โรคไหม้ของข้าว อาการของโรคพบได้ที่ใบ

โรคไหม้ของข้าว

โรคไหม้ (Blast Disease) สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pyricularia oryzae cav ซึ่งสามารถทําลายข้าวได้ทุก ระยะตั้งแต่เริ่มปลูก จนถึงเก็บเกี่ยว โรคไหม้จะเกิดขึ้นและแพร่ระบาดได้รุนแรง ถ้ามีสภาพแวดล้อมเหมาะสม คือ

  1. ใช้พันธุ์ข้าวอ่อนแอต่อโรค เช่น ขาวตาแห้ง เหนียวอุบล หนียวสันป่าตอง กข6 และ กข 23
  2. ความชื้นค่อนข้างสูง ตั้งแต่ 80% ขึ้นไป โดยเฉพาะในช่วงบ่ายถึงเช้าวันรุ่งขึ้น 
  3. อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ ระหว่าง 22-28 องศาเซลเซียส
  4. ใช้เมล็ดพันธุ์อัตราสูง เช่น 30 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ปุ๋ย อัตราสูง 60-80 กิโลกรัม/ต่อไร่
โรคไหม้ของข้าว
โรคไหม้ของข้าว ใบมีแผลจุดสีน้ำตาล

ลักษณะอาการ

ระยะกล้า ที่ใบมีแผลจุดสีน้ำตาลลักษณะคล้ายรูปตาสีเทาอยู่ตรงกลางแผลมีขนาดแตกต่างกันไป ความกว้างระหว่าง 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ15-20 มิลลิเมตร จุดแผลนี้สามารถขยายลุกลามจนแผลรวมกันทั่วบริเวณใบในกรณีที่โรครุนแรง กล้าข้าวจะแห้ง และฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้ (blast)

ระยะแตกกอ อาการของโรคพบได้ที่ใบ กาบใบข้อต่อของใบและข้อต่อของลําต้น ขนาดของแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้าแผลลุกลามติดต่อกันได้ ที่บริเวณข้อต่อใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำและใบมักหลุดจากกาบใบเสมอ

ระยะคอรวง ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อรานี้เข้าทําลาย เมล็ดจะลีบหมดแต่ถ้าเชื้อราเข้าทําลายตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยวคอรวงจะปรากฎรอยแผลช้ำสีน้ำตาลทําให้เปราะหักพับง่าย รวงข้าว ร่วงหล่นเสียหายมาก

ในปัจจุบันในแหล่งที่มีการทํานามากกว่าปีละครั้ง จะพบโรคนี้แพร่ระบาดเป็นประจํา โดยเฉพาะในแหลงที่ปลูกข้าวหนาแน่น อับลม ใสปุ๋ยสูงและมีสภาพแห้งแล้งในตอนกลางวัน ชื้นจัดในตอนกลางคืน

ถ้าต้นข้าวอยู่ในระยะเจริญเติบโตและสภาพอากาศมีลมพัดแรงและหนาวจัดเป็นเวลาติดต่อกันหลายวันจําทําให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโต ใบจะม้วนและเหลือง ต้นแคระแกร็น หากข้าวอยู่ในระยะตั้งท้องจะผสมไม่ติดทําให้เมล็ดลีบ

การป้องกันกำจัด

  1. ปลูกพันธุ์ข้าวต้านทานต่อโรค เช่น กข.7 กข.13 ชัยนาท 1 สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 พิษณุโลก 60-2 หางยี 71 และเหมยนอง
  2. อย่าปลูกข้าวหนาแน่นมากเกินไป และอย่าใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป
  3. ในแหล่งที่เคยมีการระบาดควรคลุกหรือแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยสารเคมีก่อนปลูก เช่น คาร์เบนดาซิม คาซูก้าไมซิน ไตรไซคาร์โซล คาร์เบนดาซิม + แมนโคเซ็บ โดย
    – คลุกเมล็ดพันธุ์ข้าว ด้วยสารเคมีก่อนปลูกในอัตราส่วน สารเคมีประมาณ 20-30 กรัมต่อข้าว 1 ถัง (10 กิโลกรัม) คลุกแล้วเก็บไว้นาน 2-3 สัปดาห์ จึงนําไปปลูกหรือ
    -แช่เมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยสารเคมีก้อนปลูกในอัตราส่วนสารเคมี 10-15 กรัมต่อน้ำ 5 ลิตร โดยแช่ทิ้งไว้ประมาณ 24-48 ชั่วโมง จึงนําไปปลูก
  4. เกษตรกรควรตรวจแปลงปลูกบ่อย ๆ เมื่อต้นข้าวอยูในระยะแตกกอสูงสุด หรือระยะให้รวงเมื่อพบโรครุนแรง ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดเชื้อรา เช่น ไตรโซคาร์โซล คาร์เยนดาซิมบีโนมิล+ไธแรมไตรโฟรีน ไอบีพี

หมายเหตุ

การใช้สารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืชทุกชนิดควรระมัดระวัง เพราะอาจเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ได้หากปฏิบัติไม่ถูกต้อง เกษตรกรที่ต้องคําแนะนําในการใช้สารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องและปลอดภัย สอบถามรายละเอียดได้ที่เกษตรตําบลสํานักงานเกษตรอําเภอ ฝ่ายป้องกันและกําจัดศัตรูพืช สํานักงานเกษตรจังหวัด สํานักงานส่งเสริมการเกษตรภาคในท้องที่ของท่านได้ทุกแห่ง หรือที่กองป้องกันและกําจัดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment