โทะ ผลมีสีม่วงคล้ำถึงดำ มีเมล็ดมาก

โทะ

ชื่ออื่นๆ : พรวดกินลูก (ปราจีนบุรี) ซวด (จันทบุรี) ง้าย ชวด พรวด (ตราด) พรวดใหญ่ (ชลบุรี)
พรวดผี (ระยอง) โท๊ะ (สงขลา) กาทุ (ชุมพร) ทุ, โทะ (ภาคใต้) กามูติง, กามูติงกายู, มูติง (มลายู)
ปุ้ย (เขมร)

ต้นกำเนิด : เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ในอินเดีย ศรีลังกา และทางตอนใต้ของจีน

ชื่อสามัญ : Downy rose myrtle

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhodomyrtus tomentosa (Aiton) Hassk

ชื่อวงศ์ : MYRTACEAE

ลักษณะของโทะ

ต้นโทะ เป็นไม้ยืนต้น สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีขาว

ใบ ใบเดี่ยวเรียง ตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีถึงรูปขอบขนาน ยาว 5-10 ซม. กว้าง 3-5 ซม. ด้านบนเกลี้ยง
ด้านล่างมีขนสีขาวเป็นปุย ปลายใบทู่ โคนใบสอบ มีเส้นใบ 3 เส้น จากโคนจรดปลายใบ ก้านใบยาวประมาณ 5 มม.

ดอก  ดอกสีชมพูกุหลบ  เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 ซม. ออก 1-2 ดอกตามง่ามใบ ออกดอกทั้งปี

ผล ผลแก่สีม่วงคล้ำถึงดำรูปกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. มีขนสีขาวสั้นๆ มีเมล็ดมากกินได้ ออกผลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม

ต้นโทะ
ต้นโทะ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีขาว ใบรูปรี

การขยายพันธุ์ของโทะ

ใช้เมล็ด

โทะ ขึ้นบริเวณชายป่าที่ลุ่มและตามขอบป่าพรุ มีแหล่งกำเนิดแพร่กระจายทาง ภูมิศาสตร์ อยู่ในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ในอินเดีย ศรีลังกา และทางตอนใต้ของจีน

ธาตุอาหารหลักที่โทะต้องการ

ประโยชน์ของโทะ

  • ไม้โทะนั้นมีการใช้ประโยชน์เป็นไม้ฟืน
  • ไม้โท๊ะค่อนข้างแข็ง ชาวบ้านแถบนี้ใช้เป็นไม้ขัดแตะ เป็นคอกสัตว์เล็ก
  • ในบางพื้นที่มีการปลูกโทะเพื่อเป็นไม้ประดับในสวน
  • ในฮาวาย มีการทำมาลัย
ผลโทะ
ผลโทะ สีม่วงคล้ำถึงดำรูปกลม มีเมล็ดมากกินได้

สรรพคุณทางยาของโทะ

ทั้งต้น  นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงโลหิต

คุณค่าทางโภชนาการของโทะ

การแปรรูปของโทะ

ผลสามารถแปรรูปเป็นแยมลูกโทะ ผลไม้กวนลูกโทะ ไวน์ผลไม้ หรือเยลลี่  และยังเป็นอาหารของนก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11778&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment