การพรวนดินและกำจัดศัตรูพืช
วัชพืชนับว่าเป็นศัตรูที่สําคัญต่อผลผลิต และคุณภาพของหอมหัวใหญ่เพราะถ้า ปล่อยให้วัชพืชเจริญเติบโตแล้ว จะมาแย่งอาหารของหอมหัวใหญ่ ดังนั้นในขณะที่หอมหัวใหญ่ยังมีขนาดลำต้นเล็กอยู่ควรพรวนดินประมาณ 1-2 ครั้ง เพื่อกำจัดหญ้าและวัชพืชอื่นที่ไม่ ต้องการออกไป และเมื่อหอมหัวใหญ่มีอายุ 70 วันไปแล้ว ควรหยุดพรวนดินเพราะรากของหอมหัวใหญ่จะแผ่เต็มแปลง การพรวนดินระวังอย่าให้บริเวณลําต้นหอมหัวใหญ่เป็นแผล ซึ่งจะเป็นช่องทางให้โรค เข้าไปทําลาย และจะทําให้หอมหัวใหญ่เน่าได้ นอกจากนี้หากเกษตรกรมีการใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมแปลง จะช่วยป้องกันกําจัดวัชพืชได้เป็นอย่างดี
การใช้สารเคมีป้องกันกําจัดศัตรูของหอมหัวใหญ่
- การใช้น้ำปูนใสรดต้นกล้าหอมหัวใหญ่จะช่วยป้องกันโรคกล้าเน่าตาย โดยใช้ปูนขาว 1 ถุง ซึ่งหนักประมาณ 5 กิโลกรัม ละลายในน้ำประมาณ 60 ลิตร กวนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งเช้าปูนขาวจะนอนก้นตักเอา เฉพาะส่วนเป็นน้ำใสมา 1 ส่วน นําไปผสมกับนํ้าอีก 5 ส่วน แล้วนําไปใช้รดกล้าทุก 7 วัน เพื่อป้องกันกันกล้าเน่า
- ใช้สารป้องกันกําจัดเชื้อรา ผสมนํ้าตามอัตราที่ใช้ปฏิบัติตามฉลาก
– ใช้ฉีดพ่นต้นกล้าในช่วงหลังย้ายกล้าแล้วจนถึงระยะใกล้เก็บเกี่ยว เพื่อป้องกันโรคแอนแทรคโนสซึ่งเป็นโรคที่ระบาดในช่วงฤดูฝนและความชื้นสูง
– ใช้เชื้อไวรัส ฉีดพ่นเพื่อป้องกันกําจัดหนอนหลอดหอม
โรคที่สําคัญของหอมหัวใหญ่
- โรคแอนแทรคโนสหรือโรคหอมเลื้อย
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ เชื้อราจะสามารถเข้าทําลายได้ทุกส่วนของพืช เช่น ที่ใบ คอ หรือส่วนหัว ทําให้เกิดเป็นแผล ซึ่งเนื้อแผลเป็นแอ่งต่ำกว่าระดับผิวปกติเล็กน้อย บนแผลมีสปอร์ของเชื้อราเป็นหยดของเหลวสีส้มอมชมพู ซึ่งเมื่อแห้งแล้วจะเป็นตุ่มสีดําเล็ก ๆ เรียงเป็นวงรีซ้อนกันหลายชั้น โรคนี้ทําให้ใบเน่าเสียหายต้นหอมแคระแกรน ใบบิดโค้งงอ หัวลีบยาว เลื้อย ไม่ลงหัว ระบบรากสั้น ทําให้ต้นหอมเน่าเสียหายในแปลงปลูก เก็บเกี่ยวไม่ได้ หรือไปเน่าเสียในช่วงเก็บรักษา มักจะพบระบาดรุนแรงในฤดูฝน หรือภายหลังฝนตกในฤดูหนาว ซึ่งอาจจะทําให้เกิดความเสียหาย 50-100%
การป้องกันกําจัด
– ก่อนปลูกหอมหัวใหญ่ทุกครั้งควรปรับปรุงดินด้วยการใส่ปูนขาวและปุ๋ยคอก เพื่อฟื้นฟูสภาพของดินให้ดีขึ้น ปูนขาวควรใส่ก่อนปลูก 1-2 สัปดาห์
– ควรเก็บชิ้นส่วนของพืชที่เป็นโรคไปเผาทําลายทุกครั้ง เพื่อลดแหล่งแพร่กระจายของโรค พ่นด้วยสารป้องกันกําจัดโรคพืชจําพวกคาร์เบนดาซิม หรือแมนโคเซ็บประมาณ 3-5 วัน/ครั้ง ถ้าระบาดรุนแรงพ่นด้วยสารโปรคลอราส แมงกานีส 3-5 วัน/ครั้ง พ่นสัก 2-3 ครั้ง จนโรคเบาบางลง แล้วพ่นสลับด้วยคาร์เบนดาซิมหรือแมนโคเซบ เพราะถ้าพ่นด้วยโปรคลอราสแมงกานีสอย่างเดียวเป็นเวลานาน จะทําให้เกิดการดื้อยาได้ - โรคใบไหม้
สาเหตุ เกิดจากเชื้อบักเตรี
ลักษณะอาการ ใบหอมจะเป็นแผลฉํ่านํ้า ซึ่งในตอนเช้าตรู่จะพบหยดนํ้าเล็ก ๆ เกาะอยู่บนแผล แผลนี้จะแห้งเมื่อถูกแสดงแดดตอนสาย แผลบนใบเป็นรูปรี หัวท้ายแหลม เนื้อเยื่อตรงกลางโปร่งใส มีขอบแผลฉ่ำน้ำถ้าเป็นมากแผล จะมีขนาดใหญ่ ทําให้ใบหักพับลงแล้วใบหอมทั้งใบจะเหี่ยวมีสีเขียวอมเทาเหมือนถูกนํ้าร้อนลวก ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแห้งตายในที่สุด
การป้องกันกําจัด
พ่นป้องกันด้วยสารพวกคาโนรอน อัตราตามฉลากทุก 7-10 วัน ถ้าระบาดมากให้พ่นทุก 3-5 วัน รดแปลงกล้าด้วยน้ำปูนใสจะช่วยให้กล้าแข็งแรงทนทานต่อโรค
- โรคใบจุดสีม่วง
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ อาการเริ่มแรกใบหอมจะเป็นจุดขาวเล็ก ๆ ต่อมากลายเป็นแผลใหญ่รูปไข่ สีนํ้าตาลปนม่วง ซึ่งมีสปอร์สีดําเป็นผงละเอียดอยู่บนแผล ขอบแผลมีสีเหลืองขนาดของแผลไม้แน่นอน ใบที่เป็นแผลจะมีปลายใบแห้ง ระบาดมากในฤดูหนาว
การป้องกันกําจัด
– ปรับปรุงดินด้วยปูนขาวและปุ๋ยอินทรีย์
– พ่นยาป้องกันกําจัดพวกเดอโรซาน บาวีสติน แมนเซทดี อย่างใดอย่างหนึ่ง
– ถ้าการระบาดรุนแรงควรใช้รอฟรัลฉีดพ่น โดยใช้อัตราตามฉลากไม่ควรใช้ติดต่อกันนาน ควรใชสลับกับพวกเดอโรซาน บาวีสติน จะได้ผลดี - โรคเน่าคอดิน
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ ต้นกล้ามีปลายใบแห้งและยุบตายเป็นหย่อม ๆ ถอนดูพบว่าบริเวณรากจะเน่า และมีสีนํ้าตาลที่โคนต้น บริเวณคอดินมีรอยชํ้าสีนํ้าตาลเปนจุดเล็ก ๆ ก้อน ต่อมารอยชํ้าจะเพิ่มขนาดจนเต็มรอบโคนต้น ทําให้ต้นกล้าหักพับแล้วแห้งตาย
การป้องกันกําจัด
– คลุกเมล็ดหอมก่อนปลูกด้วยยาคลุกเมล็ด เช่น เอพรอน 35 หรือไดเทนเอ็ม 45 (ชนิดสีแดง)
– หว่านเมล็ดให้บาง ๆ จะทําให้ต้นกล้าไม่ขึ้นแน่นเกินไป และอย่ารดนํ้าแฉะเกินไป
– ถ้าโรคเริ่มระบาดให้ใช้สารพวกพีซีเอ็นบี เทอราคลอร์ พรีวิเคอร์เอ็นอย่างใดอย่างหนึ่ง อัตราส่วนตามฉลาก หลังจากนั้นใช้นํ้าปูนใสรดแปลงกล้าทุกวัน - โรคราดํา
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ จะพบโรคนี้ในโรงเก็บเพราะหอมที่เก็บเกี่ยวเมื่อเก็บไว้ในที่ ๆ อากาศชื้นมักจะมี ราสีดําเป็นก้อนใหญ่ขึ้นระหว่างกาบหัวหรือระหว่างกลีบของหัวหอมเส้นใยรามีหัวสีดํา ซึ่งจะฟุ้งกระจาย ได้ง่าย เมื่อมีการกระทบกระเทือนเนื้อเยื่อที่ขึ้นราจะเน่าเปื่อยกินลึกเข้าไปทีละน้อย และขยายวงกว้าง ออกไปไม่มีขอบเขตจํากัด ส่วนมากเชื้อราจะเจริญเข้าไปทางแผลที่เกิดจากการตัดใบ ซึ่งยังไม่แห้งสนิท (เพราะเก็บก้อนแก่จัด) เป็นช่องทางให้โรคเข้าทําลายได้ง่าย หอมหัวใหญ่ที่เป็นโรคจะเน่าเสียหาย และระบาดลุกลามในระหว่างการเก็บรักษาและจำหน่าย
แมลงศัตรูที่สําคัญของหอมหัวใหญ่
- เพลี้ยไฟ
เป็นแมลงศัตรหอมที่มีขนาดเล็ก ลําตัวยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร สีนํ้าตาลอ่อนถึงเข้ม ตัวแก่มีปีก เป็นแมลงที่นับว่าจะมีความสําคัญมากขึ้น แผลที่เกิดจากการทําลายของเพลี้ยไฟ มักจะเป็นช่องทางให้เกิดโรคราสีม่วงเข้าทําลายได่ เพลี้ยไฟมักจะระบาดช่วงท้ายของการปลูกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน
การป้องกันกําจัด
ควรตรวจแปลงบ่อย ๆ ถ้าพบเพลี้ยไฟมากให้ใช้ยากลุ่มโมโนโครโตฟอส เช่น นูวาครอน อโซดริน หรือมี ทามิโดฟอส เช่น ทามารอนโมนิเตอร์ในแหล่งที่ใช้สารเคมีกําจัดเพลี้ยไฟมานาน สําหรับแหล่งที่ยังมี การใช้สารเคมีไม่มาก ควรใช้พอสซ์ฉีดพ่นจะได้ผลดี สําหรับอัตราใช้ตามฉลากที่กําหนด ควรผสมสารเคมีกําจัดโรคราสีม่วงในการพ่นแต่ละครั้ง เพื่อป้องกันโรคราสีม่วงระบาดด้วย - หนอนกระทู้หอม
หนอนกระทู้หอมเป็นหนอนที่มีลักษณะลําตัวอ้วน หนังลําตัวเรียบตามปกติแล้วมีหลายสี ตั้งแต่เขียว อ่อน เทา หรือนํ้าตาล สังเกตดูด้านข้างจะมีแถบสีขาวข้างละแถบ พาดตามยาวของลําตัวหนอนกระทูหอมจะเข้าทําลายโดยกัดกินใบยอด กาบใบ นอกจากนั้นยังมีพืชอาหารที่สําคัญกว่า 20 ชนิด
การป้องกันกําจัด
ต้องเข้าใจอุปนิสัยของหนอนกระทู้หอมให้ดีพอ คือหนอนนี้จะออกมากัดกินใบหอมในเวลากลางคืนจน ถึงเช้า ส่วนตอนกลางวันหนอนจะหลบแดดอยู่ใต้วัสดุคลุมดิน ดังนั้นการใช้สารฆ่าแมลงที่ได้ผล เช่น สารไพรีทรอยด์ ออร์แกนโนฟอสเฟต หรือคลอไพรีฟอส ซึ่งจะออกฤทธิ์ถูกตัวตาย ควรจะพ่นในช่วงเวลาเย็นหรืออุณหภูมิสูงไม่เกิน 28-30 C จะได้ผลดีมาก
– ควรหลีกเลี่ยงการปลูกพืชซ้ำและพืชอาหารที่หนอนชอบ จะป้องกันการระบาดได้ดี
– ควรใช้สารที่มีพิษตกค้างค่อนข้างสั้น และเลือกซื้อจากบริษัท หรือร้านค้าที่ เชื่อถือได้ จะทําให้การป้องกันกําจัดได้ผลดี
– การใช้เชื้อจุลินทรีย์ เอ็น พี วี (NPV) ของหนอนกระทู้หอมเป็นที่ยอมรับว้าปลอดภัยและได้ผล นอกจากนั้นแล้วยังมีการใช้สารสะเดาในการป้องกันกำจัดได้ผลเช่นกัน ซึ่งสามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากหน่วยป้องกันกำจัดศัตรูพืช
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com