แห้ว ผลนำมารับประทานเป็นของหวาน หัวขนาดใหญ่นิยมรับประทานสด หัวขนาดเล็กใช้ผลิตแป้ง

แห้ว

ชื่ออื่นๆ : แห้วจีน หรือ แห้วทรงกระเทียม

ต้นกำเนิด : ประเทศจีน

ชื่อสามัญ : Water Chestnut

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eleocharis dulcis

ชื่อวงศ์ : Cyperaceae

ลักษณะของแห้ว

เป็นพืชหลายฤดู เป็นพืชกึ่งพืชน้ำ มีเหง้าใต้ดิน เหง้าสั้นมีไหลยาว หัวกลมแบนเกิดในส่วนปลายไหล สีน้ำตาลหรือสีดำ ขึ้นเป็นกอ ลำต้นแข็งแรง ลำต้นตรง กลม ใบย่อส่วนเหลือเพียงโคนกาบหุ้มไม่มีแผ่นใบ สีน้ำตาลแดงหรือสีม่วง ยาว 15-20 เซนติเมตร ช่อดอกเดี่ยวเป็นช่อเชิงลด ดอกช่อยาว 1.5 -3.0 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นแบบ spike ยาว 2-5 เซนติเมตร มีริ้วประดับเป็นเยื่อบางๆ กลีบดอกคล้ายเส้นด้ายสีขาวหรือสีน้ำตาล ผลเป็นผลแห้งเมล็ดล่อน สีเหลืองมันจนถึงสีน้ำตาล

ต้นแห้ว
ต้นแห้ว พืชกึ่งพืชน้ำ มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นตรง กลม

การขยายพันธุ์ของแห้ว

ไหลหน่อ และเมล็ด ชอบที่ชื้นแฉะ พบในพื้นที่ลุ่มที่รกร้าง หนองน้ำและนาข้าว

ธาตุอาหารหลักที่แห้วต้องการ

ประโยชน์ของแห้ว

นำมารับประทานเป็นของหวาน หัวขนาดใหญ่นิยมรับประทานสด หัวขนาดเล็กใช้ผลิตแป้ง ในฟิลิปปินส์ใช้ทำข้าวเกรียบ
ลำต้นใช้สานเสื่อหรือเป็นอาหารสัตว์

ผลแห้ว
ผลแห้ว ผลเป็นผลแห้งเมล็ดล่อน สีเหลืองมันจนถึงสีน้ำตาล

สรรพคุณทางยาของแห้ว

นำแห้วสดมาทุบให้ได้ปริมาณ 40 กรัม แล้วนำไปต้มน้ำดื่ม หรือกินแห้วสด เพื่อรักษาอาการดีซ่าน แก้ร้อนใน ตาแดง แก้อาการขัดเบาและเจ็บคอ

ใช้แห้วพอประมาณต้มกับน้ำให้เดือด ผสมเหล้า 2 ช้อนชา ดื่มขณะอุ่นๆ รักษาอาการเลือดออกทวารหนักและริดสีดวงทวาร

คุณค่าทางโภชนาการของแห้ว

การแปรรูปของแห้ว

ทำแห้วกระป๋อง  ข้าวเกรียบแห้ว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9965&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment