลที่ใบที่ 1 และใบที่ 2 เมื่อผลโตประมาณเท่าปากกา ให้ใช้ฟางคลุมผลเมื่ออำพลางแมลงวันทองแล้วเด็ดยอดแขนงที่มีผลนี้ เพื่ออาหารไม่ต้องเลี้ยงยอด ทำให้ผลโตเร็ว
  6. เมื่อผลโตเท่ากำปั้น ให้รองก้นด้วยฟางป้องกันแมลงเสี้ยนดิน
  7. แตงไทย 1 ต้นจะให้ผลมากกว่า 10 ผล
  8. ควรปลิดผลที่ไม่สวย หรือมีตำหนิทิ้ง
  9. ถ้าต้องการขายผลแตงอ่อนให้เด็ดยอดเถาทุกวัน
  10. ควรฉีดสะเดาหมักป้องกันแมลงเต่าทอง ตอนต้นแตงยังอ่อน มีเถายางประมาณ 1- 2 ฟุต

ธาตุอาหารหลักที่แตงไทยต้องการ

ประโยชน์ของแตงไทย

  • ผลอ่อนของแตงไทยนำมากินเป็นผักสดจิ้มน้ำพริกหรือนำไปดอง
  • ผลสุกมีรสจืดหรืออมหวานเล็กน้อย เนื้อซุย ชุ่มน้ำ กลิ่นหอม นิยมกินสดหรือทำของหวาน เช่น น้ำกะทิแตงไทย และทำน้ำปั่น
  • ทำเป็นผลไม้แห้งได้ บางพันธุ์ปลูกเพื่อนำเมล็ดไปสกัดน้ำมัน บางชนิดปลูกเพื่อต้องการนำกลิ่นหอมไปใช้ประโยชน์
ผลแตงไทย
ผลแก่เปลือกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผิวเรียบเป็นมัน

สรรพคุณทางยาของแตงไทย

  • ราก น้ำต้มราก กินเป็นยาทำให้อาเจียน และระบาย ดอก ดอกอ่อนตามแห้ง ต้มกินเป็นยาทำให้อาเจียน แก้โรคดีซ่าน บดเป็นผงใช้พ่นแก้แผลในจมูก.
  • ผล กินได้เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ขับน้ำนม ขับเหงื่อ บำรุงหัวใจ สมอง และแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เมล็ด กินได้ เป็นยาเย็น ขับปัสสาวะให้น้ำมันที่ใช้เป็นอาหารได้ เป็นยาช่วยย่อย และแก้ไอ

คุณค่าทางโภชนาการของแตงไทย

แตงไทยมีคาร์โบไฮเดรด แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินซี

การแปรรูปของแตงไทย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11295&SystemType=BEDO
www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment